การพัฒนาการสื่อสารทางการเมืองเชิงพุทธเพื่อการเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • พิบูลย์ เพียรพานิชกุล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรพล สุยะพรหม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • วัชรินทร์ ชาญศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การสื่อสารทางการเมือง, เชิงพุทธ, การเลือกตั้ง

บทคัดย่อ

บทความนี้นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบททางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองในช่วงการเลือกตั้งที่ส่งผลต่อการสื่อสารทางการเมือง กระบวนการสื่อสารทางการเมือง การประยุกต์หลักพุทธธรรมกับการพัฒนาการสื่อสารทางการเมืองเชิงพุทธเพื่อการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 25 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 10 รูปหรือคน

ผลการวิจัยพบว่า 1. บริบททางด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมือง ในช่วงการเลือกตั้งที่ส่งผลต่อการสื่อสารทางการเมืองเพื่อการเลือกตั้ง ผู้ส่งสาร เนื้อหาสาร ช่องทางการสื่อสาร ผู้รับสาร มีความสำคัญที่แตกต่างกันไป แต่ที่สำคัญมาก คือ ผู้รับสาร 2. กระบวนการสื่อสารทางการเมืองต้องยึดหลักของคุณธรรมจริยธรรม มีวาจาที่สุภาพ พูดจาอ่อนหวาน ไม่พูด เบียดเบียนผู้อื่นมีเจตนาที่จะสื่อสารให้กับประชาชนได้รับรู้มีความคิดเห็นที่ตรงกัน 3. การประยุกต์หลักพุทธธรรมกับการพัฒนาการสื่อสารทางการเมืองเชิงพุทธ เป็นการนำหลักพุทธธรรมมาบูรณาการเข้ากับการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมือง โดยมุ่งเน้นประโยชน์สูงสุดที่จะทำให้วัฒนธรรมทางการเมืองของนักการเมืองที่ต้องการลงสมัครรับเลือกตั้ง ตามระบอบประชาธิปไตย ควรมีความเจริญก้าว หน้าตามหลักธรรม

References

ประชัน รักพงษ์ และ รัชฎา บันเทิงสุข. (2545). รายงานการวิจัยเรื่องกระบวนการเลือกตั้ง และปัจจัยในการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร. กรุงทพฯ: อักษรโสภณ.

พรรณพิลัย จารุพาณิชยกุล. (2553). “การสื่อสารทางการเมืองผ่านบทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์รายวัน ในช่วงวิกฤตทางการเมือง พ.ศ. พ.ศ. 2459 – 2551” (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสื่อสารการเมือง).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.

พระครูวินัยธรสุดใจ ชิตมโน (ฆารประเดิม). (2560).การใช้หลักสาราณียธรรม 6 ในการบริหารโรงเรียน พระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 4(1), 1-12.

สุรพล สุยะพรหม. (2562). “การสื่อสารทางการเมืองของพระเทพปฏิภาณวาที (เจ้าคุณพิพิธ) : ศึกษาในช่วง เวลา พ.ศ. 2540-2560” (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.

Silverman, D. D. (2000). Qualitative Research: A Practical Handbook, London.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-24

How to Cite