การพัฒนาหลักสูตรและประสิทธิผลของหลักสูตรเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ แบบบูรณาการบริบทชุมชนและวัฒนธรรมท้องถิ่น สำหรับนักศึกษาครู

Main Article Content

จีรภรณ์ กิจเจริญ
ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาหลักสูตรเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการบริบทชุมชนและวัฒนธรรมท้องถิ่น สำหรับนักศึกษาครู 2. ศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรเสริมสมรรถนะฯ ได้แก่  2.1 ทดสอบความรู้ความเข้าใจหลังเรียนหลักสูตรเสริมสมรรถนะฯ 2.2  ศึกษาพัฒนาการความสามารถการออกแบบการจัดการเรียนรู้ฯ 2.3 ศึกษาพัฒนาการความสามารถการจัดการเรียนรู้ฯ 2.4 ศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตรเสริมสมรรถนะฯ และ 3. รับรองหลักสูตรเสริมสมรรถนะฯ ดำเนินการวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed-Method) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาครูชั้นปีที่ 4 และปีที่ 5 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่ออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ในปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) หลักสูตรเสริมสมรรถนะฯ 2) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ 3) แบบประเมินพัฒนาการการออกแบบการจัดการเรียนรู้ 4) แบบประเมินพัฒนาการการจัดการเรียนรู้ 5) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นฯ  และ 6) แบบรับรองหลักสูตร การวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา การหาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. หลักสูตรเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการบริบทชุมชนและวัฒนธรรมท้องถิ่น สำหรับนักศึกษาครู ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ โดยหลักสูตรมีคุณภาพอยู่ในระดับเหมาะสมมาก (M = 4.45, SD = 0.60) 2. ประสิทธิผลหลักสูตรเสริมสมรรถนะฯ พบว่า ความรู้ความเข้าใจในหลักสูตรเสริมสมรรถนะฯ อยู่ในระดับดีมาก โดยคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 25.78 คิดเป็นร้อยละ 85.92 3. หลักสูตรได้รับรองจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน เห็นว่า หลักสูตรสามารถนำไปใช้ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จีรนันท์ แจ้งถิ่นป่า. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2564). การพัฒนาหลักสูตร. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชุลีพร สุระโชติ และคณะ. (2562).การพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC). วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 7(2), 272-285.

พระปลัดนนทณัฏฏ์ ศฤงคาร. (2564). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนธรรมศึกษาตามแนวคิดเชิงรุก (Active Learning) สำหรับพระสอนศีลธรรมระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พัชรพร ศุภกิจ. (2562). การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสองภาษาสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาวิชาการประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พัลลภ สุวรรณฤกษ์. (2563). การพัฒนาการฝึกอบรมออนไลน์แบบสอนงานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการสอนออนไลน์ กรณีศึกษานักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภรณี ศิริวิศาลสุวรรณ. (2562). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างทักษะชีวิตในยุคดิจิทัล สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 9). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รัตนะ บัวสนธ์. (2562). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วราวุฒิ มั่นสุขผล. (2557). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมออนไลน์โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเพื่อพัฒนาสมรรถนะการออกแบบอีเลิร์นนิงเพื่อการเรียนการสอนของอาจารย์ระดับอุดมศึกษา.วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัชรินทร์ กองสุข. (2563). การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและประเมิน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ.

อาทิตย์ญา โพธิ์สวย. (2562). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างศาสตร์และศิลป์การจัดการเรียนรู้ยุคดิจิทัลของครูระดับมัธยมศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถของนักเรียนในการสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้เทคโนโลยี. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Taba, H. (1962). Curriculum development: Theory and practice. New York: Harcourt, Brace & World.

Translates in Thai Reference

Buasan, R. (2019). Research and development of educational innovation. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)

Chaengthinpa, J. (2021). The results of integrated learning management that has an effect on the academic achievement in mathematics of grade 5 students. Master of Education Thesis, Curriculum and Instruction Program. Graduate School, Nakhon Sawan Rajabhat University. (in Thai)

Kongsuk, W. (2020). Development of an integrated curriculum to enhance Thai citizenship for grade 6 students in Bangkok schools. Master of Education Thesis, Research and Evaluation Program. Graduate School, Thaksin University. (in Thai)

Mansukphon, W. (2014). Development of an online training model by collaborative learning to develop e-learning design competencies for teaching and learning of higher education teachers. Doctor of Philosophy Thesis in Curriculum and Instruction. Graduate School, Silpakorn University. (in Thai)

Nilphan, M. (2015). Educational research methods. (9th ed.). Nakhon Pathom: Silpakorn University.(in Thai)

Phothisuai, A. (2019). Development of a curriculum to enhance the science and art of digital learning management for secondary school teachers to promote students' ability to create works using technology. Doctor of Philosophy Thesis in Curriculum and Instruction. Graduate School, Silpakorn University. (in Thai)

Phra Palat Nonthanat Sringkhan. (2021). Development of a training course to enhance the competence of teaching Dhamma studies based on the Active Learning concept for elementary school morality teachers. Doctor of Philosophy Thesis in Curriculum and Instruction. Graduate School, Silpakorn University. (in Thai)

Siriwisansuwan, P. (2019). Development of a curriculum to enhance life skills in the digital age for lower secondary school students in Bangkok schools. Doctor of Philosophy Thesis in Curriculum and Instruction. Graduate School, Silpakorn University. (in Thai)

Sitsungnoen, C. (2021). Curriculum development. Nakhon Pathom: Silpakorn University. (in Thai)

Suwannaruek, P. (2020). Development of online training for teaching to promote online teaching design ability: a case study of graduate students at Silpakorn University. Master's thesis in Educational Technology. Graduate School, Silpakorn University. (in Thai)

Suphakit, P. (2019). Development of supplementary curriculum to build competence in bilingual science learning management for primary education students. Doctor of Philosophy Thesis in Curriculum and Instruction. Graduate School, Silpakorn University. (in Thai)

Surachote, C. (2019). Curriculum Development on Learning management for the 21st Century using Professional Learning Community Approach. (PLC). Mahachula Academic Journal, 7(2), 272-285. (in Thai)