การพัฒนาพื้นที่แก้มลิง

ผู้แต่ง

  • มลธิดา อุบลรัตน์ บริษัท ชัยเจริญไมตรี จำกัด

คำสำคัญ:

พื้นที่แก้มลิง, กรมชลประทาน, การบริหารจัดการน้ำ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาและพิจารณาการพัฒนาพื้นที่แก้มลิงของกรมชลประทาน ในมิติต่าง ๆ อันได้แก่ ขนาดของแก้มลิงที่เหมาะสม การปรับโครงสร้างขององค์กรและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การดำเนินการทางด้านวิศวกรรม ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำชลประทานในระดับพื้นที่ ซึ่งการนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในการวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ จะก่อให้เกิดองค์ความรู้ต่อการรองรับและเก็บกักน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการการใช้น้ำ รวมถึง การพัฒนาพื้นที่แก้มลิงของกรมชลประทานในอนาคตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและสอดรับกับภารกิจตามยุทธศาสตร์ของกรมชลประทานอย่างยั่งยืน  โดยผลจากการศึกษาในครั้งนี้ กรมชลประทานสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชลประทานของประเทศให้เกิดความสมดุลต่อไป

สรุปได้ว่า การพัฒนาพื้นที่แก้มลิงจะดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบน เพื่อให้น้ำไหลลงคลองพักน้ำที่ชายทะเล จากนั้นเมื่อระดับน้ำทะเลลดลงจนต่ำกว่าน้ำในคลอง น้ำในคลองจะไหลลงสู่ทะเลตามธรรมชาติ ต่อจากนั้นจะเริ่มสูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่แก้มลิง เพื่อทำให้น้ำตอนบนค่อยๆ ไหลมาเอง จึงทำให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง จนในที่สุดเมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับในคลอง จึงปิดประตูระบายน้ำ โดยให้น้ำไหลลงทางเดียว

References

กรมชลประทาน. (2560). ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579). สืบค้น 17 มีนาคม 2564, จาก https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2017/20171121-rid-thailand-4.pdf

กรมชลประทาน. (2564). รายงานประจำปี 2562. สืบค้น 17 มีนาคม 2564, จาก www.rid.go.th.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร). (2565). โครงการแก้มลิง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ. สืบค้น 29 เมษายน 2565, จากhttp://km.rdpb.go.th/Knowledge/View/28

กลุ่มงานตรวจสอบและติดตามผลงาน กองแผนงาน กรมชลประทาน. (2553). รายงานการวิเคราะห์โครงการแก้มลิง กรมชลประทานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553. สืบค้น 29 เมษายน 2565, จาก https://www.rid.go.th/main/_data/docs/stat53.pdf

กลุ่มพัฒนาระบบงานและอัตรากำลัง สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล. (2558). แนวทางปฏิบัติตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. สืบค้น 29 เมษายน 2565, http://www11.rid.go.th/rid11/img_presscenter/presscenter903.pdf

ทรงเกียรติ ม้าอุตส่าห์. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ในเขตอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ธงชัย สันติวงษ์. (2537). ทฤษฎีองค์การและการออกแบบ. กรุงเทพฯ :ไทยวัฒนาพานิช.

นันทวัชร์ คมขำ และคณะ. (2562). การใช้แบบจำลองเพื่อศึกษาการใช้พื้นที่ชะลอน้าในการลดพื้นที่น้าท่วมบริเวณลุ่มน้าเจ้าพระยาตอนล่าง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 21(1), 37-49.

ปรียาพร โกษา. (2559). การพัฒนาพื้นที่แก้มลิง. (รายงานผลวิจัย). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

พูนรัตน์ กัปตัน. (2552). ประสิทธิผลการให้บริการสาธารณะของข้าราชการสำนักงานสรรพสามิต: กรณีศึกษา สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี สาขาตระการพืชผล (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

มยุรี วรรณสกุลเจริญ และชาญณรงค์ รัตนพนากุล. (2563). ประสิทธิผลขององค์การ. วารสารศิลปการจัดการ, 4(1),193-204

วราภรณ์ เล้ารัตนานุรักษ์. (2542). การพยากรณ์ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ของกรมชลประทาน (วิทยานิพนธ์สถิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถิติ). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศูนย์ความรู้กลาง กรมชลประทาน. (2564). การบริหารจัดการน้ำแบบผสมผสาน. สืบค้น 17 มีนาคม 2564, จากhttp://kmcenter.rid.go.th/kmc08/km_53/book/man_water.pdf.

ศุภชัย กระธรรมะ. (2558). การศึกษานโยบายของรัฐเรื่องการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ. (การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการสาธารณะ สำหรับนักบริหาร). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Etzioni, Amitai. (1964). Modern Organization. New Jersey: Prentice – Hall

Gibson, el. at.. (2003). Organization : Behavior, Structure, Processes (11th ed.). New York: McGraw - Hill

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-02

How to Cite