การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมคิดก้าวหน้าของ พนักงานโรงงานบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมในจังหวัดชลบุรี: การวิจัย แบบผสานวิธี

Main Article Content

เพ็ญแข บุญสอน
ภัทราวดี มากมี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลการวัดพฤติกรรมคิดก้าวหน้า ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดล การวัดพฤติกรรมคิดก้าวหน้า และหาแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมคิดก้าวหน้าของพนักงานโรงงานบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียม ในจังหวัดชลบุรี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วย (1) การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานโรงงาน บรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมในจังหวัดชลบุรี จำนวน 456 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ลักษณะคำตอบเป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้น โดยใช้สถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองด้วยโปรแกรม Mplus และ (2) การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย ปรากฏว่า (1) โมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี (ค่าไคสแควร์เท่ากับ 634.290 ค่า df เท่ากับ 589 ค่า p เท่ากับ .096 ดัชนี TLI เท่ากับ .993 ดัชนี CFI เท่ากับ .995 ค่า SRMR เท่ากับ .032 ค่า RMSEA เท่ากับ .013 และ χ2/df เท่ากับ 1.077) (2) โมเดลการวัดพฤติกรรมคิดก้าวหน้าของพนักงานโรงงานบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมในจังหวัดชลบุรีที่พัฒนาขึ้น แสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมคิดก้าวหน้าของพนักงาน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ เรียงตามค่าน้ำหนักองค์ประกอบ ดังนี้ ด้านความริเริ่มส่วนบุคคล ด้านบุคลิกภาพเชิงรุก ด้านความรับผิดชอบ แก้ปัญหาด้วยตนเอง และด้านขอบเขตการรับรู้ความสามารถของตน ตามลำดับ และ (3) แนวทางการส่งเสริมพฤติกรรม คิดก้าวหน้าของพนักงานโรงงานบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียม ในจังหวัดชลบุรี ควรดำเนินการ 3 วิธี คือ 1) ปรับเจตคติให้พนักงานเปิดใจและคิดบวก 2) เปิดโอกาสให้พนักงานแสดงความคิดเห็นและความสามารถในการปรับปรุงวิธีการทำงาน และ 3) สร้างแรงจูงใจในการพัฒนาพฤติกรรมคิดก้าวหน้า สรุปได้ว่า การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมคิดก้าวหน้าของพนักงานโรงงานบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมในจังหวัดชลบุรี ควรให้ความสำคัญกับการปรับเจตคติให้พนักงานเปิดใจและคิดบวกเป็นอันดับแรก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุฑาทิพย์ เจริญรื่น, ภัทราวดี มากมี และสุชาดา กรเพชรปาณี. (2556). พฤติกรรมคิดก้าวหน้าของผู้ปฏิบัติงานเทศบาล ตำบลในจังหวัดชลบุรี: การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน. วารสารวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 11(1),56-66.

ชไมพร กาญจนกิจสกุล. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ตาก: บริษัทโพรเจ็คท์ ไฟฟ์-โฟว์ จำกัด.

ณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง. (2557, 26 พฤศจิกายน). 5 นิสัยแย่ในการทำงานที่จะตัดความก้าวหน้าของคุณ.วันที่ค้นข้อมูล 31 มกราคม 2559, เข้าถึงได้จาก http://www.nuttaputch.com/5-bad-working-behavior/

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2547). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปรดักท์. บริษัท แอดวานซ์ อินโฟเซอร์วิส จำกัด (มหาชน).

ปาริฉัตร ตู้ดำ. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของผู้บริหารสตรีในองค์กรภาครัฐ: การทบทวนวรรณกรรม.วารสารนักบริหาร, 33(3), 25-32.

ภัทราวดี มากมี. (2559). การพัฒนาโมเดลการวัดประสิทธิผลองค์การภาครัฐในเขตอาเซียน: การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(1). 34-48.

References
Covey, S. R. (2004). The 7 habits of highly effective people: Restoring the characteristic. New York:Fireside.

Crant, J. M. (2000). Proactive behavior in organizations. Journal of Management, 26(3), 435–462.

Edmonds, W. A., & Kennedy, T. D. (2017). An Applied Reference Guide to Research Designs Quantitative,Qualitative, and Mixed Methods (2nd ed.). Thousand Oaks, CA: Sage.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). Uppersaddle River, New Jersey: Pearson Education International.

Hooper, D., Coughlan, J., & Mullen, M. (2008-01-01). Structural Equation Modelling: Guidelines for Determining Model Fit. Electronic Journal of Business Research Methods, 6(1), 53-60.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. Tokyo: Harper.

Jaroenruen C., Makmee P., Kornpetpanee S. (2013). Proactive Behavior of Sub-District Muncipality Officcers In Chon Buri Province: A Confirmatory Factor Analysis. Research Methodology and Cognitive Science, 11(1), 56-66. (in Thai).

Karnchanakitsakul Chamaiporn. (2012). Research Methodology in Social Science. Tak: Five-Fove Co.,Ltd. (in Thai).

Wongreanthong Nattaputch. (2014, 26 November). 5 Bad habits for work to break your progress. Date of search data 31 January 2016, Accessible from http://www.nuttaputch.com. /5-bad-workingbehavior/. (in Thai).

Kitpreedaborisut Boontham. (2004). Social Sciences Research Methodology. Bangkok: Jamjuri Product. Advanced Info Srevice Public Company Limited. (in Thai)
.