การศึกษาสภาพปัญหาการทำงานและความคุ้มครองทางสังคม ของผู้ประกอบอาชีพลูกจ้างแม่บ้าน

ผู้แต่ง

  • กนกกุล เพชรอุทัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • ปุณยวีร์ หนูประกอบ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

สภาพปัญหาการทำงาน, ความคุ้มครองทางสังคม, ลูกจ้างแม่บ้าน

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้เป็นบทความวิชาการผู้เขียนมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการทำงานของผู้ประกอบอาชีพลูกจ้างแม่บ้านซึ่งเป็นแรงงานนอกระบบที่ได้รับผลกระทบจากความเหลื่อมล้ำในระบบสังคมไทยเรื่องการให้สวัสดิการหรือการคุ้มครองทางสังคมอาชีพนี้ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะยังมีความไม่เป็นธรรมในเรื่องของสภาพปัญหาการทำงาน ค่าตอบแทน สิทธิและสวัสดิการในด้านต่าง ๆ ที่ยังไม่ครอบคลุม จากการศึกษาสภาพปัญหาพบว่าลูกจ้างแม่บ้านบางรายถูกละเมิดสิทธิ และเสรีภาพเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตของการทำงาน เช่น นายจ้างนั้นดูหมิ่นดูแคลนด้วยคำพูดและท่าทาง กิริยา ต่าง ๆ เพียงเพราะกลุ่มคนที่ประกอบอาชีพเหล่านี้ถูกสังคมมองว่าเป็นอาชีพที่ไม่มีเกียรติ อีกทั้งไม่ได้รับความเป็นธรรม และไม่มีโอกาสเข้าถึงสวัสดิการ หรือการคุ้มครองทางสังคม ผู้เขียนจึงศึกษาค้นคว้าเอกสาร งานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่ออธิบายถึงสภาพปัญหาการทำงานของผู้ประกอบอาชีพแม่บ้านรวมถึงข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพแม่บ้านที่คาดหวังให้หน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าใจถึงสภาพการทำงานระหว่างลูกจ้างแม่บ้านและนายจ้าง เรื่องค่าตอบแทน สิทธิ และสวัสดิการ ต่าง ๆ ที่พวกเขาควรจะได้รับอย่างเป็นธรรมเหมือนแรงงานนอกระบบอาชีพอื่น ๆ ในสังคมไทย

References

กนกกุล เพชรอุทัย. (2563). การสร้างตัวตนของผู้ประกอบอาชีพแม่บ้าน : กรณีศึกษาแม่บ้านในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารพัฒนาสังคม, 22(2), 147 –161.

กัญญารัตน์ ทุสาวุธ. (2562). คุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติกรณีศึกษาแรงงานสัญชาติพม่า เขตตำบลมหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

กาฬ เลาหะวิไลย. (2561). คู่มือจ้างแม่บ้านต่างด้าว. สืบค้น 10 มีนาคม 2565. จาก https://bit.ly/2Qu38II.

ฉันทนา เจริญศักดิ์. (2549). แนวทางการให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างหญิงทำงานบ้าน.(สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ตะวัน วรรณรัตน์. (2557). การศึกษาแรงงานนอกระบบในประเทศไทย.วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 34(3), 119-150.

พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533. (2533, 1 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 107 ตอนที่ 161 ก ตอนพิเศษ. หน้า 47.

พระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537. (2537, 30 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 63 ก. หน้า 3 – 15.

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2533. (2533, 16 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 127 ตอนที่ 70 ก. หน้า 1 - 16.

วีระ เภียบ. (2560). ได้ศึกษาเรื่องสถานการณ์และความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชา ในเขตจังหวัดสระแก้ว. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย. สาขามนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2), 189-204.

บุญวรา สุมะโน และ ณัฏฐณิชา เลอฟิลิแบร์ต. (2564). ‘คนทำงานรับใช้ในบ้าน’ สิทธิแรงงานที่ยังไม่เท่าเทียม. สืบค้น 13 เมษายน 2565, จาก https://tdri.or.th/2019/06/domestic-worker/.

ธัญญาลักษณ์ จิโรภาส. (2558). สภาพการทำงานและประสบการณ์การใช้สิทธิประกันสังคมของแรงงานต่างสัญชาติถูกกฎหมายที่ประกอบอาชีพแม่บ้าน (สารนิพนธ์หลักสูตรพัฒนาแรงงานและสวัสดิการมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รัชต์ บุราทร. (2557). อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 189 ว่าด้วยงานที่มีคุณค่าสำหรับคนงานทำงานบ้าน: ศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบทางกฎหมาย ในการที่ประเทศไทยจะให้สัตยาบัน (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ. (ม.ป.ป.). แรงงานนอกระบบคือใคร. สืบค้น 22 มีนาคม 2565, จาก http://gg.gg/orry2.

ศศิภัทรา ศิริวาโทม. (2554). แม่บ้านเฮ! เมื่อได้รับการคุ้มครอง. นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา. สืบค้น 22 มีนาคม 2565, จาก https://bit.ly/3axQ8HU.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2564). ‘คนทำงานรับใช้ในบ้าน’ สิทธิแรงงานที่ยังไม่เท่าเทียม. สืบค้น 22 มีนาคม 2565, จาก https://tdri.or.th/2019/06/domestic-worker/.

สำนักข่าว Positioning Magazine. (2549). แรงงานนอกระบบ : คุณภาพชีวิตที่ยังขาดหาย. สืบค้น 22 มีนาคม 2565, จาก https://positioningmag.com/28723.

สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว. (2559). กฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว. สืบค้น 22 มีนาคม 2565, จาก จาก https://bit.ly/3cCXehg.

อังคณา เตชะโกเมนท์. (2558). สืบค้น 22 มีนาคม 2565, จาก จากhttp://ils.labour.go.th/attachments/094_Labour%20Standard.pdf

International Labour Office. Fundamental Rights at Work and International labour Standards. Geneva: International Labour Office, 2003.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-24

How to Cite