คุณลักษณะผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักที่ผู้บริโภคเลือกซื้อในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในปัจจุบันผู้คนต่างหันมาสนใจดูแลสุขภาพและเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักเพื่อให้ได้สุขภาพที่ดีและควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์สุขภาพที่ดีจึงทำให้ผู้วิจัยสนใจศึกษา บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยประชากรศาสตร์และพฤติกรรมผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักที่ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อในเขตกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาคุณลักษณะผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักที่ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อในเขตกรุงเทพมหานคร และ3) ศึกษาความแตกต่างระหว่างปัจจัยประชากรศาสตร์และคุณลักษณะผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักที่ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 450 คน มีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบียนมาตรฐาน ค่าสถิติ Chi-square, One-way, ANOVA และ LSD จากการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยประชากรศาสตร์ด้านเพศ อายุ สถานสภาพ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) กลุ่มตัวอย่างพิจารณาผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักจากคุณลักษณะที่ยั่งยืนด้านคุณลักษณะสารอาหารครบ 5 หมู่ ส่วนวัตถุดิบจากธรรมชาติ ด้านผลิตภัณฑ์ที่มีการรับรองมาตรฐาน เช่น อย.และให้ความสำคัญด้านโรงงานที่ได้รับรองมาตรฐาน เช่น GMP, ISO คือคุณลักษณะที่ยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญ 3) ปัจจัยประชากรศาสตร์ด้านปัจจัยส่วนบุคคล มีการให้ระดับความสำคัญกับคุณลักษณะที่ยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ปรากฏในวารสารนี้ เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ซึ่งสมาคมนักวิจัยไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป การนำเสนอผลงานวิจัยและบทความในวารสารนี้ไปเผยแพร่สามารถกระทำได้ โดยระบุแหล่งอ้างอิงจาก "วารสารสมาคมนักวิจัย"
References
กชพรรณ ธรรมไชย. (2562). ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้บริโภควัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร.ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
กองโรคไม่ติดต่อ/สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค. (2566). ผลักดันคนไทยใส่ใจสุขภาพ ปรับเปลี่ยนมุมมองลด “โรคอ้วน” (Online).https://pr.moph.go.th,22 พฤษภาคม 2566.
กุหลาบ กิมศรี และ พิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่ยั่งยืน.สาขาศึกษาศาสตร์,การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 52. (หน้า 312-319).
ชลธิศ ดาราวงษ์. (2562). การสร้างความยั่งยืนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์,39, (3): 138-149.
ณัฐภัทรา ลิขิต. (2562). คุณลักษณะเครื่องดื่มอกไก่ปั่นที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ดารณี หมู่ขจรพันธ์. (2008). ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ข้อเท็จจริงที่ควรรู้. For Quality January 2008, 14: 90-93 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.
ทีมวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 3c group. 2565. ตามติดเทรนด์ตลาด Meal Replacement (Online). https://blog.3cgroup.co.th/meal-replacement, 22 กรกฎาคม 2566.
พิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2561). รวมบทความว่าด้วย...ความรับผิดชอบต่อสังคม. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำธุรกิจเพื่อสังคมแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สดุดี บุนนาค. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd Ed.). New York: John Wiley & Sons, Inc.
Kotler, P. & Armstrong, G. (2014). Principles of Marketing. (15th Ed.). Pearson Education Limited.
Kotler, P. (2014). Marketing management. (14th Ed.). Pearson Education: Prentice Hall.
Zubeltzu-Jaka, E., et al. (2018). Shedding light on the determinants of eco-innovation: A meta-analytic study. Business Strategy and the Environment, 27(7), 1093–1103.https://doi.org/10.1002/bse.
Translated Thai References
Bunnak, S. (2017). Factors influencing the decision to purchase dietary supplements in Bangkok and surrounding provinces (Independent study for Master's degree). Thammasat University. (in Thai).
Bureau of Non-Communicable Diseases/Office of Risk Communication, Department of Disease Control. (2023, May 22). Encouraging Thais to care about health, changing perspectives to reduce "obesity". Department of Disease Control. https://pr.moph.go.th. (in Thai)
.
Darawong, C. (2019). Creating sustainability in new product development. Journal of Humanities and Social Sciences, University of the Thai Chamber of Commerce, 39(3), 138-149. (in Thai).
Kimsri, K & Nonthanathorn, P. (2014). Factors influencing purchase intention of sustainable food products. Proceedings of 52nd Kasetsart University Annual Conference: In The 52nd Kasetsart University Annual Conference (pp. 312-319). (in Thai).
Likhit, N. (2019). Characteristics of blended chicken drinks influencing consumer purchasing decisions in Bangkok (Master's thesis). Kasetsart University. (in Thai).
Mookajornpun, D. (2008). Dietary supplements: Facts you should know. For Quality, 14, 90-93. Food and Drug Administration. (in Thai).
Nonthanathorn, P. (2018). On Social Responsibility. Bangkok: Social Enterprise Leadership Center. (in Thai).
Research and Development Team 3C Group. (2022, July 22). Following the meal replacement market trend. 3C Group Blog. https://blog.3cgroup.co.th/meal-replacement. (in Thai).
Thammachai, K. (2019). Purchase decision on dietary supplements of working-age consumers in Bangkok (Independent study for Master's degree). Ramkhamhaeng University. (in Thai).