การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินโครงการระบบสูบน้ำพลังงาน แสงอาทิตย์ เพื่อผลิตผักปลอดสารพิษของกลุ่มเกษตรกร อำเภอ พุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย

Main Article Content

ขวัญจิรา แก้วปาน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงิน และเพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการดำเนินงานของโครงการระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตผักปลอดสารพิษ ของกลมุ่เกษตรกร อำเภอพทุไธสง จงัหวดับรุรีมัย ์ขอ้มลูทใี่ชใ้นการศกึษาไดจ้ากการสำรวจกลมุ่เกษตรกรทเ่ีขา้รว่มโครงการ โดยการสุ่มตัวอย่างจากประธานกลุ่มและเกษตรกรร่วมโครงการจำนวนรวม 10 ราย จากการผลิตผัก 5 ชนิด ได้แก่ คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง พริก และมะเขือ รวมพื้นที่การผลิต จำนวน 20 ไร่ ระยะเวลาโครงการลงทุน 20 ปี ปีการผลิต 2556 โดยใช้อัตราดอกเบี้ยคิดลดร้อยละ 7 ต่อปี ผลการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงิน พบว่า การลงทุนปลูกผักโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 20 ไร่ ในระยะเวลา 20 ปี มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 714,143.47 บาท อัตราผลตอบแทนภายในการลงทุน (IRR) เท่ากับ ร้อยละ 14 และอัตราส่วนมูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนต่อการลงทุน (BCR) เท่ากับ 1.16 ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าทาง การเงิน และผลการวิเคราะห์ค่าความแปรเปลี่ยนจากการทดสอบค่าความแปรเปลี่ยนด้านต้นทุน (SVT)C ณ อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 7 ต่อปี มีค่าเท่ากับร้อยละ 16.33 หมายความว่าต้นทุนสามารถเพิ่มได้ถึงร้อยละ 16.33 และการทดสอบความ แปรเปลี่ยนด้านผลตอบแทน (SVT)B มีค่าเท่ากับร้อยละ 14.04 หมายความว่า ผลตอบแทนสามารถลดลงได้ร้อยละ 14.04 จึงจะทำให้มูลค่าปัจจุบันของต้นทุนเท่ากับมูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนพอดี แสดงว่าความเสี่ยงภัยในโครงการอยู่ในระดับต่ำ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองนโยบายและแผนพลังงาน. 2542. ความต้องการพลังงานในภาคเกษตร ปี 2540-2554

กองนโยบายและ แผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน กองนโยบายและแผนพลังงาน. 2542. สัดส่วนการพลังงานในภาคเกษตร ปี 2540-2554

กองนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานและคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2542. ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ เฉลี่ยตลอดปีของประเทศไทย กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กระทรวงพลังงาน และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

สำนักงานพลังงานจังหวัดบุรีรัมย์. 2554. โครงการต้นแบบปลูกผักปลอดสารพลังงานแสงอาทิตย์ สำนักงานพลังงาน จังหวัดบุรีรัมย์ กรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์ กระทรวงพลังงาน

ซังเซ็ง เลียงจินดาถาวร.2554. การสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์โดยเทคนิคปั๊มฟอง. วิทยา นิพนธ์ สาขาเทคโนโลยีและ พลังงาน มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี

กฤษณ์ คงเจริญ และ ธันวา จิตต์สงวน .2549. การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ของการลงทุนโครงการผลิตน้ำร้อนด้วย ระบบผสมผสานพลังงานแสงอาทิตย์. วิทยานิพนธ์ สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สาวิตรี แสงเกิด.2553. ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกผักปลอดสารพิษของกลุ่มเกษตรกร อำเภอสารภี จังหวัด เชียงใหม่. การศึกษาค้นคว้าอิสระ สาขาการบัญชี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นายประดิษฐ์ จันอาภาท. ประธานกลุ่มโครงการสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์. 2556. สัมภาษณ์. 27 ธันวาคม.