การจัดกิจกรรมด้านสุขภาพอนามัยของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลแพงพวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • พระครูนิวิฐธรรมาภรณ์ (นิวัฒน์ อตฺตคุตฺโต) วัดท่าเรือ

คำสำคัญ:

การจัดกิจกรรมด้านสุขภาพอนามัย, หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เพื่อศึกษาการจัดกิจกรรม เปรียบเทียบความคิดเห็น ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมด้านสุขภาพอนามัยของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลแพงพวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากประชาชนในตำบลแพงพวย จำนวน 383 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 รูปหรือคน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า การจัดกิจกรรม ภาพรวม อยู่ในระดับมาก เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ เป็นปัจจัยส่วนบุคคลที่ทำให้เกิดความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ปัญหาอุปสรรค คือ พระภิกษุและผู้ที่ทำหน้าที่อบรมประชาชนไม่ได้รับการรับรองจากราชการ ดังนั้น ควรสนับสนุนให้พระภิกษุและผู้ที่ทำหน้าที่อบรมประชาชนได้รับการรับรองจากราชการและคณะสงฆ์ และอุปสรรคจากโคโรนาไวรัส 2019 ดังนั้น ควรดำเนินการกิจกรรมอบรมประชาชนในระบบออนไลน์

References

กัลยา มั่นล้วน และคณะ. (2561). พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองโพรง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ (รายงานการวิจัย). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

ขวัญดาว กล่ำรัตน์. (2555). ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาและการแนะแนว). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ฉัตรชัย บุษบงค์. (2543). การนำเสนอระบบฝึกอบรมสำหรับหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลของคณะสงฆ์หนเหนือในความอุปถัมภ์ของกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโสตทัศนศึกษา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรงค์ศักดิ์ โพธิ์อ่อง. (2543). การนำเสนอระบบฝึกอบรมสำหรับหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลของคณะสงฆ์หนกลางในความอุปถัมภ์ของกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโสตทัศนศึกษา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

พระครูนิวิฐสุภาจารคุณ (กิตติศักดิ์ เสนาวะนา). (2554). บทบาทพระสงฆ์และการพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมหน่วยอบรมประชาชน: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลแม่สาย หมู่ที่ 8 ตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

พระครูอาทรวชิรกิจ (มานะ ฐานิสฺสโร). (2561). การพัฒนาการจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลในจังหวัดกำแพงเพชร (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระณัฐพงษ์ สิริสุวณฺโณ และคณะ. (2562). การจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของชมรมผู้สูงอายุ หมู่ที่ 5 ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(8), 3,788-3,804.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2542). มองสันติภาพโลกผ่านภูมิหลังอารยธรรมโลกาภิวัตน์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ บริษัทสหธรรมิก จำกัด.

พระมหาอยู่ นางจันทร์. (2550). บทบาทในการพัฒนาชุมชนของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พิสิฐ เจริญสุข. (2541). การปฏิบัติงานของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา.

พุทธทาส (เงื้อม อินฺทปญฺโญ). (2542). บางแง่มุมของกามในทัศนะพุทธทาสภิกขุ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.

วัชพลประสิทธิ์ ก้อนแก้ว. (2557). พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมืองชลบุรี (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-02

How to Cite