การศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง ของสาธารณรัฐเกาหลีและสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

ผู้แต่ง

  • พระเทพวิสุทธิโสภณ (เฉลา เตชวนฺโต) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • โกเมศ ขวัญเมือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ประเสริฐ ลิ่มประเสริฐ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กฎหมายรัฐธรรมนูญ, สถาบันการเมือง, สาธารณรัฐเกาหลี, สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิวัฒนาการทางการเมืองการปกครอง รัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมืองตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันของสาธารณรัฐเกาหลีและสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ 2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหารในรูปแบบการปกครองตามระบบประธานาธิบดีของสาธารณรัฐเกาหลีและสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากเอกสารและตำราที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาความตามวัตถุประสงค์การวิจัย

ผลการวิจัยพบว่า 1) วิวัฒนาการทางการเมืองการปกครอง รัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมืองตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันของสาธารณรัฐเกาหลีและสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ วุฒิสภาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันการเมือง รัฐสภาของสาธารณรัฐเกาหลีเป็นระบบสภาเดี่ยว มีแต่สมัชชาแห่งชาติ แต่รัฐสภาของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์เป็นระบบสภาคู่ มีทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา 2) ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหารในรูปแบบการปกครองตามระบบประธานาธิบดี สถาบันรัฐบาลของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์นั้น รัฐบาลปกครองด้วยประธานาธิบดีที่เป็นทั้งประมุขของรัฐบาลและหัวหน้าฝ่ายบริหาร โดยมีคณะรัฐมนตรีที่ได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีเป็นผู้ช่วยประธานาธิบดีในการบริหารรัฐการแผ่นดิน จึงถือว่าเป็นระบบประธานาธิบดีที่ไม่มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยประธานาธิบดี แต่สถาบันรัฐบาลของสาธารณรัฐเกาหลีนั้น เป็นระบบประธานาธิบดีที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยประธานาธิบดี และเป็นนายกรัฐมนตรียังดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าคณะรัฐมนตรีอีกด้วย

References

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์.(2561). หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชนว่าด้วยรัฐ รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด.

โกเมศ ขวัญเมือง. (2555). กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ภูทับเบิก

ส.ศิวรักษ์. (2520). นักปรัชญาการเมืองฝรั่ง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2541). การปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน. ในรวมสาระรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

อรอนงค์ เปรมะสกุล.(2538). การเมืองระหว่างประเทศในเอเชียตะวันออก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Bong-youn Choy. (1971). Korea: A History. Tokyo: Tuttle Co.

O.Beaud. (1990). La notion de I’ État. Vocabulaire fundamental du droit. APD.

Willian E. H. (1971). A History of Korea. New York: Free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-24

How to Cite