การจัดการความรู้และองค์การแห่งการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา

ผู้แต่ง

  • พีระ อุดมกิจสกุล บริษัทไปรษณีย์ไทย ดิสทริบิวชั่น จำกัด

คำสำคัญ:

การจัดการความรู้, องค์การแห่งการเรียนรู้, ไตรสิกขา

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการความรู้และองค์การแห่งการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา โดยการจัดการความรู้ คือการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ และเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ว่า เป็นองค์การที่เน้นรูปแบบของการบริหารงานที่เน้นการพัฒนาสภาวะผู้นำ ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ร่วมกัน มีการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา ได้แก่ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา ที่เรียกสั้น ๆ ว่า ศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งเป็นการฝึกหัดอบรม เพื่อพัฒนากาย ความประพฤติ จิตใจ และปัญญา ให้ตั้งอยู่ในคุณงามความดี รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในการแข่งขันสูงสุด

References

เชาว์ โรจนแสง. (2544). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เดชน์ เทียมรัตน์ และกานต์สุดา มาฆะศิรานนท์. (2544). The Fifth Discipline วินัยสำหรับองค์การเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ธีระป้องวรรณกรรม.

บุบผา พวงมาลี. (2542). การรับรู้ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของฝ่ายการพยาบาลในโรงพยาบาลของรัฐเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญมี แท่นแก้ว. (2539). จริยศาสตร์. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

เปี่ยมพงศ์ นุ้ยบ้านด่าน. (2561). องค์กรแห่งการเรียนรู้. สืบค้น 26 มกราคม 2565, จากhttp://natres.psu.ac.th/Journal/ Learn_Organ/index.htm

พระพรหมคุณาภรณ์. (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

_______. (2551). การศึกษาเพื่ออารยธรรมที่ยังยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

วัลลภ ลำพาย. (2547). เทคนิควิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2548). โรงเรียนองค์การแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ทิพย์วิสุทธิ์.

วิจารณ์ พานิช. (2549). การจัดการความรู้ : ฉบับนักปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร. (2562). การจัดการความรู้.สืบค้น 25 มกราคม 2565. จาก, https://researchex.mju.ac.th/km/index.php/blogkm/kmman

Senge. P. M. (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization. New York: Doubleday.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-24

How to Cite