องค์ประกอบของพฤติกรรมการเรียนรู้เป็นทีมของนิสิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 1

Main Article Content

วรสรณ์ เนตรทิพย์
จตุพล ยงศร
ราชันย์ บุญธิมา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของพฤติกรรมการเรียนรู้เป็นทีมของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 นิสิตชั้นปีที่ 3 ขึ้นไป จำนวน 361 คน สำหรับการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ กลุ่มที่ 2 นิสิตชั้นปีที่ 3 ขึ้นไป จำนวน 391 คน สำหรับการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ รวมจำนวน 29 ข้อคำถาม ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจพฤติกรรมการเรียนรู้เป็นทีมของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มี 3 องค์ประกอบ คือ (1.1) การเป็นผู้นำทีม มี 9 ตัวชี้วัด (1.2) การมีปฏิสัมพันธ์กับทีม มี 12 ตัวชี้วัด (1.3) การนำความรู้ไปใช้กับทีม มี 8 ตัวชี้วัด 2) เมื่อนำองค์ประกอบที่ค้นพบไปดำเนินการเก็บข้อมูลครั้งที่ 2 เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า แบบจำลองพฤติกรรมการเรียนรู้เป็นทีมของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2= 424.28 df= 302, p-value = 0.00000, Relative χ2= 1.40, RMSEA =, RMR =, SRMR=, CFI =.99, GFI = . 93, AGFI = .90, CN = 340.84) พบว่าองค์ประกอบการมีปฏิสัมพันธ์กับทีม มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบสูงที่สุดเท่ากับ .96 ทั้ง 12 ตัวชี้วัด มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง .52 - .73 รองลงมาคือ การนำความรู้ไปใช้กับทีม มีค่า
น้ำหนักองค์ประกอบ เท่ากับ .93 ทั้ง 8 ตัวชี้วัด มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่ง .59 - .67 และการเป็นผู้นำทีม มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ เท่ากับ .81 ทั้ง 9 ตัวชี้วัด มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง .51 - .72

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติศักดิ์ กอร้อย. (2550). พฤติกรรมการทำงานเป็นทีมของนิสิตปริญญาตรีภาคปกติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณัฏฐ์สิตา ศิริรัตน์. (2551). รูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคิดการเรียนรู้ แบบชี้นำตนเองเพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมสำหรับบุคลากรทางการศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัฐพล ประดับเวทย์. (2551). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อสร้างเสริมความสามารถในการทำงานเป็นทีม ของนิสิตในระดับอุดมศึกษา. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. (เทคโนโลยีการศึกษา). กรุงเทพฯ:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รุ่งรดิศ คงยั่งยืน (2560) องค์การแห่งการเรียนรู้ บรรยากาศองค์การ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การและการแบ่งปันความรู้ของหน่วยงานในฝ่ายช่าง บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน). วารสารสมาคมนักวิจัย. 22 (1) :150 – 162.

วาสนา รังสร้อย และ บัณฑิต ผังนิรันดร์ (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนระดับ ประถมศึกษา. วารสารสมาคมนักวิจัย. 22(1) : 98 – 113.

สุชาติ กิจธนะเสรี (2555). การก้าวสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.

สุรมน ไทยเกษม (2558). การพัฒนาแบบวัดภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้ประกอบการในวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในจังหวัดฉะเชิงเทรา. 20 (2): 59 - 69.

Referances
Ali, E. A, Gary, S. L, Halit, K & Derya, D (2014). Team Learning in IT Implementation Projects: Antecedents and Consequences. International Journal of Information Management. 34 (2014): 37– 47.

Aranda, E.K., Aranda, L. & Conlon, K. (2003). Teams: Structure, Process, Culture and Politics. Singapore:Prentice Hall.

Argyris, C. (1999). On Organizational Learning. Massachusetts: Blackwell Publishers Inc.

Beiqun, Z &, Donald, D. P (2016). Comparison of Lecture-Based Learning vs Discussion-Based Learning in Undergraduate Medical. Journal of Surgical Education.73 (2) : 250-257.

Decuyper, S., Dochy, F., & Van den Bossche, P. (2010). Grasping the Dynamic Complexity ofTeam Learning:An Integrative Model for Effective Team Learning in Organizations. Educational Research Review.5(2): 111–133.

Donnellon, A. (2006). Leading Teams. Boston: Harvard Business School Press.

Gavin. D.A. (2000). Building Learning Organization. Boston: Havard Business Review.

Hae-Ran, K., Yeoungsuk, S, Ruth, L & Hee-Young, K (2015) Effects of Team-Based Learning on Problem-Solving, Knowledge and Clinical Performance of Korean Nursing Students. Nurse EducationToday In press. 2015: 1 - 14

Huang, Jing - Wen Li, Yong – Hui (2012). Slack Resources in Team Learning and Project Performance. Journal of Business Research. 65(3): 381-388.

Johnson, D.W., & Johnson, F.F. (2000). Joining Together: Group Theory and Group Skill (7 rd ed.). Boston:Allyn and Bacon.

Marquardt, M (1996). Building the Learning Organization. New York: McGraw-Hill
Michaelsen, L. K. (2008). Team-Based Learning for Health Professions Education: A Guide to Using Small

Groups For Improving Learning. 1sted., Sterling,VA: Stylus; 2008.

Michaelsen, L K, Knight A B, & Fink, L. D. (2002). Team-Based Learning: A Transformative Use of Small Groups. Westport, CT: Praeger;

Papa, M. J., Daniels, T. D., & Spiker, B. K. (2008). Organizational Communication: Perspectives and Trends. Thousand Oaks: Sage Publications.

Polzer, R. J. (2004). Creating Team With an Edge. Boston : Harvard Business School Press.

Selma, V. d. H., Segers, M, & Karen A. J (2013). Towards a Contextualized Model of Team Learning Processes and Outcomes. Educational Research Review. 10 (2013): 1–12.

Senge, M. P. (1990). The Fifth Discipline: The Art & Practice of The Learning Organization.NewYork: Doubleday.

Spoelstra, H, Rosmalen, V. P, Houtmans, T &, Sloep, P (2015). Team Formation Instruments to Enhance Learner Interactions in Open Learning Environments. Computers in HumanBehavior. 45 (2015):11-20.

Taylor, R (2014). How Team Learning Benefits Families. Nursing Times.110(1-3) : 37.