ความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรองค์การกับการจัดการคลังสินค้าในธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่

Main Article Content

สุภา จิรวัฒนานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัย เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรองค์การกับการจัดการคลังสินค้าในธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรองค์การกับการจัดการคลังสินค้าในธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ แบบสำรวจ การเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยไม่อาศัยความน่าจะเป็น จากผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการและพนักงานในองค์การ จำนวน 420 ตัวอย่าง เครื่องมือคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา เชิงอนุมานและโมเดลสมการเชิงโครงสร้าง (SEM) ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 21-25 ปี  โสด การศึกษาม.6 และปวช. เป็นพนักงาน ประสบการณ์การทำงาน 1-5 ปี กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นระดับมากต่อทรัพยากรองค์การโดยภาพรวม (x̄= 4.04) อันดับแรกคือ องค์กรมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาปรับใช้เพื่อช่วยให้การปฏิบัติงานมีความรวดเร็วและทันสมัย (x̄= 4.16) และการบริหารจัดการองค์การเป็นไปตามลำดับขั้นในการบังคับบัญชา (x̄=4.15)  ความพึงพอใจกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นระดับมากในภาพรวม (x̄= 4.13) อันดับแรก คาดหวังว่าการทำงานด้านบริการอย่างรวดเร็วจะตรงกับความต้องการของลูกค้า (x̄= 4.25) ลูกค้ามีความรู้สึกที่ดีเมื่อได้รับความสะดวกและการบริการจากผู้ขายด้วยความรวดเร็วและคล่องแคล่ว (x̄= 4.24) การบริหารจัดการกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นระดับมากในภาพรวม (x̄= 4.17) อันดับแรก องค์การมีอัตราการหมุนเวียนของสินค้าตลอดและสม่ำเสมอ (x̄= 4.30) องค์กรสามารถบริหารจัดการลดต้นทุนรวมจากการใช้ทรัพยากรองค์การในด้านบุคลากร เงินทุน วัสดุอุปกรณ์ตลอดจนเทคโนโลยีได้ดีที่สุด (x̄= 4.19) และพบว่า ทรัพยากรองค์การมีอิทธิพลทางตรงต่อการบริหารจัดการคลังสินค้าในธุรกิจการค้าปลีกสมัยใหม่ (P<0.05) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง (Path Coefficient=0.417*; DE=0.417*) และมีอิทธิพลทางอ้อมโดยผ่านความพึงพอใจ (P<0.05) มีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง (Path Coefficient=0.299*; IE=0.299)  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และAMOS. พิมพ์ครั้งที่13 กรุงเทพฯ: อาร์แอนด์ดี หจก.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ. (2550). บุคลิกภาพและภาวะผู้นำ. ใน เอกสารประกอบคำบรรยายหลักสูตรปรัชญา ดุษฎีบัณฑิตสาขาการจัดการ. หน้า1-2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.

สุจินดา เจียมศรีพงษ์. (2553). ปัญหาและแนวทางแก้ไขเพื่ออนาคตการค้าปลีกที่ยั่งยืน. วารสารวิทยากาจัดการและสารสนเทศศาสตร์, ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 หน้า1-9.

สุภมาส อังศุโชติ สมถวิล วิจิตรวรรณาและรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์ (2554). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย ทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพมหานคร: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

สุรพล กาญจนะจิตรา. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริรัตน์ ลาภเอกอุดม. (2549). การศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการคลังสินค้าและการส่งมอบสินค้า.การศึกษาค้นคว้าสาขาการจัดการโลจิสติกส์ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

อรุณ บริรักษ์. (2547). Warehouse การบริหารการจัดการคลังสินค้าในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: บริรักษ์พับลิชชิ่ง.

โอฬาร กิตติธีรพรชัยและคณะ. (2556). ระบบการจัดการคลังสินค้า. วารสารวิศวกรรมศาสตร์. จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 หน้า 51-62. สืบค้นจาก (http://www.ej.eng.chula.ac.th/ )

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). จำนวนสถานประกอบการธุรกิจที่มีลูกจ้าง. สืบค้นจาก http://service.nso.go.th/nso/web/surveylist.htm .

Becker, S. & Neuhauser, D. (1979). The Efficient Organization. New York: Elsevier Scientific Publishing Co., Inc.

Bhathagar, A. (1998). An Inquiry into the Determinants of Store Assortments, Retail formats and Patronage Patterns (Consumers). Ph.D. dissertation, State University of New York at Buffalo.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. 5th ed. New York: Harper Collins Publishers, Inc.

Drucker, P.F. (2005). The Effective Executive. (Revised) New York: Harper & Row.

Ivancevich, J. M. & Matteson, T. M. (2002). Organization Behavior and Management. (6thed). Houston: McGraw-Hill.

Porter, M.E. (2002). Competitive Advantage: Creating and sustaining superior performance, N.Y.: Free Press

Thanin. S. (2012). Research and Statitical Analysis with SPSS and AMOS. (13thedition). Bangkok: Business R&D Partnership. (in Thai).

Boonchom, S. (1992). Basic Research. Bangkok: Suwiriyasan. (in Thai).

Preecha, H. (2007). Personality and Leadership. In Description Assemble Document for Doctor of Philosophy Program in Management. pp.1-2. Siam University. (in Thai).

Sujinda, J. (2010). Problem and Solution for Sustainability Retail Business in the Future. Journal Management and Information Sciences. Vol. 6 no.1 pp.1-9. (in Thai).

Suphamas, A., Somthawin, W., Ratchanikool, P. (2011). Statistics Analysis of Social and Behavioral Science Research: Techniques for Using LISREL Program. (3rd Edition). Bangkok: Charoendeemundkong Printing. (in Thai).

Suraphon, D. (2008). Research Methodology in Science. (6rd Edition). Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. (in Thai).

Sirirattana, L. (2006). To Study Increasing Efficiency in Cargo Management and delivery of goods. Independent Study in Management Logistics, Graduate School, University of the Thai Chamber of Commerce. (in Thai).

Arun, B. (2004). Warehouse, Cargo Management in Thailand. Bangkok: Borrirak Publishing. (in Thai).

Kittiteerapornchai, et al., (2013). Cargo Management System. Journal Engineering Chulalongkorn Vol.5 no.2 pp.51-62. Retrieved from http://www.ej.eng.chula.ac.th/ (in Thai).

National Statistical Office, (2016). Retrieved from http://service.nso.go.th/nso/web/surveylist.htm. (in Thai).