ทัศนคติการส่งเสริมสุขภาพของตนเองที่มีผลต่อสุขสมรรถนะของ นักศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตกรุงเทพ

Main Article Content

เกษร อุทัยเวียนกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษา 2) เพื่อศึกษาทัศนคติการส่งเสริมสุข ภาพของตนเองกับสุขสมรรถนะของนักศึกษา และ 3) เพื่อเป็นแนวทางในการจัดส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษาสถาบันการ พลศึกษา วิทยาเขตกรุงเทพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาสถาบันการพลศึกษา ระดับปริญญาตรีภาค ปกติ วิทยาเขตกรุงเทพ จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตรวัด 4 ระดับ และใช้การ วิเคราะห์การถดถอยแบบเส้นตรงพหุคูณ ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาสถาบันการพลศึกษาส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย ร้อยละ 80 ทัศนคติการ ส่งเสริมสุขภาพภาพรวม กลุ่มตัวอย่างมีการปฏิบัติบ่อยครั้ง โดยด้านที่มีการปฏิบัติมากที่สุด คือ ด้านการออกกำลังกาย ผล การศึกษาการประเมินสุขสมรรถนะของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) อัตราการเต้นหัวใจ ความดันโลหิต ค่าตัวบน และความดันโลหิต ค่าตัวล่างอยู่ในเกณฑ์ปกติ ปัจจัยที่มีผลกับอัตราการเต้นหัวใจ คือ เพศ และระดับชั้นปีการ ศึกษา และปัจจัยที่มีผลกับความดันโลหิต ค่าตัวล่าง คือ เพศ การปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ ด้านการออกกำลัง กาย มีความสัมพันธ์กับค่าดัชนีมวลกาย (BMI) และการปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ ด้านการออกกำลังกาย และ ด้านการขจัดความเครียด มีความสัมพันธ์กับค่าความดันโลหิต ค่าตัวล่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2551). การวิเคราะห์ความแปรปรวนของตัวแปรหลายตัว การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จารุมาศ ใจก้าวหน้า. (2546). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพนักงานโรงงานยาสูบ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์. ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์. (2533). ยุทธ์ศาสตร์เพื่อการดูแลสุขภาพตนเอง. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.

พันทิพย์ รามสูตร. (2540). พฤติกรรมมนุษย์และพฤติกรรมสุขภาพ ระบาดวิทยาสังคม. กรุงเทพมหานคร: พี เอ ลีฟวิ่ง.

พวงทอง ไกรพิบูลย์. (2557). ความดันโลหิต. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ตลุาคม 2560. จาก Web site: http://haamor.com/th

มัลลิกา มัติโก. (2534). แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: โครงข่ายงานวิจัยพฤติกรรมสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข

มนัสศรี ไพบูลย์ศิริ. (2545). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เขตเมือง จังหวัดปทุมธานี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศิริชัย กาญจนวาสี, ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ และดิเรก ศรีสุโข. (2551). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย, (พิมพ์ครั้ง ที่ 5). กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. (2557). สถิติสาธารณสุข. พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก

หวานใจ ขาวพัฒนวรรณ. (2543). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัด นครปฐม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.

References
Bureau of Policy and Strategy. (2014). Public Health Statisyics 2014. Bangkok: The War Veterans Organization of Thailand. (in Thai).

Cooper, D. R., Schindler, P. S., & Sun, J. (2006). Business Research Methods. 9th edition. New York: McGraw-Hill. Honestdocs. (2017a). Body Mass Index. Retrieved October 28, 2017, from Web site: http:// www.honestdocs.co/bmi-body-mass-index-calculator Honestdocs. (2017b). Heart rate. Retrieved October 28, 2017, from Web site: http:// www.honestdocs. co/about-your-resting-heart-rate

Hongviwat, T. (1990). Strategies for self-care. Bangkok: Mahidol University. (in Thai).

Jaikawna, J. (2003). Health care behaviors of tobacco factory employees. Bangkok: Kasetsart University. (in Thai).

Kaipeeboon, P. (2014). Blood pressure. Retrieved October 28, 2017, from Web site: http://haamor.com/ th(in Thai).

Kanjanavasri, S., Petayanon, T., & Srisuko, D. (2008). Statistics for Research. (5th ed.). Bangkok: Boonsiri Printing. (in Thai).

Kawpattanawan, W. (2000). Self-Care Behaviors of Village Health Volunteers in Nakhon Pathom Province. Bangkok: Mahidol University. (in Thai).

Lau. (1988). Social Problem and The Quality of Life. 2nd ed Dubuque, lowa: Wm. C. Brown. Muntigo, M. (1991). Concepts of behavioral health. Bangkok: Health Behavioral Research Network Ministry of Public Health. (in Thai).

Office of the Nation Economic and Social Development Board. (2015). The Nation Economic and Social Development Plan (edition 9). Bangkok: Office of the Nation Economic and Social Development Board. (in Thai).

Pender, N.J. (2002). Health Promotion in Nursing Practice. New York: Appleton Centurt Crofts.

Priboonsri, M. (2002). Factors influencing health promotion of village health volunteers in Pathum Thani Province. Bangkok: Kasetsart University. (in Thai).

Rammasud, P. (1997). Human Behavior and Health Behavior Social Epidemiology. Bangkok: P.A. Living. (in Thai).

Rosenstock, M.I. (1974). Historical Origins of Health Belief Nursing. San Francisco: Health Education Monographs.

Vanichbuncha, K. (2008). Mutlivariate analysis: SPSS for Windows. (6th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai).

Yamane, T. (1973). Statistical: An Introductory Analysis. Tokyo: John Wiley and Son, Inc.

Walsh, V.R. (1985). Health Belief and Practices of Rumors Versus Nonrunners. Nursing Research, 34, 353-356.

WHO-ISH. (1993). Training on Management of Human Resource for Health. Section: PublicationPart A.