การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วน ตำบลสาริกา อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, ประชาชน, การพัฒนาชุมชนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน 2) ศึกษาความสัมพันธ์การมีส่วนร่วม หลักอปริหานิยธรรม 7 กับประชาชนในการพัฒนาชุมชน 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสาริกา คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของ ทาโร่ ยามาเน่ ได้จำนวน 382 คน การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ การสัมภาษณ์เชิงลึกการให้ข้อมูลสำคัญ การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
วิเคราะห์เนื้อหา พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ความสัมพันธ์การมีส่วนร่วม หลักอปริหานิยธรรม 7 กับประชาชนในการพัฒนาชุมชน ทุกด้านมีความสัมพันธ์ระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.01 ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน เกิดจากประชาชนบางกลุ่มไม่มีความรับผิดชอบขาดเทคโนโลยีใหม่ๆเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนการประชุมประชาคมหมู่บ้านที่ดีต่อการประชุม และข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนา ควรที่จะมีระบบให้ทุกชุมชนมีการปรึกษาในการพัฒนา ให้ผู้นำชุมชนมีการปรึกษาในเรื่องของการพัฒนาชุมชนเพื่อเดินหน้าไปพร้อม ๆ กัน
References
ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์.(2553.) การมีส่วนร่วมของประชาชน, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ธัญญลักษณ์ สาวันดี. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธขององค์การบริหารส่วนตำบลเพ จังหวัดระยอง (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์), พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย.
พรนภา จิวาลักษณ์. (2557). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริการสาธารณะด้านโครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว
(วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์), ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
พระธวัชชัย สนฺติธมฺโม (วรรณนาวิน). (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในเขตเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์), พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย.
ภูดิศ ยศชัย. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ในการ
ช่วยเหลือกิจการตำรวจของสถานีตำรวจภูธรเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน (วิทยานิพนธ์
ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์), พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย.
ศิรินรักษ์ สังสหชา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหาร ส่วนตำบลบึงกอก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์), พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย.
สามารถ ยิ่งกำแหง. (2553). แนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของชาวบ้านหินหล่อง ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา(วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา), นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
ปัญญา ลอดเกิด. (2557). การประเมินมาตรฐานการบริหารด้านโครงสร้างพื้นฐาน องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งฝาย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง, (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท), ลำบาง: มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
Cohen John M. el at. (1980). Participation’s Place in Rural Development,Seeking Clarity Through Specificity, World Development.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น