ความรับผิดชอบและคุณธรรมที่พึงประสงค์ของผู้นำองค์กรภาครัฐ ตามหลักธรรมาภิบาล

ผู้แต่ง

  • ศิริ รุ่งภัทรเศวต สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)

คำสำคัญ:

หลักธรรมาภิบาล, ความรับผิดชอบ, องค์กรภาครัฐ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มุ่งนำเสนอความรับผิดชอบและคุณธรรมที่พึงประสงค์ของผู้นำองค์กรภาครัฐตามแนวพระพุทธศาสนา โดยการเป็นผู้บริหารที่ดีควรยึดหลักธรรมาภิบาล เป็นการบริหารงานของภาครัฐในทุก ๆ ด้าน โดยชอบธรรม และมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกส่วนของสังคม ซึ่งแนวทางในการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาล ทำให้เกิดการวางกฎข้อบังคับให้ทันสมัย และเป็นธรรมเป็นที่ยอมรับร่วมกัน มีความยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม ซื่อสัตย์ จริงใจ ตลอดจนมีความชอบธรรมในการใช้อำนาจ มีความโปร่งใส การมีส่วนร่วม คือการเปิดโอกาสให้ทุกคนในสังคมมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เราทำทั้งร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไข และร่วมรับผิดชอบ มีความรับผิดชอบตรวจสอบได้ และมีการบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ คุ้มค่า ซึ่งแนวทางในการปฏิบัติงานดังกล่าว ย่อมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน ตลอดจนส่งผลดีต่อเสถียรภาพขององค์กรภาครัฐ และความเจริญก้าวหน้าของชุมชน สังคม และประเทศชาติที่ยั่งยืนต่อไป

References

กระทรวงวัฒนธรรม. (2552). คู่มือการดำเนินงานเสริมสร้างศีลธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2556). การคิดเชิงอนาคต. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2563). ธรรมาภิบาล. สืบค้น11 กันยายน 2565, จากhttp://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%98

ปธาน สุวรรณมงคล. (2558). การบริหารงานภาครัฐกับการสร้างธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

พระครูปลัดประวิทย์ วรธมฺโม และคณะ. (2564).การนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้กับการบริหารงานภาครัฐ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(4), 35-47.

พวงทอง ภักดีไทย. (2542). ผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยมที่มีต่อความรับผิดชอบด้านการเรียนของนักเรียนชั้นประถามศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลหนองคาย สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดหนองคาย (รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิริยาภรณ์ อันทอง และ ศุภกร เอกชัยไพบูลย์. (2559). Checklist พิชิตธุรกิจยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

พิภพ วชังเงิน. (2545). จริยธรรมวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: อมรภาสการพิมพ์.

วศิน อินทสระ. (2541). พุทธจริยศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ทองกวาว.

______. (2549). จริยาบถ : แบบอย่างการดำเนินชีวิตที่ดีงาม. กรุงเทพฯ: บ้านหนังสือโกสินทร์.

สมพร เทพสิทธา. (2549). ดวงประทีปจากพระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว: เพื่อถวาย ราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในมหามงคลสมัยทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี. กรุงเทพฯ: พิมพ์สวย.

สันต์ชัย รัตนะขวัญ. (2556). การบริหารจัดการที่ดีในการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

แสงชัย อภิชาตธนพัฒน์. (2559). หลักธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กร. กรุงเทพน: วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ.

อมรา เล็กเริงสินธุ์. (2552). คุณธรรมจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

อมรวรรณ แก้วผ่อง. (2542). การเปรียบเทียบผลของกิจกรรมกลุ่มและการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มที่มีผลต่อการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมด้านความรับผิดชอบต่อตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดน้อยใน กรุงเทพมหานคร (ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. จิตวิทยาการแนะแนว). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Maak, T., & Pless, N. M. (2009). Business leaders as citizens of the world. Advancing humanism On a global scale. Journal of Business Ethics, 88(3), 537-550.

Rhodes, R. A. W. (1997). Understanding Governance: Policy Networks, Governance, Reflexivity, and Accountability. Maidenhead: Open University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-24

How to Cite