องค์กรยุคใหม่ในบริบท AI : บูรณาการหลักธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพบุคลากร

ผู้แต่ง

  • อรพิน ตันติวิรุฬห์ นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

องค์กรยุคใหม่, ปัญญาประดิษฐ์, อิทธิบาท 4, ประสิทธิภาพบุคลากร

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การบูรณาการหลักธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพบุคลากรที่ทำงานในองค์กรยุคใหม่ที่นำปัญญาประดิษฐ์ Artificial Intelligence (AI)มาใช้มากขึ้น  ดังนั้น การพัฒนาศักยภาพบุคลากรในองค์กรจึงมีความจำเป็น  องค์กรสมัยใหม่ต้องพัฒนาความสามารถของบุคลากรในด้านต่าง ๆ มนุษย์ถูกควบคุมด้วยการบริหารที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในระบบการจัดการ การพัฒนาระบบทำได้รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น ดังนั้นในอนาคต แน่นอนว่าการจัดการขององค์กรจะต้องลดการจ้างงานลง แต่มนุษย์เหนือกว่าคอมพิวเตอร์ในด้านความคิดสร้างสรรค์ คุณธรรม จิตใจ การพัฒนาความสามารถอย่างไร้ขีดจำกัด องค์กรที่ยั่งยืนต้องวางแผนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด องค์กรไม่สามารถละเลยคุณธรรมอันดีในการรักษาสังคมให้น่าอยู่ด้วย อย่างไรก็ตาม องค์กรยังต้องสร้างบุคลากรให้มีความซื่อสัตย์ ทำงานด้วยความสุข  เหตุนี้การบูรณาการหลักพระพุทธศาสนาในการอบรมบุคลากรขององค์กรจึงมีส่วนช่วยส่งเสริมการทำงานของบุคลากรได้อย่างแท้จริง การบูรณาการหลักธรรมด้วยหลักอิทธิบาท 4 เป็นหนทางที่ช่วยการบริหารที่ดีในองค์กร การสร้างคุณธรรม ความโปร่งใสจะสร้างความมั่นใจ ศรัทธา และยกระดับการทำงานของคนให้มีความทุ่มเทมากขึ้น ดังนั้น การบูรณาการหลักธรรมในการส่งเสริมการปฏิบัติงานของบุคลากรจะทำให้บุคลากรมีความสุขในการทำงานและทำให้เกิดประสิทธิภาพแก่องค์กรด้วย

Author Biography

อรพิน ตันติวิรุฬห์, นักวิชาการอิสระ

ผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครนายก

References

ธนารักษ์ ธีระมั่นคง.(2563). ทักษะมนุษย์ในโลก AI กับ “การศึกษา”ที่ต้อง TRANSFORM. สืบค้น 25 กรกฎาคม 2565, จาก: https://tu.ac.th/thammasat-site-expert-talk-ai-transform-education

ประเสริฐ ธิลาว. (2561). กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธสู่ความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทย. วารสาร มจร สังคมปริทรรศน์. 7(2), 47

พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต). (2554). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่16). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

______. (2549). จะพัฒนาคนกันได้อย่างไร (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภาคภูมิ เอี่ยมจิตกุศล. (2564). เทคโนโลยี AI มีผลกระทบต่อการจ้างงานหรือไม่ และแรงงานต้องเตรียมพร้อมปรับตัวอย่างไร. สืบค้น 25 กรกฎาคม 2565, จากhttps://www.depa.or.th/th/article-view/ai-employment

วีณา พึงวิวัฒน์นิกุล. (2562). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในบริบทอนาคตแรงงานไทยในยุคเทคโนโลยีดิจิตอล. วารสาร มจร พุทธะปัญญาปริทรรศน์, 4(2), 289-293.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.). (2565). ชีวิตในโลกยุคใหม่ และการอยู่ร่วมกับAI อย่างรู้เท่าทัน. สืบค้น 24 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.nstda.or.th.home/news_post/nac2022-new-life-with-ai/

อภิสิทธิ์ หนุนภักดี. (2558). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักอิทธิบาท 4 กรณีศึกษา สำนักราชเลขาธิการ (รายงานการศึกษาส่วนบุคค). กรุงเทพฯ: กระทรวงการต่างประเทศ.

อมรรักษ์ สวนชูผล. (2563). การจัดการองค์กรธุรกิจกับปัญญาประดิษฐ์เพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 10(3), 161-162

Berlin, J., et al. (2017). “Introduction”, Rewriting the Rules for the Digital Age. Deloitte University Press.

Brynjolfsson, E .& McAfee, A. (2012). Race Against the Machine: How the Digital Revolution is Accelerating Innovation, Driving Productivity and Irreversibly Transforming Employment and the Economy. Brynjolfsson and McAfee.

Manu Siddharth Jha. (2021). 15 Proven Facts Why Artificial Intelligence Will Create More Jobs in 2021. [Computer Software]. Retrieve by August, 4 2022, from https://medium.com/hackernoon/15-reasons-why-ai-will-create-more-jobs-than-it-takes-46787c2526d1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-24

How to Cite