การออกแบบการวิจัยสำหรับการวิจัยแบบผสานวิธี

Main Article Content

ภัทราวดี มากมี

บทคัดย่อ

การออกแบบการวิจัยสำหรับการวิจัยแบบผสานวิธีมีลักษณะการผสานกันระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและ การวิจัยเชิงคุณภาพ ในบทความนี้ได้แบ่งการวิจัยแบบผสานวิธีเป็น 2 แนวทาง ประกอบไปด้วย 1) แบบลู่เข้า-คู่ขนาน และ 2) แบบสำรวจบุกเบิก-เป็นลำดับ ทั้งนี้การใช้การวิจัยแบบผสานวิธีนักวิจัยจำเป็นต้องทราบวัตถุประสงค์ ขั้นตอน กระบวนการ และรายละเอียดของระเบียบวิธีวิจัยที่เลือกใช้อย่างถ่องแท้โดยใช้การออกแบบการวิจัย 4 วิธี ได้แก่ 1) การให้น้ำหนัก 2) ช่วงเวลาในการดำเนินการวิจัย 3) ภาพรวมของทฤษฎีที่ใช้ และ 4) การผสมกันของการวิจัย แต่ละแบบ อย่างไรก็ตามข้อดีของการวิจัยแบบผสานวิธีนั้นจะช่วยให้นักวิจัยได้คำตอบที่ก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ในประเด็นที่ศึกษาอย่างกว้างขวาง ลุ่มลึกสอดคล้องกับความเป็นจริงของศาสตร์ทางสังคมหรือทางการศึกษามากกว่าท ี่ จะยึดมั่นเพียงเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพด้านใดด้านหนึ่งอย่างไรก็ตามการวิจัยแบบผสานวิธีมีข้อจำกัดเช่นกัน เช่น มี ความยากในการดำเนินงานวิจัยนั้นนักวิจัยที่ถูกฝึกฝนมาเฉพาะแนวทางการวิจัยแนวทางใด แนวทางหนึ่งเท่านั้น ทำให้ สิ้นเปลืองทรัพยากรในการดำเนินงานทั้งเรื่องระยะเวลา และงบประมาณในการวิจัย ตลอดจนถ้าผลการวิจัยหรือข้อค้นพบ ขัดแย้งกัน ทำให้ยากแก่การนำไปใช้และสร้างความเข้าใจต่อผู้อ่าน แต่ถึงอย่างไรก็ตามในช่วงปลายทศวรรษที่ 20 ขึ้นมา ทิศทางของการออกแบบการวิจัยมีแนวโน้มที่จะใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธีเพื่อตอบปัญหาการวิจัยที่มีความซับซ้อนหลาก หลายมิติมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภัทราวดี มากมี วิริยะ ผดาศรี และ SeesamaiDouangmany. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาในจังหวัดชลบุรีตามการรับรู้ของครูผู้สอน. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน .9(2), 20 – 32.

ภัทราวดี มากมี. (2559ก). การพัฒนาโมเดลการวัดประสิทธิผลองค์การภาครัฐในเขตอาเซียน: การวิเคราะห์โมเดลสมการ โครงสร้างพหุระดับ. วารสารสมาคมนักวิจัย. 21(1), 34 -48.

ภัทราวดี มากมี. (2559ข). การประเมินผลกระทบของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กรณีปัญหาน้ำมันดิบรั่วไหล จังหวัดระยอง: การวิจัยแบบผสานวิธี. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และ ศิลปะ. 36(3).

References
Christensen, L. B., Johnson, R. B., & Turner, L. A. (2014). Research Methods, Design, and Analysis 11sted, Pearson Education, Inc., publishing as Allyn& Bacon.

Creswell, J.W. (2009). Research Design: Qualitative, Quantitative, and Mixed Methods Approaches 3rd ed. California: Sage.

Edmonds, W. A., & Kennedy, T. D. (2013). An Applied Reference Guide to Research Designs: Quantitative, Qualitative, and Mixed Methods, London: Sage.

Gravetter, F. J., &Forzano, L. B. (2012). Research Methods for Behavioral Sciences. International 4thed: Nelson Education, Ltd.

Greene, J. C., Caracelli, V. J., & Graham, W. F. (1989). Toward a Conceptual Framework for Mixed-method Evaluation Designs. Educational Evaluation and Policy Analysis, Vol 11, No. 3, 255-274.

Makmee, Pattrawadee Phadasri, Wiriya &SeesamaiDouangmany. (2015). factors affecting creative thinking in primary students as perceived by teachers. Journal of RangsitUniversity : Teaching & Learning.9(2), 20 – 32. (in Thai)

Makmee, Pattrawadee. (2016a). Development of A Model of Public Organizational Effectiveness Measurement in ASEAN: Multilevel Structural Equation Model Analysis. Journal of the Association of Researchers. 21(1), 34-48. (in Thai)

Makmee, Pattrawadee. (2016b). Impact Evaluation of Stakeholder of CrudeSpill Problem in Rayong Province: Mixed Method Research. Silpakorn University Journal of Social Sciences, Humanities, and Arts.36(3).(in Thai)

Mcmillan, J. H., & Schumacher, S. (2010). Research in Education.International 3rded: Pearson Education, Inc.

Teddlie, C., &Tashakkori, A. (2010) “Overview of contemporary issues in mixed methods research”, in Sage Handbook of Mixed Methods in Social & Behavioral Research, Tashakkori, A. and Teddlie, C. (Eds) 2010, Sage, California, 1