การพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จังหวัดเลย

Main Article Content

เปล่งมณี เร่งสมบูรณ์สุข
ศิรวิทย์ กุลโรจนภัทร
สุดาวรรณ สมใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการดําเนินงานและสภาพการพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารกองทุน 2) สภาพและองค์ประกอบการบริหารกองทุนที่ส่งผลต่อการพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารกองทุน และ 3) ศึกษาแนวทาง ที่เหมาะสมในการพัฒนายุทรศาสตร์การบริหารกองทุน โดยการวิจัยแบบผสานวิธีชนิดลําดับการอธิบาย กลุ่มตัวอย่างได้ จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน 393 คน ที่เป็นตัวแทนสตรีจังหวัดเลย และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่มีหน้าที่ในการกําหนด นโยบายกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีและการนํานโยบายไปปฏิบัติ จํานวน 9 คน สถิติพรรณนาและสถิติอ้างอิงนํามาใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์เนื้อหาและการพรรณนาตรรกะสําหรับการวิจัยคุณภาพ 


ผลการวิจัยพบว่า ประชากรที่ศึกษามีความเห็นต่อสภาพและองค์ประกอบการบริหารกองทุนมีความสัมพันธ์กับ การพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารกองทุนโดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพและองค์ประกอบการบริหารกองทุนร่วมกันส่งผล ต่อการพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารกองทุนในระดับปานกลางถึงมากโดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 043 ถึง 0.78 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติทุกตัวแปร สภาพและองค์ประกอบการบริหารกองทุนร่วมกันสามารถทํานายการมีอิทธิพล ต่อการพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารกองทุนพัฒนาสตรีได้ร้อยละ 61.60 (R = 0.616) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2-tailed) และการพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารกองทุนยังมีจุดอ่อนด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ด้านทักษะ การบริหารของคณะกรรมการและที่ปรึกษา ด้านความรู้ความสามารถในการกลั่นกรองโครงการ และด้านระเบียบกองทุน จึงเสนอแนะให้วางแนวทางกลยุทธ์เชิงรุก ป้องกัน แก้ไขและตั้งรับในการพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารกองทุนให้มีประสิทธิผล มากขึ้น 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ จอมดวง, สุพัตรา จุณณะปียะ และนวลจันทร์ ทัศนชัยกุล. (2556). การดําเนินงานกองทุนพัฒนา บทบาทสตรี ตําบลล้อมแรด อําเภอเถิน จังหวัดลําปาง : ศึกษาความคิดเห็นของสมาชิกและคณะกรรมการ, ปริญญาศิลปศาสตร มหาบัณฑิต รัฐศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2555). สถิติสําหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 6), กรุงเทพฯ: ธรรมสาร

จุมพล หนิมพานิช. (2550). การวิจัยเชิงคุณภาพ : ในทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหา จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ฉัตรนภา วงศ์ไชยา, อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์ (2557), ประสิทธิผลการดําเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทในเขตเทศบาล ตําบลบ้านสาง อําเภอเมือง จังหวัดพะเยา, การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต นโยบาย สาธารณะ, มหาวิทยาลัยพะเยา

สายฝน โนบึง และสุวรัฐ แลสันกลาง. (2558). การประเมินกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีชุมชนกล้วยกลาง ตําบลกล้วยแพะ อําเภอเมืองลําปาง จังหวัดลําปาง, ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารและพัฒนาประชาคมเมือง และชนบท, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง

สํานักนายกรัฐมนตรี. (2555). ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี พ.ศ. 2555. กรุงเทพฯ สํานักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา

Campbell, R. F. (1976). Administration Behavior in Education. New York: McGraw-Hill.

Chat-Napa Wongchaiya & Athasit Muang-in. (2014). EFFECTIVENESS OF PERFORMANCE OF THAI WOMEN EMPOWERMENT FUNDS IN BAN SANG SUB-DISTRICT MUNICIPALITY, MUANG DISTRICT, PHAYAO PROVINCE. Master of Public Administration (Public Policy), University of Phayao. (In Thai)

Creswell, J.W. (2009). Research Design; Qualitative, Quantitative, and Mixed Methods Approaches. Los Angeles: SAGE Publications, Inc.

Dukes, S. (1984). Phenomenological Methodology in the Human Sciences. Journal of Religion and {icatth, 23(3), 137 203.

Jumpon Hnimphanich. (2007). Qualitative Research in Political Science and Public Administration. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (In Thai).

Kanlaya Wanichbancha. (2012). Statistics for research. (6th ed.). Bangkok: Dharmasarn Printing Company Limited. (In Thai).

Kannikar Jomdoung, Supatra Chunnapiya & Naunjun Tasanachaikul. (2014). Performances of the Thai Women Empowerment Funds, Lomrad District, Thoen District, Lampang Province: A Study of the Members and Committee Opinion Master of Arts (Political Science), Major Field: Political Science, Department of Political Science and Public Administration. (In Thai).

Merriam, S.B. (2009). Qualitative Research; a Guide to Design and implantation. San Francisco, CA: Jossey-Bass.

Risser, N.L.(1975). Development of an instrument to measure patient satisfaction with nurses and nursing care in primary care settings. Nursing Research, 24(1), 45-51

Saifon Noping & Suwarat Laesunglang. (2015). Evaluation of Thai Women Empowerment Funds of Gluay Glang Community Gluay Pae Sub-district, Mueang Lampang District, Lampang Province. Master of Public Administration (Urban and Rural Community Administration and Development), Faculty of Humanities and Social Sciences, Lampang Rajabhat University. (In Thai).

The Prime Minister's Office. (2012). Regulation of the office of the prime minister on the women's development fund, 2555. Bangkok: Cabinet Publishing and Gazzette Office. (In Thai).

United Nation. (2014). Human Development Report 2014; Sustaining Human Progress: Reducing Vulnerabilities and Building Resilience. Published for the UNDP

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (314 ed.). New York: Harper and Row Publication.