การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของบุคลากรในองค์กร
คำสำคัญ:
อิทธิบาท 4, พัฒนาประสิทธิภาพ, บุคลากรบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษาการนำหลักธรรมอิทธิบาท 4 มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์กร โดยมุ่งเน้นพัฒนาจากพฤติกรรมความต้องการและแรงจูงใจของบุคลากรในองค์กร ในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานและกลุ่มผู้บริหาร ซึ่งพบว่าระดับความต้องการความมั่นคงในหน้าที่และรายได้ส่งผลต่อการปฏิบัติงานในกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน ความต้องการความก้าวหน้าหรือการได้รับตำแหน่งที่สูงขึ้น ส่งผลความมุ่งมั่นต่อในองค์กร มีผลต่อการปฏิบัติงานของกลุ่มผู้บริหาร ความต้องการของบุคคลากรในแต่ละกลุ่มความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานสูง ดังนั้นการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานจึงมีผลต่อการปฏิบัติงานของบุคคลากร ในการพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคคลกรในองค์กรนอกจากจะทราบถึงความต้องการและแรงจูงใจของบุคคลากรแล้ว การวางแนวทางพัฒนาประสิทธิภาพของบุคลากรโดยการนำหลักธรรมอิทธิบาท 4 มาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานจึงมีความสำคัญอีกด้านหนึ่งที่ควรนำมาใช้ในการพัฒนาประสิทธิของบุคคลากรในองค์กร หลักอิทธิบาท 4 ได้แก่ 1) ฉันทะ 2) วิริยะ 3) จิตตะ 4) วิมังสา โดยสรุปแนวทางการพัฒนาแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือ แนวทางสำหรับผู้ปฏิบัติงาน และแนวทางสำหรับผู้บริหาร สามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคคลากรและองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
References
ขวัญชนก ธิรัตน. (2563). แนวการบริหารจัดการคุณภาพทั่วทั้งองคกรตามเกณฑคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 17(1), 225-234.
ธีรพงษ์ บุญรักษา และนวพันธ์ วอกลาง. (2559). แนวทางการบริหารองค์การด้วยหลักธรรม.วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 11(พิเศษ), 4-20
ปิ่นมณี ขวัญเมือง. (2557). หลักอิทธิบาท 4 : เส้นทางสู่ความสำเร็จ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 13(3), 1-7.
แพรววิไล จันทร์บุญ และกล้าหาญ ณ น่าน. (2564). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการ กรณีศึกษา : สำนักงานอัยการสูงสุด. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 7(2), 9-17.
Louis, A. (2022). Organization Change bottom line Layout. Retrieved April 9, 2022, from http://louisallenworldwide.com/services/management-and-leadership.php
Maslow, H. A. (1987). Motivation and Personality. (3rd ed). New York: Longman Inc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น