รูปแบบการประเมินผลกระทบทางสังคมสําหรับงานบริการวิชาการแก่สังคมของสถาบันอุดมศึกษา

Main Article Content

ธรรมนูญ สะเทือนไพร
บุญเรียง ขจรศิลป์
พิกุล เอกวรางกูร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการประเมินผลกระทบทางสังคมสําหรับงานบริการวิชาการแก่สังคมของสถาบัน อุดมศึกษา มีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน 1) การสังเคราะห์องค์ประกอบ ตัวชี้วัดผลกระทบทางสังคม และแนวทางการ ประเมินผลกระทบทางสังคมสําหรับงานบริการวิชาการแก่สังคม โดยการสังเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 5 คน 2) การสร้างรูปแบบการประเมิน โดยการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 5 ท่าน และการสอบถาม คณาจารย์ผู้ดําเนินงานบริการวิชาการแก่สังคมจํานวน 301 คน จากสถาบันอุดมศึกษาในกํากับของรัฐ จํานวน 17 แห่ง 3) การทดลองใช้รูปแบบการประเมิน โดยหัวหน้าโครงการและคณะกรรมการโครงการบริการวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จํานวน 48 คน 4) การประเมินรูปแบบโดยผู้ทดลองใช้รูปแบบการประเมิน เก็บรวบรวม ข้อมูลโดยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ บรรยาย การวิเคราะห์องค์ประกอบ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพสําหรับการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการประเมินผลกระทบทางสังคมสําหรับงานบริการวิชาการแก่สังคมของสถาบันอุดมศึกษา ประกอบด้วยวัตถุประสงค์ การประเมิน สิ่งที่มุ่งประเมิน ได้แก่ ผลกระทบทางสังคม 3 ด้าน 20 ตัวชี้วัด โดยด้านเศรษฐกิจ B ตัวชี้วัด ด้านสังคม 6 ตัวชี้วัด และด้านสิ่งแวดล้อม 6 ตัวชี้วัด วิธีการประเมิน ได้แก่ การระบุผู้ให้ข้อมูล และเครื่องมือการเก็บ ผู้ทําการประเมิน ได้แก่ ผู้ประเมินภายใน และผู้ประเมินภายนอก และเกณฑ์การประเมิน ทั้งนี้ รูปแบบการประเมินผลกระทบทางสังคม สําหรับงานบริการวิชาการแก่สังคมของสถาบันอุดมศึกษามีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพงานประเมิน ด้านความ เหมาะสมในระดับมากที่สุด ด้านความมีประโยชน์ ความเป็นไปได้ และความถูกต้องแม่นยําในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เดช วัฒนชัยเจริญยิ่ง. (2550). การประเมินผลกระทบทางสังคม, พิษณุโลก: กลุ่มปัญญาวิถี

เนาวรัตน์ พลายน้อย. (2552). การประเมินผลโครงการ ม่องการประเมิน: อดีตะปัจจุบัน: อนาคต. สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต), (2544). การพัฒนาที่ยั่งยืน, (พิมพ์ครั้งที่ 3), กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์ โกมลคีมทอง

พิสณุ ฟองศรี. (2550). การประเมินทางการศึกษา แนวคิดสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ:

ต่านสุทธาการพิมพ์ (2553). เทคนิควิธีการประเมินโครงการ. กรุงเทพฯ: ต่านสุทธาการพิมพ์ วิชิต

หล่อจระชุณห์กุล และ จิราวัลย์ จิตรเวช. (2555). การพัฒนาดัชนีและตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับภาคสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

สฤณี อาชวานันทกุล และ ภัทราพร แย้มลออ. (2557). คู่มือการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมและผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน, กรุงเทพฯ: ต่านสุทธาการพิมพ์

สมคิด พรมจัย. (2550). เทคนิคการประเมินโครงการ. (พิมพ์ครั้งที่ 5), นนทบุรี: สํานักพิมพ์จตุพร ดีไซน์

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2554). สรุปสาระสําคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2556). แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 - 2559) กรุงเทพฯ :

โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2552) รายงานผลการประชุมหารืออย่างไม่เป็นทางการ นโยบายการศึกษา: การปฏิรูปอุดมศึกษา กรุงเทพฯ :

โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2554), อนุสารอุดมศึกษา ปีที่ 37 ฉบับที่ 394 กรุงเทพฯ: ไอเดียสแคว์

สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (องค์การมหาชน). (2555). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554 - 2558) ระดับอุดมศึกษา ฉบับสถานศึกษา กรุงเทพฯ: บริษัท ออฟเซ็ท พลัส จํากัด

รัตนะ บัวสนธิ์. (2550), ทิศทางและอาณาบริเวณการประเมิน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). ทฤษฎีการประเมิน (พิมพ์ครั้งที่ 6), กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


References
Achavanuntakul, Sarinee & Yamla-oa, Patraporn. (2014). Social Impact Assessment & Social Return on Investment Handbook Bangkok: Dan Sutthakar. (in Thai).

Alkin, M.C. and F.S. Ellett Jr. (1990). Development of Evaluation Model. in The National Encyclopedia of Educational Evaluation. Oxford: Pergamon.

Burdge, Rabel J. (1994). A Community Guide to Social Impact Assessment. Social Ecology Press.

Dye Thomas R. (1984). Understanding Public Policy.(5th ed). Englewood Cliffs. New Jersey.

Kristensen, P. (2004). The DPSIR framework. UNEP Headquarters, Nairobi, Kenya.

Keeves, John P. (1988). "Model and Model Building" in Educational Research, Methodology and Measurement. An International Handbook, New York: Pergamon.

Licon, C.V. (2004). An Evaluation Model of Sustainable Development Possibilities. Dissertation Abstracts International. 66: 1388-A.

Lorchirachoonkul, Vichit & Jitthavech, Jirawan. (2012). The Development of indicators and indicators for sustainable development at the regional level in Thailand. National Institute of Development Administration. (in Thai).

Nevo, D. (1983). The Conceptualization of Educational Evaluation: An Analytical Review of the Literature, Review of Educational Research. 53: 117-128.

Segnestam, L. (2002). Indicators of Environment and Sustainable Development: Theories and Practical Experiences. World Bank, Environment Department,

Washington D.C. Stufflebeam D.L. and AJ. Shinkfield. (2007). Evaluation Theory, Models and Applications. San Francisco: Jossey-Bass.

Taylor, C. Nicholas, C. Hobson Bryan and Colin C. Goodrich. (1990). Social Assessment Theory, Process and Techniques. Studies in Resource Management No. 7, Lincoln University, New Zealand.

Van de Kerk, Geurt, and Manuel, A.R. (2008). A Comprehensive index for a Sustainable Society: The SSI : the Sustainable Society Index. Journal of Ecological Economics. Wattanachaiyingcharoen, Det. (2007). Social Impact Assessment Phitsanulok Province: Punyavithee group. (in Thai).

World Bank. (1987). Environment, Growth and Development. World Bank, Environment Department, Washington D.C.