การพัฒนาตำรับน้ำพริกเทมเป้ถั่ว 5 สี

ผู้แต่ง

  • ธัญญ์ธิชา นาคเกิด มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • รัฐพล ไกรกลาง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

เทมเป้, น้ำพริก, ถั่ว 5 สี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตำรับน้ำพริกจากเทมเป้ถั่ว 5 สี และประเมินการยอมรับทางประสาทสัมผัสของผู้บริโภคต่อตำรับน้ำพริกจากเทมเป้ถั่ว 5 สี ที่พัฒนาขึ้น น้ำพริกถือว่าเป็นวัฒนธรรมทางอาหารของประเทศไทยที่มีความหลากหลายในแต่ละภูมิภาค โดยเฉพาะในเขตภาคกลางมีน้ำพริกมากมายหลายชนิด วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตน้ำพริกส่วนใหญ่จะคล้ายคลึงกัน คือ พริก หอมแดง กระเทียม ข่า ตะไคร้ โดยมีส่วนผสมของโปรตีน คือ กุ้งแห้ง ปลาแห้ง โดยปัจจุบันโปรตีนทางเลือก ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากพฤติกรรมและความนิยมของผู้บริโภค แหล่งโปรตีนทางเลือกที่สำคัญและได้รับความนิยม ได้แก่ โปรตีนจากพืชตระกูลถั่ว ซึ่งราคาถูกกว่าเนื้อสัตว์ เทมเป้ คือ ถั่วเหลืองหมักของชาวอินโดนีเซียซึ่งมีโปรตีนสูง เป็นอีกแหล่งของโปรตีนทางเลือก เป็นการหมักถั่วด้วยเชื้อรา Rhizopus oligosporus เทมเป้ จึงจัดเป็นอาหารหมักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมด้วยโปรตีน ไขมัน ใยอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ การศึกษาในครั้งนี้จึงมีความสนใจที่จะนำเทมเป้มาพัฒนาสูตรอาหารเพื่อสุขภาพ โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ตำรับน้ำพริกจากเทมเป้ถั่ว 5 สี จาก ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ และถั่วขาว ผลการศึกษาพบว่า ตำรับน้ำพริกสูตรที่ทดแทนเทมเป้ถั่ว 5 สี ที่ปริมาณ 100 กรัม ให้ปริมาณคาร์โบไฮเดรต ใยอาหาร และวิตามิน บี 12 สูงที่สุด คือ 45.51 กรัม, 4.61 กรัม และ 0.37 ไมโครกรัม ตามลำดับ ในขณะที่มีปริมาณไขมันที่ต่ำที่สุด คือ 6.37 กรัม ได้รับคะแนนความชอบโดยรวม แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) แสดงให้เห็นว่าสูตรน้ำพริกสูตรทดแทนเทมเป้ถั่ว 5 สีน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้บริโภคที่รักสุขภาพ

References

กฤติกา บูรณโชคไพศาล. (2555). การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเส้นจากแป้งถั่วเขียวเพาะงอก. ราชภัฎเพชรบูรณ์สาร, 15(2), 9-15.

นภา โล่ทอง. (2535). กล้าเชื้ออาหารหมักและเทคโนโลยีการผลิต. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจุลชีววิทยาคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จํากัด. (2565), กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3333. สืบค้น 3 กันยายน 2565, เข้าถึงได้จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/Plant-Basez3333.aspx.

บุศรินทร์ จงเจริญยานนท์. (2559). คุณสมบัติเชิงหน้าที่ของ ถั่วขาวและการประยุกต์แป้งถั่วขาวในผลิตภัณฑ์ขนมอบ. วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม. ;11(1):1-12.

พรดรัล จุลกัลป์ และธนพล กิจพจน์. (2556). การผลิตเทมเป้ถั่วเหลืองด้วยผลกล้าเชื้อ Rhizopus oligosporus TISTR 3098 ในระดับห้องปฏิบัติการ. Rajabhat. J. SCi. Humanit. Soc. SCi. 14(1), 32-41.

พรดรัล จุลกัลป์ และปิยาภรณ์ เชื่อมชัยตระกูล. (2017). การผลิตเทมเป้ถั่วเหลืองด้วยผงเชื้อ RHIZOPUS OLIGOSPORUS TISTR 3089 ในระดับครัวเรือนและการนำไปใช้ทดแทนเนื้อสัตว์ในผงปรุงรส. Rajabhat J. Sci. Humanit. Soc. Sci. 18(1): 201-208.

เพ็ญขวัญ ชมปรีดา. (2536). การประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส. ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์. คณะอุตสาหกรรมเกษตร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพมหานคร.

ไพโรจน์ วิริยจารี. (2545). การประเมินทางประสาทสัมผัส (Sensory Evaluation). พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่ : คณะ อุตสาหกรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มาฤดี ผ่องพิพัฒน์พงศ์, อำนาจ คูตะคุ, ดวงจันทร์ เฮงสวัสดิ์, กรุณา วงษ์กระจ่าง, ชมดาว สิกขะมณฑล. (2556). การผลิตอาหารเพื่อสุขภาพจากถั่ว 5 สีสำหรับผู้สูงวัยด้วยกรรมวิธีเอ็กซ์ทรูชัน. การประชุมวิชาการ สมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ระดับชาติ ครั้งที่ 14 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 6; มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี.

วราวุฒิ ครูส่ง และรุ่งนภา พงสวัสดิ์มานิต. (2532). เทคโนโลยีการหมักในอุตสาหกรรม. โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์, กรุงเทพฯ.

สิริมนต์ ชายเกตุ, ศาลินา วงษ์ไทย, อรุษา เชาวนลิขิต, อุลิสาณ์ พาชีครีพาพล, ชาติรส การะเวก, และสมชาย สุริยะศิริบุตร. (2010). การบริโภคน้ำพริกของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร (CHILLI PASTE CONSUMPTION AMONG CONSUMERS IN BANGKOK METROPOLITAN). Journal of Srinakharinwirot University (Journal of Science and Technology), 2(3), 64-79.

สุจินดา สุวรรณกิจ (2534). การผลิตถั่วเหลืองหมักถั่วลิสงค์ ระดับอุตสาหกรรมในครัวเรือน. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Cempaka, L., Eliza, N., Ardiansyah, A., Handoko, D.D., & Astuti, R.M. (2018). Proximate Composition, Total Phenolic Content, and Sensory Analysis of Rice Bran Tempeh. Makara Journal of Science, 22(2), 89-94.

Chen, K.I., Erh, M.H., Su, N.W. & Cheng, K.C. (2012). Soy foods and soybean products : from traditional use to modern applications. Appl Microbiol Biotechnol, 96, 9-22.

Hexa Research. (2019). Tempeh Market Size and Forecast, By Product Type (Conventional, Organic), By Distribution Channel (Offline, Online), By Region (North America, Europe, Asia Pacific, Rest of the World) And Trend Analysis, 2019 – 2025. Retrieved September 3, 2022, from https://www.hexaresearch.com.

Iqbal, A., Khalil, I. A., Ateeq, N. & Muhammad Sayyar Khan (2006). Nutritional quality of important food legumes. Food Chemistry, 97(2), 331-335.

Ogawa, Y., Tokumasu, S. & Tubaki, K. (2004). An original habitat of tempeh molds. Mycoscience, 45(4), 45, 271-276.

Okada, Noriyuki, Ratna Siri Hadioetomo, & Sayuki Niekuni.. (1983). Vitamin B12 content of fermented foods in the tropics. Report of National Food Research Institute, 43, 126-129.

Seng, K. (1998). Development of Tempeh Based Snack Food. Retrieved April 13, 2022, from http://www.nre.vic.gov.au/TRADE/ ASIAVEG/nlaf_02.

Srapinkornburee, W., Tassanaudom, U. & Nipornram, S. (2009). “Commercial development of red kidney bean tempeh.” Asian journal of Food and Agrolndustry. 2(3), 362-372.

Salvador Tranche, Carlos Brotons, Beatriz Pascual de la Pisa, Ramón Macías, Eduardo Hevia, & Mercè Marzo-Castillejo (2016).Impact of a soy drink on climacteric symptoms: an open-label, crossover, randomized clinical trial. Gynecological Endocrinology, 32(6), 477-482.

Shurtleff, W., and Aoyagi, A. (1979). The Book of Tempeh. Soyinfo Center. Retrieved April 13, 2022, from https://books.google.co.th.

William Shurtleff, Akiko Aoyagi. (1979). The Book of Tempeh. Soyinfo Center. Retrieved from https://books.google.co.th.

Yao, Y., Zhu, Y., & Guixing. R. (2014). Mung bean protein increase plasma cholesterol by up-regulation of Hepatic HMG-CoA Reductase, and CYP7A1 in mRNA level. Journal of Food and Nutrition Research, 2(11), 770-775.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-24