กกลยุทธ์เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารเพื่อสุขภาพของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • นิลุบล ประเคนภัทรา วิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • Puri Chunkajorn วิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

กลยุทธ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงอาหาร, การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารเพื่อสุขภาพของประเทศไทย เพื่อสร้างกิจกรรมร่วมระหว่างการท่องเที่ยวเชิงอาหารเพื่อสุขภาพ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า แนวทางของกลยุทธ์ ประกอบด้วย 4 แนวทาง ได้แก่ 1) ด้านกลยุทธ์เชิงรุก ได้แก่ การส่งเสริมการผลิตสินค้าอาหารเพื่อสุขภาพ การส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารในพื้นที่ที่ส่งเสริมสุขภาพ การยกระดับเทศกาลประเพณีอาหารในท้องถิ่น เพื่อนำเสนอการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 2) ด้านกลยุทธ์เชิงป้องกัน ได้แก่ การพัฒนากระบวนการให้บริการของสถานที่ให้บริการอาหาร การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง การส่งเสริมการผลิตสินค้าอาหารและการท่องเที่ยวเชิงเกษตร การยกระดับเทศกาลประเพณีอาหารการจัดตั้งศูนย์บริการนักท่องเที่ยวที่มีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวเชิงอาหารประจำจังหวัด 3) ด้านกลยุทธ์เชิงแก้ไข ได้แก่ การพัฒนาสนับสนุนโครงการประชาสัมพันธ์ การเสริมสร้างพัฒนาทักษะการให้บริการแก่บุคลากรและประชาชนในพื้นที่ การสร้างโมเดลกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารสุขภาพ 4) ด้านกลยุทธ์เชิงรับ ได้แก่ การจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารสุขภาพโดยส่งเสริมด้านการตลาดบริการ การจัดทำปฏิทินเทศกาลอาหาร การจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าอาหารสุขภาพชุมชน ซึ่งการวิเคราะห์ดังกล่าวจะทำให้เห็นความแตกต่างของความต้องการจากกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีวัตถุประสงค์  ในการท่องเที่ยวเชิงอาหารสุขภาพที่แตกต่างกัน หลังจากนั้นจะเป็นการวิเคราะห์กระบวนการคิดเชิงออกแบบ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูล ตามขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ นำไปใช้ในการกำหนดรูปแบบของการจัดกิจกรรมร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

Atiwethin, T. (2000). Consumerism culture and healthy food in the context of urban society. Chulalongkorn University. Retrieved from https://www.grad.chula.ac.th/download/

e-articles/food.pdf

Chaiyasain, C. (2019). Health Tourism and Innovation in the Development of Healthy Cuisine for Hotel in Phuket. Veridian E-Journal, 12(5), 262-282. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/151434/150285

Chang, W. (2011). A Taste of Tourism: Visitors' Motivations to Attend a Food Festival. Event Management, 15(2), 151-161.

Chimbanrai, H. (2015). Potential of Local Food and Guidelines for Tourism Promotion through local food of Nan Province. Journal of International and Thai Tourism, 11, 37 – 53.

Hall, C. M. and Sharples, L. (2003), The consumption of experiences or the experience of

Consumption. Retrieved February 25, 2019 from https://www.taylorfrancis.com/

books/e/9780080477862/chapters/10.4324/9780080477862-9

Kunakornbodin, K. (2006). Potential and readiness of local restaurants to serve tourists in

Chiang Rai Province. Office of the Science Promotion Commission Research and

innovation. Retrieved from https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/

dc:81052.

Naksawat, N. (2019). Strategic plan for sustainable integrated creative southern food tourism development in Suratthani, Thailand. Sisaket Rajabhat University Journal, 13(1), 17 - 28.

Punturee, P. (2015). Tourist Experience: The Creation of Food Tourism Activities in Thailand.

Journal of southern technology, 8(2), 27 - 37.

Tourism Authority of Thailand. (2008). Medical tourism in Thailand. Retrieved 25 February 2019. From www.elfhs.ssru.ac.th/phanitthat_pu/mod/resource/view.php

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-24