การประยุกต์หลักสังคหวัตถุธรรมเพื่อส่งเสริมความผูกพันต่อองค์กร ของพนักงานบริษัทเอกชน
คำสำคัญ:
สังคหวัตถุธรรม, การส่งเสริม, ความผูกพัน, พนักงานเอกชนบทคัดย่อ
องค์กรเอกชนนั้นเป็นหน่วยงานที่เน้นไปในทางด้านธุรกิจซึ่งไม่ได้ขึ้นตรงต่อหน่วยงานภาครัฐ โดยองค์กรเอกชนเป็นภาคธุรกิจต่าง ๆ ที่ต้องมีการบริหารจัดการเพื่อให้เป็นไปอย่างมีเสถียรภาพ ซึ่งทำให้พนักงานบริษัทเอกชนเหล่านี้ต้องพยายามที่จะพัฒนาตนเองเพื่อความก้าวหน้า มีการแข่งขันกันเพื่อเป้าหมายที่ต้องการ แต่บริษัทจะสามารถรักษาพนักงานเหล่านี้ได้อย่างไร เมื่อเกิดสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อเป็นการบั่นทอนจิตใจของพนักงานเหล่านี้ จากการที่ได้นำหลักสังคหวัตถุธรรม มาประยุกต์ในการส่งเสริมให้พนักงานนั้นเกิดความผูกพันต่อองค์กร และเมื่อมีการประยุกต์หลักสังคหวัตถุธรรมพนักงานบริษัทเอกชน ต้องส่งเสริมในด้านการให้ คือ การให้ความร่วมมือ การให้ความไว้วางใจต่อกันในองค์กร (ทาน) ต่อมาคือ การพูดจาสุภาพ คือ การสื่อสารที่มีต่อกันของพนักงานภายในองค์กร ให้สามารถมีความรู้ความเข้าใจ ในองค์กรให้สามารถร่วมงานกันอย่างมีความสุข (ปิยวาจา) มีการช่วยเหลือกัน คือ การร่วมกันปฏิบัติงานเพื่อให้องค์กรนั้นไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ มีการให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันในองค์กร เพื่อให้เกิดความรัก ความสามัคคีในองค์กรทั้งพนักงาน และองค์กรต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน (อัตถจริยา) และสุดท้ายคือ การวางตัวที่เหมาะสม คือ การปฏิบัติงานภายในองค์กรอย่างมีความเท่าเทียมกัน มีการปฏิบัติงานด้วยความเสมอต้นเสมอปลายในองค์กร (สมานัตตตา)
References
เทียนศรี บางม่วงงาม. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรที่ผ่านโครงการอบรมวิศวกรใหม่ กรณีศึกษา: บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร (ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารจัดการองค์การ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.
พระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 31). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์บริษัท สหธรรมิก จำกัด
วรรณวนัช ดวงภมร. (2562). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร ในบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่งแอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สารานุกรมเสรี. (2565). บริษัทจำกัด. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2565, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/บริษัทจำกัด
_______. (2565). สังคหวัตถุ 4. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2565, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/สังคหวัตถุ_4
สุณี บุญรุ่ง. (2549). ความคาดหวังและการรับรู้จริงของบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อการจ้างงานภายนอก (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
อนุดิษฐ์ ฐานไชยกร. (2562). ความผูกพันในองค์กร. วารสารศึกษาร้อยแก่นสาร, 4(1), 41
Castool Technology System. (2016). สังคหวัตถุ 4 และแนวทางการปฏิบัติในการทำงาน. สืบค้น 19 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.castool.com/2016/12/02/สังคหวัตถุ-4-และแนวทางกา/
HR NOTE.asia. (2562). การมีส่วนร่วมและผูกพันของบุคลากร (Employee Engagement) มีความสำคัญอย่างไรกับองค์กร. สืบค้น 19 กรกฎาคม 2565, จาก https://th.hrnote.asia/personnel-management/190722-employee-engagement/
Thpanorama. (2561). ลักษณะบริษัทเอกชน ประเภท แผนผังองค์กร ตัวอย่าง. สืบค้น 19 กรกฎาคม 2565, จาก https://th.thpanorama.com/articles/economa/empresa-privada-caractersticas-tipos-organigrama-ejemplos.html
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น