ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพของโครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์: ศึกษากรณีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพของโครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะ รฐัศาสตร ์มหาวทิยาลยัรามคำแหงในแง่ความพึงพอใจโดยรวมของนักศึกษาและคณุภาพโดยรวมของโครงการกับวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านมาตรฐานการจัดการเรียนการสอน คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ที่ปรึกษา คุณลักษณะของนักศึกษาของโครงการ ลักษณะการให้คำปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ และบรรยากาศของการเรียนการสอนใน โครงการ กับคุณภาพของโครงการ ตลอดจนสำรวจทัศนคติของผู้ใช้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากโครงการ การวิจัยครั้งนี้ ใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรในการวิจัยคือดุษฎีบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากโครงการในรุ่นที่ 7-11 ซึ่งมี จำนวน 70 คน และสำรวจผู้ใช้บัณฑิตเป็นจำนวนเท่ากัน ทำการส่งแบบสอบถามทางอีเมล แบบสอบถามที่ได้รับกลับคืน มาจากดุษฎีบัณฑิตมีร้อยละ 65.71 และจากผู้ใช้บัณฑิตร้อยละ 58.57 ผลการวิจัยสรุปได้ว่า มาตรฐานการจัดการเรียน การสอนของโครงการ คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ที่ปรึกษา ลักษณะการให้คำปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ และ บรรยากาศการเรียนการสอนในโครงการมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพของโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่คุณลักษณะของนักศึกษาของโครงการไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพของโครงการอย่างมีนัยสำคญัทางสถติทิรี่ะดับ 0.05
Article Details
บทความที่ปรากฏในวารสารนี้ เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ซึ่งสมาคมนักวิจัยไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป การนำเสนอผลงานวิจัยและบทความในวารสารนี้ไปเผยแพร่สามารถกระทำได้ โดยระบุแหล่งอ้างอิงจาก "วารสารสมาคมนักวิจัย"
References
Crosby, P. B. (1979). Quality Is Free: The Art of Making Quality Certain. New York: McGraw-Hill. Elshaer, Ibrahim. (2012). “What Is The Meaning of Quality?” MPRA Paper No. 57345.
Felbinger, Claire L., Holzer, Marc and White, Jay D. (1999). “The Doctorate in Public Administration: Some Unresolved Questions and Recommendations,” Public Administration Review. Vol. 59, No. 5 (Sep – Oct): 459-464.
Garvin, D. A. (1984). “What Does “Product Quality” Really Mean?” Sloan Management Review. 26(1): 25-43. ISO 9000. (2005). Quality Management System – Fundamentals and Vocabulary. International Organization for Standardization. Geneva, 2000, p. 7.
Juran, J. M. and Godfrey, A. B. (1999). Quality Control Handbook. New York: McGraw-Hill.
Kienle, Alyson W. and Loyd, Nicole L. (2005). “Globalization and the Emergence of Supranational Organizations: Implications for Graduate Programs in Higher Education Administration,” College Student Journal. 39. 3 (Sept.): 580.
Kim, et al. (2005). Quality Monitoring and Quality Criteria for Doctoral Programmes: A Global Perspective. London: Routledge: 147-161.
Minnick, A. and Halstead, L. (2002). “A Data-based Agenda for Doctoral Nursing Education Reform,” Nursing Outlook. 50(1): 24-29.
Ojasalo, J. (2006). “Quality for the Individual and for the Company in the Business-to-business Market: Concepts and Empirical Findings on Trade-offs,” The International Journal of Quality & Reliability Management. 23(2/3): 162-178.
Ryall, J. and Kruithof, J. (2001). The Quality of Systems Handbook. Australia: Consensus Books. Seawright, K. and Young, S. A. 1996. “A Quality Definition Continuum,” Interfaces. 26(3): 107-113.
Tuchman, B. W. 1980. The Decline of Quality. New York: Times Magazine, 2 November: 38-47.