ทัศนคติของผู้ปกครองนักเรียนที่เป็นนายทหารบกระดับกลางที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพการศึกษาของไทย

Main Article Content

พลโท ทวี แจ่มจำรัส

บทคัดย่อ

เนื่องจากคุณภาพการศึกษาของนักเรียนไทยในปัจจุบัน จากผลการประเมินของสถาบันทั้งภายในและต่างประเทศปรากฏว่า ผลการศึกษาอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มอาเซียน ต้องดำเนินการแก้ไข การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ประการแรก เพื่อศึกษาเรื่องคุณภาพการศึกษา ระบบการประเมินผล ระบบการปรับพฤติกรรม ระบบการส่งเสริมการเรียนรู้ และระบบการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียน ประการที่สอง เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของระบบการประเมินผล ระบบการปรับพฤติกรรม ระบบการส่งเสริมการเรียนรู้ และระบบการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียน ที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพการศึกษาของไทย เป็นการวิจัยแบบไร้กำแพงทางวิชาการ (Non-Boundary Research) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูลตามแบบสมการโครงสร้าง (SEM) ด้วยโปรแกรม Lisrel ใช้กลุ่มตัวอย่าง 400 คน ของนายทหารนักเรียนหลักสูตรวิทยาลัยการทัพบก และโรงเรียนเสนาธิการทหารบก และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึกนายทหาร 25 นาย     (พันเอก(พ) 6 นาย, พันเอก 6 นาย, พันโท 6 นาย พันตรี  7 นาย) และการศึกษาเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า ตามวัตถุประสงค์ข้อแรก ผลการสำรวจระดับตัวแปรแฝง ได้แก่ ระบบการส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การเปลี่ยนแปลงคุณภาพการศึกษาไทย ระบบการปรับพฤติกรรม และระบบการประเมินผล มีระดับความสำคัญมากทั้งหมด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41,3.94, 3.90, 3.66 และ 3.27 ตามลำดับ ตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลรวม (ทางตรง-ทางอ้อม) ต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพการศึกษาไทยมากที่สุด ตามค่าน้ำหนักองค์ประกอบลำดับที่ 1 ระบบการปรับพฤติกรรม (0.78) ลำดับ 2 ระบบการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (0.56) ระบบการประเมินผล (0.33) และ ลำดับ 4 ระบบส่งเสริมการเรียนรู้ (0.08) โดยภาครัฐต้องเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทยให้ดีขึ้นอย่างได้ผล ด้วยการนำวิธีการเดิมในอดีตที่ใช้ได้ผลดีและยกเลิกไป หรือให้ความสำคัญน้อย ต้องนำกลับมาใช้อีกที่สำคัญ ตามตัวแปรประจักษ์บางตัว เช่น การใช้หลักธรรมาภิบาลในทุกระบบ การสร้างวินัยและความรับผิดชอบ การสอบได้-ตก ซ้ำชั้น การใช้แบบทดสอบด้วยข้อสอบอัตนัยเป็นหลัก ยกเลิกการทำแฟ้มสะสมงาน การใช้ไม้เรียวเพื่อควบคุมความประพฤตินักเรียน การห้ามใช้โทรศัพท์มือถือ ไอโฟน ไอแพต ฯลฯ ในห้องเรียนโดยเด็ดขาด การเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ศีลธรรม การเรียนวิชาประวัติศาสตร์ไทย และการดำเนินการอื่น ๆ ตามที่ปรากฏในผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์โดยเสนอแนะไปยังกระทรวงศึกษาธิการและรัฐบาล ให้จัดเป็นวาระแห่งชาติ และดำเนินการอย่างจริงจังในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ช่วงโชติ พันธุเวช (2552). การจัดการศึกษาเชิงคุณภาพ หรือ SIPP MODEL (Student/standing holder, Input Process, Product, Outcome) : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เขตดุสิต กทม.

ทองอินทร์ วงศ์โสธร (2552) ทฤษฎีทางการบริหาร สาขาวิทยาการจัดการ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2559) เทคนิคการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กทม.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2561) จำเป็นต้องปฏิรังสรรค์การศึกษาไทย:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เพชร เหมือนพันธุ์ (2562: 15) วิพากย์แผนการปฏิรูปการศึกษาไทยฉบับ กอปศ. (คณะกรรมการอิสระปฏิรูปการศึกษาไทย) นสพ.มติชนรายวัน มิถุนายน 7,2562

รัตนะ บัวสนธ์ (2559). การวิจัยแบบไร้กำแพงทางวิชาการ Non Boundary Research Method : มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก

References
Best,J.and Kahn.J (1993) Research in Education MA : Allyn and BaconChuangchoj Puntuvech (2552), SIPP MODEL (Student/Standing holder Input Process, Product Outcome): Suansunandha Rajabhat University

Ehly, s (1989) Peer Touring: A guide for school psychologists. Ohio. The National Association of school psychologists.

Hoy, Wayne and Miskel, Cecil (2001) Education Administration : Theory Research and practice. New York : Mc Graw-Hill Book Comparing

Hoy, Wayne and Miskel, Cecil (2001) Education Administration: Theory Research and practice. New York: Mc Graw-Hill Book Comparing

Petch Hemuanpun: CRITIC for Renovation of Thai Education: Matichon Newspaper (7, June,2019)

Pichit Ritjaruen (2559), Action research for Improving Education Practice: Chulalongkorn University

Pitoon Sinlarat (2561) Essential for Renovation of Thai Education : Chulalongkorn University

Ratana Buasong (2559) Non Boundary Research Method: Naresuan University

Sax, Gilbert (1979) Foundations of Education Research. New Jersey Prentice-Hall

Tongin Wongsothon (2552) Education Administration: theory, Research and Practice: Sukhothai Thamathirat

Worthen and Sanders (1973) Education Evaluation: Theory and Practice Ohio: Charies and Joans.