ภาวนาธรรม: หลักธรรมสำหรับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงาน

ผู้แต่ง

  • นัฐพล บุญสอน สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

คำสำคัญ:

หลักพุทธธรรม, หลักภาวนา 4, คุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

หลักพุทธธรรมกับผู้ที่นับถือศาสนาพุทธนั้น เป็นของคู่กันมาโดยตลอด กิจกรรมใด ๆ ที่ชาวพุทธทั้งในประเทศไทยหรือแม้แต่ชาวพุทธทั่วโลกจัดขึ้นหรือเข้าไปมีส่วนร่วม มักสอดแทรกหลักพุทธธรรมเข้ากับกิจกรรมนั้น ๆ เพื่อเป็นคติสอนใจเสมอ ไม่เว้นแม้แต่ชีวิตการทำงานของพวกเราชาวพุทธทุกคน คนทำงานส่วนใหญ่มักจะนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อให้งานที่ทำหรือภารกิจที่ตนเองรับผิดชอบนั้น ประสบผลสำเร็จลุล่วงด้วยดีและบรรลุตามเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งหลักพุทธธรรมที่มักนำมาประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานนั้น คือ หลักภาวนาธรรมหรือภาวนา 4 เพราะเป็นหลักธรรมที่มีเป้าหมายเพื่อ 1) พัฒนากายให้สมบูรณ์ เช่น การมีบุคลิกภาพที่ดี 2) พัฒนาความประพฤติให้ดีงาม เช่น การตั้งอยู่ในระเบียบวินัย อยู่ในศีลในธรรม 3) พัฒนาจิตใจให้เจริญงอกงามด้วยคุณธรรมทั้งหลาย เช่น มีความขยันหมั่นเพียร มีสมาธิ4) พัฒนาปัญญาให้เป็นผู้รู้รอบ รู้จริง รู้เท่าทันโลก และแปรความรู้ให้เป็นปัญญาในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ซึ่งเมื่อทำได้ทั้ง 4 ด้าน จะทำให้มีสุขภาพจิตและสุขภาพกายแข็งแรง มีความพร้อมในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติงานในหน้าที่หรือภารกิจที่ตนเองรับผิดชอบได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้งานที่ตนเองรับผิดชอบประสบผลสำเร็จและมีคุณภาพตามเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้ได้

References

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2530). ตัวแปรด้านพฤติกรรมศาสตร์ที่สำคัญในการพัฒนาองค์การ: ศึกษากรณี ข้าราชการในสังกัดกรมส่งเสริมการเกษตร เอกสารการสอนชุดวิชาการพัฒนาองค์การหน่วยที่ 4 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทุบรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เทเวศน์ พิริยะพฤนท์ และคณะ. (2542). บทนำคุณภาพชีวิต. สืบค้น 17 กุมภาพันธ์ 2565, http://www2.swu.ac.th/royal/book6/index.html

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์, (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 34). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธรรมสภา.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. สืบค้น 17 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://dictionary.orst.go.th

อัจฉรา นวจินดา,ขจีจรัส ภิรมย์ธรรมศิริ. (2532). ความสัมพันธ์ระหว่างความจำเป็นพื้นฐานภาวะทางคหกรรมศาสตร์และคุณภาพชีวิต.กรุงเทพฯ:คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Davis, K.. (1977). Human behavior at work. New York: McGraw – Hill.

Dubrin A. T. (1981). Human Relation: A Job Oriented Approach. Verginia: Reston Publishing.

Froibe, D.M. & J.R. Bain. (1976). Quality Assurance Programs and Control in Nursing. Statements: The C.V. Mosby Co.

Guest, R. H., (1976). Quality of work life: learning from Terry Town. Harvard Business Review.

Huse, E.F., & Cummings, T.G. (1985). Organizational Development and Change. St. Paul, Minn: West.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-02

How to Cite