อิทธิพลของภาวะผู้นำที่รับผิดชอบต่อสังคมและวัฒนธรรมองค์การต่อประสิทธิผลขององค์การ กรณีศึกษา : องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาระดับและความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำที่รับผิดชอบต่อสังคม วัฒนธรรมองค์การ และประสิทธิผลขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกร 2. เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำที่รับผิดชอบต่อสังคมต่อวัฒนธรรมองค์การขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกร 3. เพื่อศึกษาอิทธิพลของวัฒนธรรมองค์การ ต่อประสิทธิผลองค์การขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกร และ4. เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำที่รับผิดชอบต่อสังคมต่อประสิทธิผลขององค์การ ทั้งทางตรง และทางอ้อมผ่านวัฒนธรรมองค์การขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรภายในองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 193 คน วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และตัวแบบสมการโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตุได้ มีค่าระหว่าง 0.689 - 0.885 อย่างนัยสำคัญทางสถิติ จากการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง ภาวะผู้นำที่รับผิดชอบต่อสังคม มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมองค์การในระดับสูงมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีค่าความแปรปรวนที่ถูกทำนายโดยปัจจัยด้านภาวะผู้นำที่รับผิดชอบต่อสังคม ร้อยละ 91 นอกจากนั้นวัฒนธรรมองค์การมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกรในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สุดท้ายภาวะผู้นำที่รับผิดชอบต่อสังคมมีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกรในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีอิทธิพลทางอ้อมในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีค่าความแปรปรวนที่สามารถถูกอธิบายโดยภาวะผู้นำที่รับผิดชอบต่อสังคม ร้อยละ 91 และมีค่าดัชนีความเหมาะสม χ2 / df = 1.92, CFI = 1.00, NNFI = 1.00, RMSEA = 0.039, SRMR = 0.0009 และ 90% CI for RMSEA = 0.00
Article Details
บทความที่ปรากฏในวารสารนี้ เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ซึ่งสมาคมนักวิจัยไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป การนำเสนอผลงานวิจัยและบทความในวารสารนี้ไปเผยแพร่สามารถกระทำได้ โดยระบุแหล่งอ้างอิงจาก "วารสารสมาคมนักวิจัย"
References
ณฐารินทร์ โรจน์จิรดำรง และ พิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2562). อิทธิพลภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์และวัฒนธรรมองค์การ ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลขององค์การ ในการทำงานของพนักงาน บริษัท ประจวบอุตสาหกรรม จำกัด. วารสารสมาคมนักวิจัย, 24 (2), 135-146.
บุษรา ภาคสุวรรณ และ ปวีณา คำพุกกะ. (2557). อิทธิพลของวัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อประสิทธิผลขององค์การในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสมาคมนักวิจัย, 19 (3), 37-50.
พงษ์เทพ จันทสุวรรณ , ลาชิต ไชยอนงค์ และ คมวัชร เอี้ยงอ่อง. (2562). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแรงบันดาลใจ วัฒนธรรมองค์การ องค์การแห่งการเรียนรู้ และประสิทธิผลองค์การในบริบทของศาลยุติธรรม. วารสารสมาคมนักวิจัย, 24 (1), 17-31.
พิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2558). ภาวะผู้นำเชิงปฏิบัติการ: LIFE Model. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ผู้นำธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรมกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร. (2562). วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง. สืบค้นจาก www.mof.or.th/f1_02.php.
Achua, C. F. & R. N. Lussier. 2013. Effective Leadership. Mason, OH: South-Western, Cengage Learning.
Bowditch, J. L. & Buono, A. F. (2005). A Primer on Organizational Behavior. (6th ed.). New York: Wiley.
Chemers, M. M. 2003. Leadership effectiveness: Functional, Constructivist, and Empirical Perspectives. Leadership and Power: Identity Processes in Groups and Organizations, 6, 5-17.
Cooke, R. A., & Lafferty, J. C. (1989). Organizational culture inventory, leader’s guide (2nd ed.). Plymouth MI: Human Synergistics. Culture: Based on The Competing Values Framework. Reading Mass: Addison.
Hooper, D., Coughlan, J., & Mullen, M. (2008). Structural Equation Modeling: Guidelines for Determining Model Fit. Electronic Journal of Business Research Methods, 6 (1), 53-60.
Hoy, W. K. & Miskel, C.G. (1991). Educational administrations: theory research and Practice. (4th ed.) New York: McGraw, Hill Book Company. John Wiley and Sons.
Schein, E. H. (1999). The Corporate Culture Survival Guide: Sense and Nonsense About Culture Change. California: Jossey-Bass.
Waldman, D. A. (2007). Best practices in leading at strategic levels: A social responsibility perspective. The Practice of Leadership: Developing the Next Generation of Leaders, 20 (2), 224-243.
Yuchtman, R. F., & Seashore, S. (1967). A system resource approach to organizational effectiveness. American Sociological Review, 32, 891-903.
Bharksuwana, B., & Khampukka, P. (2014). Influences of Organizational Culture towards the Effectiveness of the Organizations in the Northeastern Region. Journal of the Association of Researchers, 19 (3), 37-50. (in Thai)
Chandasuwan, P., Chaianong, L., and Iangong, C. (2019). A Study on Relationship among Inspirational Leadership, Organizational Culture, Learning Organization, and Organizational Effectiveness in the Context of the Courts of Justice. Journal of the Association of Researchers, 24 (1), 17-31. (in Thai)
Marketing Organization for Farmers. (2019). Purpose of the establishment. Retrieved from www.mof.or.th/f1_02.php. (in Thai)
Mitchapoom, C., & Nonthanathorn, P. (2018). Influences of Socially Responsible Leadership and Organizational Citizenship Behavior on CSR Activities Participation of Employee of Bangkok Commercial Asset Management Public Company Limited. Journal of the Association of Researchers, 23 (2), 191-202. (in Thai)
National Strategy Secretariat Office. (2019). National Strategy 2018-2037. (2nd ed.). Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Board. (in Thai)
Nonthanathorn, P. (2015). Operational Leadership: LIFE Model. (2nd ed.). Bangkok: Social Enterprise Leadership Center. (in Thai)
Rothjiradumrong, N., & Nonthanathorn, P. (2019). Influences of Visionary Leadership and Organizational Culture on Organizational Effectiveness of Employees in Prachuap Sugar Industry Co., Ltd. Journal of the Association of Researchers, 24 (2), 135-146. (in Thai)