Product Attributes of Cannabis-infused Toothpaste Selected by Consumers in Bangkok Metropolitan
Main Article Content
Abstract
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยประชากรศาสตร์และการรับรู้พฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ยาสีฟันผสมกัญชาของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาคุณลักษณะผลิตภัณฑ์ของยาสีฟันผสมกัญชาที่ผู้บริโภคเลือกซื้อ และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยประชากรศาสตร์และคุณลักษณะผลิตภัณฑ์ของยาสีฟันผสมกัญชาที่ผู้บริโภคเลือกซื้อในเขตกรุงเทพมหานคร มีกลุ่มเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 425 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Cochran และทำการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวกซึ่งเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามผ่านช่องทางในรูปแบบระบบออนไลน์ การศึกษาวิจัยนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย และใช้การทดสอบ Chi-square การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว และ Least Significant Diffidernce ในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่กรณีที่ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามมีความแตกต่างกัน โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นหญิง อายุ 31 – 40 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า 20,000 บาท ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยประชากรศาสตร์ทุกด้าน โดยเฉพาะด้านอาชีพ รองลงมาคือรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ยาสีฟันผสมกัญชาในเขตกรุงเทพมหานคร และพบว่าพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ยาสีฟันผสมกัญชาในด้านยี่ห้อผลิตภัณฑ์ที่เคยซื้อและคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่เคยเลือกซื้อ มีความสัมพันธ์กับทุกปัจจัยประชากรศาสตร์ โดยผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว พบว่า ปัจจัยประชากรศาสตร์ทุกด้าน ยกเว้นด้านสถานภาพสมรส ส่งผลต่อการให้ระดับความสำคัญของปัจจัยคุณลักษณะผลิตภัณฑ์ของยาสีฟันผสมกัญชาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ปรากฏในวารสารนี้ เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ซึ่งสมาคมนักวิจัยไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป การนำเสนอผลงานวิจัยและบทความในวารสารนี้ไปเผยแพร่สามารถกระทำได้ โดยระบุแหล่งอ้างอิงจาก "วารสารสมาคมนักวิจัย"
References
กมลภพ ทิพย์ปาละ. (2555). กระบวนการตัดสินใจของผู้บริโภคในอำเภอเมืองเชียงใหม่ในการซื้อกล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวระบบดิจิทัล. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กองควบคุมวัตถุเสพติด. (2565). ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565. เข้าถึงได้จากhttps://mnfda.fda.moph.go.th/narcotic/?p=11472.
จุฑามาศ ฝึกฝนและ วิไลลักษณ์ รัตนเพียรธัมมะ. (2562). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ยาสีฟันของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเกริก.
ชนม์ชุดา วัฒนะธนากรและบุฎกา ปัณฑุรอัมพร. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกัญชา-กัญชงของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2561). รวมบทความว่าด้วย...ความรับผิดชอบต่อสังคม. กรุงเทพฯ:ศูนย์ผู้นำธุรกิจเพื่อสังคมแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วริศรา ถนอมวงศ์ และพิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2565). คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าผสมซีบีดีที่ผู้บริโภคเลือกซื้อในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมนักวิจัย. 27(3) : 89-103.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). กระแสรักสุขภาพจากโควิดสร้างโอกาสธุรกิจ SME เข้าถึงได้จากhttps://www.kasikornbank.com/SiteCollectionDocuments/business/sme/knowledge/article/KSMEAnalysis/Healthtrend_SME/Healthtrend_SME.pdf.
Marketeer. (2565). ฟิลิปส์เผยคนไทย 95% ใส่ใจเทรนด์สุขภาพเชิงป้องกันมากขึ้น
เข้าถึงได้จาก https://marketeeronline.co/archives/248366.
OURPOINT. (2565). ไลฟ์สไตล์ NEXT NORMAL ส่องเทรนด์การใช้ชีวิตยุคหลังโควิด เข้าถึงได้จาก
สะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวระบบดิจิทัล. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Smart SME. (2563). เทียบชั้น ยาสีฟันแบรนด์ไทย "เทพไทย-ดอกบัวคู่" ชูหมัดเด็ดท้าชิงตลาดหมื่นล้าน เข้าถึงได้จาก https://www.smartsme.co.th/content/243221.
Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3rd Edition, John Wiley & Sons, New York.
Kotler, P., & Keller, K. L. (2012). Marketing management (14th ed.). Upper Saddle River,New Jersey: Prentice-Hall.
Translated Thai References
Fukfon. J. & Ratanapeantamma. W. (2019). Marketing-Mix Factors Affecting the Decision-Making in Purchasing the Toothpaste Products of Consumers in Bangkok. Faculty of Business Administration, Krirk University. (in Thai).
Kasikorn Research Center (2020). Health-loving trend from COVID creates business opportunities for SMEs, accessible from https://www.kasikornbank.com/SiteCollectionDocuments/ business/
sme/knowledge/article/KSMEAnalysis/Healthtrend_SME/Healthtrend_SME.pdf. (in Thai).
Marketeer. (2022). Philips reveals that 95% of Thais pay more attention to preventive health trends.accessible from https://marketeeronline.co/archives/248366. (in Thai).
Narcotics Control Division. (2022). Announcement of the Ministry of Public Health on the identification of narcotic drugs of category 5, 2022. Available from https://mnfda.fda.moph.go.th/narcotic/?p=11472. (in Thai).
Nonthanathorn. P. (2018) . Collections of Social Responsibility Articles. Bangkok: Social Enterprise Leadership Center. (in Thai)
OURPOINT. (2022). NEXT NORMAL lifestyle, highlighting the trend of living in the post-COVID era. accessible from Reflection of digital single-lens images. Master of Business Administration,
Chiang Mai University. (in Thai).
Smart SME. (2020). Comparable to Thai brand toothpaste. "Thep Thai-Twin Lotus" raises the finisher, challenging the market for ten thousand million. accessible from https://www.smartsme.co.th/content/243221. (in Thai).
Thippala. K . (2012). The decision-making process of consumers in Mueang Chiang Mai District to purchase a digital single-lens reflex camera. Master of Business Administration, Chiang Mai University. (in Thai).
Thanomwong. W. & Nonthanatorn. P. (2022). Characteristics of CBD-infused facial skin care products that consumers choose to buy in Bangkok. Journal of the Association of Researchers. 27(3) : 89-103. (in Thai).
Wattanathanakorn. C. & Punturaumporn. B. (2021). Factors Affecting the Decision to Purchase Cannabis-Hemp Drink of Consumer in Bangkok. Master of Business Administration Program, Ramkhamhaeng University. (in Thai).