โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข สู่การพัฒนาวัดอย่างยั่งยืน
คำสำคัญ:
โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข, การพัฒนาวัด, ความยั่งยืนบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษา โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข สู่การพัฒนาวัดอย่างยั่งยืน โดยมีหลักการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา 6 ด้าน ตามวิสัยทัศน์ “พุทธศาสน์มั่งคง ดำรงศีลธรรม นำสังคมสู่สันติสุขอย่างยั่งยืน” และตามแผนยุทธศาสตร์ชาติที่ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เพื่อให้สังคมไทยเป็นศูนย์ของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ที่มีค่าต่อมวลมนุษยชาติ เพื่อให้มีความมั่นคงอันจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมพระพุทธศาสนาและการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
เมื่อพิจารณาวัตถุประสงค์ พันธกิจ สู่วัดสวยด้วยความสุข ซึ่งจะเริ่มต้นด้วยการพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพของวัดให้สะอาด ร่มรื่น สวยงาม เป็นสถานที่สัปปายะ โดยมีหลักการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมตามหลัก 5ส เพื่อให้เกิดรมนียสถาน โดยหลักการทำงานของโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข มีแนวปฏิบัติของโครงการ (3-5-7-9 สู่ความยั่งยืน) พร้อมทั้งเครื่องมือการทำงาน (5ส) และการบูรณาการหลักสัปปายะ 7 กับการพัฒนาวัดเป็นการต่อยอดให้กับการพัฒนาพื้นที่ทางสังคมและการเรียนรู้ของวัดและชุมชนด้วยวิถีวัฒนธรรมเชิงพุทธ และการพัฒนาพื้นที่ทางจิตใจและปัญญาของวัดและชุมชนตามแนวพระพุทธศาสนา เมื่อได้ดำเนินการอย่างครบถ้วนเป็นการดำเนินการที่ครอบคลุมในทุกมิติของการพัฒนาวัดอย่างยั่งยืนตามแนวทางของพระพุทธศาสนา เพราะมีเป้าหมายที่มุ่งไปสู่การพัฒนาจิตใจและปัญญาเป็นสิ่งที่สำคัญ
References
กันตยา เพิ่มผล (2552). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. กรุงเทพฯ: บริษัท บุญศิริ การพิมพ์ จำกัด.
พระเทพวิสุทธิกวี (พิจิตร ิตวณฺโณ). (2543). การพัฒนาจิต (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). การพัฒนาที่ยั่งยืน (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.
_______. (2544). พัฒนาตน (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
พระธรรมรัตนาภรณ์ (สมศักดิ์ โชตินฺธโร). (2564). หลักการดำเนินงาน 3-5-7-9 โครงการวัดประชารัฐสร้างสุข. สืบค้น 9 สิงหาคม 2565. จาก https://www.wat3579.com.
พระพรหมคุณาภรณ์. (ป.อ. ปยุตฺโต). (2547). หลักแม่บทของการพัฒนาตน. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
_______. (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชวรเมธี และคณะ. (2560). แผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจกการพระพุทธศาสนา พ.ศ. 2560-2564. สืบค้น 8 สิงหาคม 2565. จาก http://www.buddhism4.com.
พระสุธีรัตนบัณฑิต และ พระมหาชุติภัค อภินนฺโท. (2563). คู่มือและแนวปฏิบัติโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข. นนทบุรี: นิติธรรมการพิมพ์.
ราชบัณฑิตสถาน. (2546). พจนานุกรมราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คพับลิเคชันส์ จำกัด.
สนธยา พลศรี. (2545). ทฤษฎีและการพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โอเดียน สโตร์.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ. สืบค้น 8 สิงหาคม 2565, จาก http://nscr.nesdc.go.th.
สุธาสินี โพธิจันทร์. (2558). PDCA หัวใจสำคัญของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง. สืบค้น 9 สิงหาคม 2565, จาก https://www.ftpi.or.th/2015/2125.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น