หลักพละ 4 : สำหรับการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรในองค์กร

ผู้แต่ง

  • ชญณา ศิริภิรมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

หลักธรรม, สมรรถนะ, การปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

สำหรับการบูรณาการหลักธรรมที่นำมาเสริมสร้างสมรรถนะของบุคลากรในองค์กร หรือบุคลากรเพื่อประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานนั้น ได้นำหลักพละ 4 อันประกอบไปด้วย หลักปัญญาพละ หลักวิริยะ พละ หลักอนวัชชพละ และหลักสังคหพละ มาบูรณาการกับหลักสมรรถนะตามหลักสากล คือ ความรู้ ทักษะ และความสามารถ ซึ่งด้านปัญญา บุคลการต้องเป็นผู้มีความรู้ในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นผู้รู้แจ้ง รู้ลึก รู้รอบ ต้องมีปัญญาเป็นหลักในการสังเคราะห์ความรู้ที่ มีความวิริยะ อุตสาหะ และประกอบด้วยความซื่อสัตย์สุจริตในการปฏิบัติงาน มีไมตรีจิตต่อเพื่อนร่วมงาน ด้านทักษะ  เป็นความสามารถเฉพาะสายงาน เป็นความชำนาญนี้มีผลเนื่องมาจากปัญญาที่ได้เรียนรู้ ฝึกอบรม และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้านความสามารถ เป็นผู้มีความสามารถทางด้านความคิด ทัศนคติที่ดี และความต้องการส่วนบุคคล หากบุคคลมีลักษณะในด้านบวกเฉพาะตนได้บูรณาการหลักธรรมมาประยุกต์ในการทำงานจะทำให้บุคคลนั้นเป็นผู้มีความรู้คู่คุณธรรมแล้ว ย่อมนำองค์กรไปสู่เป้าหมายอย่างแน่นอน

References

คนึงนิจ อนุโรจน์. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะของนักพัฒนา ทรัพยากรมนุษยกองทัพอากาศ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ฉันทนา จันทร์บรรจง. (2543) การศึกษาวิจัยการพัฒนาทางสังคมของกลุ่มชนพื้นเมืองเชื้อสายไทย-ลาว ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่แถบพื้นที่ชายขอบประเทศไทย ในจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดเลย (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

ชัชรินทร์ ชวนวัน. (2554). การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาตามหลักการสมรรถนะ. สืบค้น 19กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://school.obec.go.th/supbr3/com11.pdf

ดำรงค์ ชลสุข. (2552). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา บรรยากาศโรงเรียนคุณภาพของครู และความเกี่ยวข้องของผู้ปกครองในการศึกษาของเด็ก ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางด้านจริยธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพฯ (วิทยานิพนธ์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

นพพงษ์ บุญจิตราดุล. (2557). หลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : ตีรณสาร.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺจิตฺโต).(2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสมควร ศรีสงคราม. (2550). การศึกษาความสมพันธ์ระหว่างสัปปุริสธรรมและพละธรรมกับการปฏิบัติงานของผู้นำสถานศึกษากลุ่มเขตกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการบริหารการศึกษา.

พลสัณห์ โพธิ์ศรีทอง. (2559). การบริหารทรัพยากรบุคคลและการบริหารงานบุคคล. สืบค้น 19กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://www.otepc.go.th/otepc09/files/article/article7.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิมาน วรรณคำ.(2553). การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สมชาติ กิจยรรยง. (2540). Walk rally: เกมและกิจกรรมเพื่อพัฒนาคนและองค์กร. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สุขภาพจิต/ศาสนา. (2564). พละ 4 ประการ. สืบค้น 9 มีนาคม 2564. จาก https://thaihealthlife.com/พละ 4 ประการ.

เอนกลาภ สุทธินันท์. (2548). แนวทางการนําสมรรถนะทั้ง 5 ไปเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานอย่างได้ผล. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

Richard, E. B. (2008). Competencies in the 21st century. Journal of Management Development, 27(1), 5-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-24

How to Cite