คุณลักษณะผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนของผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ผู้บริโภคเลือกซื้อ ในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยประชากรศาสตร์และคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนของผลิตภัณฑ์สมุนไพรของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยประชากรศาสตร์และพฤติกรรมผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรในเขตกรุงเทพมหานคร มีกลุ่มเป้าหมายคือผู้บริโภคที่ซื้อผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จํานวน 450 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Cochran และทำการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวกซึ่งเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามผ่านช่องทางในรูปแบบระบบออนไลน์ การศึกษาวิจัยนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย และใช้การทดสอบ Chi-square การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจําแนกทางเดียว และ Least Significant Diffidernce ในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่กรณีที่ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามมีความแตกต่างกัน โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นหญิง อายุระหว่าง 31–40 ปี มีสถานะโสด การศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ประกอบอาชีพ อาชีพลูกจ้าง พนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 20,001 - 30,000 บาท ผลการวิจัยพบว่ากลุมตัวอย่างมีพฤติกรรมการเคยซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพร โดยส่วนใหญ่เลือกซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากรู้สึกปลอดภัยเมื่อใช้ เลือกซื้อผ่านร้านขายยา และ พฤติกรรมการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร โดยส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่เคยใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรโดยเลือกใช้จากร้านขายยา/เภสัชกรแนะนำ และ ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวของปัจจัยทางประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อคุณลักษณะผลิตภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนของผลิตภัณฑ์สมุนไพร พบว่า ปัจจัยประชากรศาสตร์ด้านอายุ ด้านระดับการศึกษา ด้านอาชีพ และด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีการให้ระดับความสำคัญกับคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนของผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ปรากฏในวารสารนี้ เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ซึ่งสมาคมนักวิจัยไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป การนำเสนอผลงานวิจัยและบทความในวารสารนี้ไปเผยแพร่สามารถกระทำได้ โดยระบุแหล่งอ้างอิงจาก "วารสารสมาคมนักวิจัย"
References
ฉัตรชัย อินทสังข์ ณพรรณ สินธุศิริ และ ยุพาภรณ์ ชัยเสนา. (2563). ผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมและการรับรู้คุณค่าด้านสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อ. WMS Journal of Management Walailak University, 9, 3 (กรกฎาคม-กันยายน): 31-41
ธมนวรรณ โชติวิทะกุล. (2563). ทัศนคติและการตัดสินใจซื้อที่มีต่อกิจการเพื่อสังคมของคน Generation Y ในกรุงเทพมหานคร. ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยมหิดล.
บริษัท ขาวละออเภสัช จํากัด. (มปพ). เกี่ยวกับขาวละออ. เข้าถึงได้จาก https://www.khaolaor. com/aboutus.
บริษัท อ้วยอันโอสถ จำกัด. (มปพ). เกี่ยวกับอ้วยอัน. เข้าถึงได้จาก http://www.ouayun.com/about/.
นิภาพร รุ่งสว่าง. (2551). ทัศนคติและแนวโน้มพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนผสมของคลอลาเจน. สารนิพนธ์ บธ.ม. (การตลาด). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย ศรีนครินทร วิโรฒ.
ณัฐดนัย โฆสิตาภา. (2566). การใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ. เข้าถึงได้จาก http://www.rbpho.moph.go.th/upload-file/doc/files/24082023-100706-6596.pdf.
มัลลิกา รัศมีศรีตระกูล และ พีรภาว์ ทวีสุข. (2563). อิทธิพลของทัศนคติที่มีต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตย์,สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร. (มปพ). ความเป็นมาเกี่ยวกับมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัย ภูเบศร. เข้าถึงได้จาก https://www.thaifstt.org/index2/index.php
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). เทรนด์ดูแลสุขภาพโดยวิถีธรรมชาติ. เข้าถึงได้จาก https://www.kasikornresearch.com/InfoGraphic/Documents/HERB-2020.pdf.
สิริพัฒนัญ ชินเศรษฐพงศ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อดุลย์ จาตุรงคกุล และดลยา จาตุรงคกุล. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Translated Thai References
Adul J.& Dolaya. J. (2007). Consumer behavior. (2nd printing). Bangkok: Thammasat University. (in Thai).
Chao Phraya Abhaibhubejhr Hospital Foundation. (n.d.). Background about the Chao Phraya Abhaibhubejhr Hospital Foundation. Accessible from https://www.thaifstt.org /index2/index.php. (in Thai).
Chatchai, I. et al. (2020). Environmental products and Perceived environmental values that influence purchase intentions. WMS Journal of Management Walailak University, 9, 3 (July-September): 31-41. (in Thai).
Kasikorn Research Center. (2020). Trends in taking care of health through natural methods. Accessible from https://www.kasikornresearch.com/InfoGraphic/Documents/HERB-2020.pdf. (in Thai).
Khaolao Pharmacy Co., Ltd. (n.d.). About Khaolao. Accessible from https://www.khaolaor.com/aboutus
Uay An Osot Co., Ltd. (n.d.). About Uay An. Accessible from http://www.ouayun.com/about/. (in Thai).
Mallika, R & ,Peerapaw., T. (2020). Influence of attitude on the decision-making process for purchasing environmentally friendly packaging in Chatuchak area. Bangkok. Master of Business Administration, Panyapiwat Institute of Management. (in Thai).
Natdanai. K.(2023). Use of herbal medicines in the National List of Essential Medicines. Accessible from http://www.rbpho.moph.go.th/upload-file/doc/files/24082023-100706-6596.pdf. (in Thai).
Nipaporn. R. (2008). Attitudes and behavioral trends in purchasing decision-making food products containing ingredients.Collagen. Thesis: M.B.A. (Marketing). Bangkok: Graduate School, Srinakharinwirot University. (in Thai).
Siripattana, C. (2018). Factors affecting consumers' decision to purchase environmentally friendly products. Master of Business Administration, Thammasat University. (in Thai).
Thamonwan. C. (2020). Attitudes and purchasing decisions towards social enterprises of Generation Y in Bangkok. Master of Management Degree, Mahidol University. (in Thai).