นโยบายของพรรคการเมืองที่มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชน จังหวัดสงขลาในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562

ผู้แต่ง

  • พระครูรัตนสุตากร (ปราโมทย์ จนฺทโชโต) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ยุทธนา ปราณีต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรพล สุยะพรหม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

นโยบายของพรรคการเมือง, การตัดสินใจ, การเลือกตั้งทั่วไป

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์สภาพทั่วไปของการเสนอนโยบายของพรรคการเมือง 2) ศึกษาองค์ประกอบของการกำหนดนโยบายของพรรคการเมือง และ 3) เพื่อนำเสนอหลักพุทธธรรมในการพัฒนาการจัดทำนโยบายของพรรคการเมืองที่มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนจังหวัดสงขลาในการเลือกตั้งทั่วไป  เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ จำนวน 18 รูปหรือคน และการวิจัยเชิงปริมาณ แจกแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน  

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพทั่วไปของการเสนอนโยบายของพรรคการเมืองในจังหวัดสงขลา จุดแข็ง คือ นโยบายให้มีเบี้ยสวัสดิการผู้สูงอายุ สนับสนุนการการท่องเที่ยว จุดอ่อน คือ ขาดการสนับสนุนให้มีบัตรสวัสดิการอย่างทั่วถึง โอกาส คือ ส่งเสริมให้สวัสดิการต่อผู้เรียน ผ่านสถานศึกษา และอุปสรรค คือ ขาดการส่งเสริมความเข้มแข็งให้ฐานราก 2) องค์ประกอบของการกำหนดนโยบายของพรรคการเมือง พบว่า การตัดสินใจของประชาชนจังหวัดสงขลา โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน และ 3) การพัฒนาการจัดทำนโยบายของพรรคการเมืองที่มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชน ตามหลักอิทธิบาท 4 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลางและมาก เรียงตามลำดับดังนี้ คือ นโยบายพรรคตามหลักวิมังสา หลักจิตตะ หลักวิริยะ หลักฉันทะ

References

ปิยะนุช เหลืองาม. (2552). บรรทัดฐานในการตัดสินใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในการเรียนวิทยาศาสตร์เรื่องภาวะโลกร้อนตามแนวทางการสอนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสังคม (STS) (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ไพบูลย์ สุขเจตนี. (2563). การพัฒนาความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมือง ระดับท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รงค์ บุญสวยขวัญ. (2560) “การเมืองของนโยบาย (Politics of Policy)”. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 8(1), 197-203

รัชฎากร เอี่ยมอำไพ. (2563). รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้งทั่วไป (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิจิตร เกิดน้อย และคณะ. (2563). พฤติกรรมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ในตำบลไทยาวาส อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(2), 129-139.

สุทน ทองเล็ก. (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปของประชาชนจังหวัดสระแก้ว (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ และ สุพัฒน์ วงศ์สุขุมอมร. (2554). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความตั้งใจที่จะไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งครั้งล่าสุด (2554) ของคนไทย. สืบค้น 2 มีนาคม 2560, จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pajournal/article/download/181727/

/.

อิงฟ้า สิงห์น้อย และ รัฐชาติ ทัศนัย. (2560). นโยบายสาธารณะ : การบริหารและจัดการภาครัฐ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(ฉบับพิเศษ), 610-623.

Creswell, J. W. (2003). Advanced Mixed Methods Research Designs. Thousand Oaks, CA: Sage.

Yamane T. (1967). Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harpen and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-24

How to Cite