มโนทัศน์เรื่องความพอเพียงในเศรษฐกิจพอเพียง
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประเด็น คือ 1) เพื่อวิเคราะห์พัฒนาการของมโนทัศน์ความพอเพียงในความเข้าใจของนักวิชาการ และปฏิทรรศน์ของเศรษฐกิจพอเพียง 2) เพื่อวิเคราะห์มโนภาพความพอเพียงจากปรัชญาและศาสนา และ 3) เพื่อตีความเชิงวิเคราะห์ในความหมายของมโนทัศน์ความพอเพียงจากเงื่อนไขที่จำเป็นและเพียงพอเพื่อยืนยันความมีอยู่ในเชิงสาเหตุและผล และในความจริงเชิงปรมัตถ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือกิจกรรมทางปรัชญาและตรรกวิทยา ผลของการวิจัยพบว่าพัฒนาการมโนทัศน์ความพอเพียงในเศรษฐกิจพอเพียงนั้น มีมาตั้งแต่ยุคโบราณ ต่อมาความซับซ้อนของสังคมมนุษย์เพิ่มมากขึ้น ก่อเกิดการเอาเปรียบกันในสังคม ในประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชทานแนวทางแก้ปัญหาพื้นฐานด้วยมโนทัศน์ความพอเพียง แต่การรับรู้ของมนุษย์มีความแตกต่างกันทำให้เศรษฐกิจพอเพียงสามารถเป็นสิ่งที่มีคุณค่าภายนอก เป็นเครื่องมือไปสู่สิ่งที่มีคุณค่าอื่นๆ เป็นอัตวิสัย
และสามารถเป็นสิ่งที่มีคุณค่าภายใน ที่มีเป้าหมายในตัวเอง และเป็นภววิสัย ในขณะเดียวกันก็สามารถมองเศรษฐกิจพอเพียงได้ทั้งสองแบบพร้อมๆ กัน และอาจเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุด เพื่อป้องกันการเกิดปฏิทรรศน์ของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับการวิเคราะห์มโนภาพความพอเพียงจากปรัชญาและศาสนา พบว่ามโนภาพความพอเพียงจากปรัชญามีแนวโน้มเป็นมโนภาพที่มีคุณค่าภายนอก สามารถเป็นเครื่องมือไปสู่สิ่งที่มีคุณค่าอื่น ๆ และเป็นอัตวิสัยของแต่ละบุคคล ในขณะที่มโนภาพความพอเพียงจากศาสนามีลักษณะเป็นสิ่งที่มีคุณค่าภายใน ที่มีเป้าหมายในตัวเอง และเป็นภววิสัย การวิจัยยังพบอีกว่า ทั้งมโนภาพของความพอเพียงที่เป็นคุณค่าภายนอกและภายในเป็นปฏิทรรศน์ของเศรษฐกิจพอเพียง จากการพิสูจน์การมีอยู่เชิงความสัมพันธ์ของมโนทัศน์ความพอเพียงด้วยตรรกวิทยาสัญลักษณ์พบว่ามโนทัศน์ความพอเพียงมีอยู่ในรูปแบบของเงื่อนไขที่จำเป็นในรูปแบบสัมพันธ์กันเชิงสาเหตุและผล ในขณะที่มโนทัศน์ความพอเพียงที่มีอยู่ในรูปแบบของเงื่อนไขที่พอเพียงจะมีความสัมพันธ์ในเชิงตรรกะ
Article Details
บทความที่ปรากฏในวารสารนี้ เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ซึ่งสมาคมนักวิจัยไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป การนำเสนอผลงานวิจัยและบทความในวารสารนี้ไปเผยแพร่สามารถกระทำได้ โดยระบุแหล่งอ้างอิงจาก "วารสารสมาคมนักวิจัย"
References
จวงจื๊อ. (2540). คัมภีร์เต๋าของจวงจื๊อ. แปลและเรียบเรียงโดย ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เคล็ดไทย.
พระครูสิริปริยัติธํารง (พิสิฐ ชุตินฺธโร). (2554). “ศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบโภควิภาค 4 กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”,วิทยานิพนธพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). พระพุทธศาสนากับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.mcu.ac.th/site/theme/rector21042557.pdf[1 มกราคม. 2555].
พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ. (2547). “ความรู้จักพอประมาณในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงในพระราชดำริ”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ:มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เมตตา ราศรีจันทร์. (2554). “สถาบันกษัตริย์ไทยสมัยใหม่: ศึกษาภาคปฏิบัติการของวาทกรรมเศรษฐกิจพอเพียง”.ภาคนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. คณะรัฐศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มธุรส ศรีนวรัตน์. ศาสนาเต๋า. วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.crs.mahidol.ac.th/thai/tao00.htm [1 มกราคม. 2555].
วิทย์ วิศทเวทย์. (2549). “ชีวิตที่ดี”. วารสารสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย. ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มีนาคม2549.
สมภาร พรมทา. (2557). ตรรกวิทยาสัญลักษณ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วารสารปัญญา.
สำนักราชเลขาธิการ. (2550). พระราชดำรัสเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2541. [ซีดี-รอม]. พระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พ.ศ.2489 – 2551.
Aristotle, The complete Aristotle: Nicomachean Ethics, Book I .tr. by W. D. Ross, [online]. source: www.free-ebooks.net/ebook/The-Complete-Aristotle/pdf. [1 Aug. 2013].
Augustine Chika Obi. (1993). “Epicurus’ foundation of knowledge”. Doctor of Philosophy, The GraduateSchool of Liberal Arts and Sciences: Duqesne University.
Lao Tzu, The Tao TeChing: A New English Version. tr. by Stephen Mitchell. [online].source:http://www.duhtao.com/translations.html [1 Aug.2013]
Louisa Ilaria Shea. (2003). “Diogenes in the Salon: Cynicism and the Question of Enlightenment”, Doctor of Philosophy, The Department of Comparative Literature: Harvard University.
Marcus Aurelius. (1906). Meditations. tr. by Meric Casaubon. London: J.M. Den and co.
Max Van Manen. (1990). Researching Lived Experience: Human Science for an Action Sensitive Pedagogy, New York: State University of New York Press.
Pierre-Marie Morel. (2006). A Companion to Ancient Philosophy: Epicureanism. Oxford: Blackwell Publishing Ltd.
Plato. (1991). The Republic. tr. by Allan Bloom. Second edition. New York: CoWms Publishers.
Robert Audi. (1995). “Cynics” .The Cambridge Dictionary of Philosophy. 2nd edition. Cambridge: Cambridge University Press.
Ted Honderich. (2005). The Oxford Companion to Philosophy, 2nd Ed. New York: Oxford University Press Inc.
Victor Eugene Emeljanow. (1967). “The Letters of Diogenes”. Doctor of Philosophy, The Department of Classics: Stanford University.
William Wordsworth, Poetry Foundation: Lines Written in Early Spring, [online]. source:http://www.poetryfoundation.org/poem/181415 [12 Aug. 2014]