อภิธรรมปริทรรศน์ : แสงทองแห่งธรรม
คำสำคัญ:
อภิธรรม, ปรมัตถธรรม, พุทธศาสนา : ศาสนาแห่งวิทยาศาสตร์บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เห็นความสำคัญของการศึกษาพระอภิธรรม พระอภิธรรมเป็นหลักธรรมที่แสดงปรมัตถธรรม อันเป็นความจริง 4 ประการ ได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน พระพุทธองค์ทรงวางแนวการปฏิบัติและนำหลักธรรมเพื่อสั่งสอน ให้สรรพสัตว์ได้รู้ถึงสัจจะ ความจริงที่ทรงรู้แจ้งชัดด้วยพุทธปัญญา การปฏิบัติด้วยหลักสติปัฏฐาน 4 ผู้ปฏิบัติตามจะถึงซึ่งอริยะบุคคล การเจริญสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐานเพื่อนำออกจากวัฏสงสาร อันเป็นวัฏฏจักรแห่งความทุกข์อันไม่สิ้นสุด อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ได้กล่าวถึง ทฤษฎีควันตัมซึ่ง เป็นหลักวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์และอธิบาย ถึงการเปลี่ยนแปลง สสาร พลังงาน และความไม่แน่นอนในจักรวาล และกล่าวว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งวิทยาศาสตร์ เป็นศาสนาแห่งจักรวาล โดยเปรียบเทียบได้ทั้งจากหลักฟิสิกส์ หลักชีวะวิทยาและควันตัมฟิสิกส์ อภิธรรมเป็นหลักธรรมหนึ่งในพระไตรปิฎกที่เป็นแสงแห่งธรรม เป็นหลักคำสอนถึงวงจรแห่งการเกิดสังสารวัฏแห่งทุกข์ และวิธีแห่งการดับทุกข์ เป็นจุดเริ่มแห่งหนทางสู่ปัญญา พระอภิธรรมเป็นวิชามีเนื้อหาที่เป็นแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา เพื่อให้เข้าใจในเรื่องธรรมชาติของชีวิต เรื่องการปฏิบัติเพื่อให้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด สู่พระนิพพานอันเป็นจุดสูงสุดในพุทธศาสนา
References
กีรติ บุญเจือ. (2522). สารานุกรมปรัชญา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
จำรูญ ธรรมดา. (2565). อภิธรรมปริทรรศน์. กรุงเทพฯ: อภิธรรมโชติกวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
ฉลอง พันธุ์จันทร์และคณะ. (2564). วิเคราะห์ทฤษฎีปรมาณูนิยมในทรรศนะของพุทธปรัชญา. มจร.เลย ปริทัศน์, 2(1), 87-98.
ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์. (2547) ญาณวิทยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พระมหาโสภณ วิจิตฺตธมฺโม และพระมหาณรงค์ศักดิ์ ฐิติญาโณ. (2558). การศึกษาวิเคราะห์การตีความพระอภิธรรม ของพระเถระในพระพุทธศาสนา. มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 1(1), 45-58.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุดคำวัด. กรุงเทพฯ: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2558). พระพุทธศาสนากับทฤษฎีควอนตัม: ความเหมือนที่แตกต่าง. สืบค้น 27 มีนาคม 2565 จาก, https://www.mcu.ac.th/article/detail/14310
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2554). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
ฟื้น ดอกบัว. (2555). ปวงปรัชญาอินเดีย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม.
มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฏกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2534). พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล. ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2552). การโค้ชเพื่อการรู้คิด (Cognitive Coaching). กรุงเทพฯ : จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
K-cyber. (2016). สมาธิกับหลักฐานทางวิทยาศาสตร์. Science. (August5, 2016 ): Retrieved March 20, 2022, from https://dhammakayasite.wordpress.com/2016/08/05/first-blog-post/.
Nithee Siripat. (2016). Get started Your Mental Development with Temperance. Retrieved March 21, 2022, from www.Siripat.com and Academiae Network. Reading Number 002226.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น