บทบาทขององค์การนายจ้างต่อปัญหาในสังคมผู้สูงอายุ
Keywords:
องค์การนายจ้าง, ผู้สูงอายุ, สังคมผู้สูงอายุ, Employer’s organization, Old people, Aging societyAbstract
จากการที่ประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุจำนวน ร้อยละ 10.7 ของประชากรทั้งประเทศในปี 2550 และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นต่อไปอีก ได้ก่อให้เกิดทั้งปัญหาทางเศรษฐกิจและทางสังคม แต่ผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุ นอกจากครอบครัวของผู้สูงอายุเองแล้ว ก็มักจะเป็นหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ช่วยตัวเองไม่ได้ งานศึกษาวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาบทบาทขององค์การนายจ้าง ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมว่า ได้มีบทบาทในการส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุอย่างไร มีอุปสรรคและปัญหาอย่างไรบ้าง และหากจะเพิ่มบทบาทให้มากขึ้นต่อไป ผู้เกี่ยวข้องจะต้องมีการดำเนินการอย่างไร
การศึกษาวิจัยนี้ได้ใช้การวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยในเชิงปริมาณ ได้มีการส่งแบบสอบถามไปยังองค์การนายจ้างจำนวน 358 แห่ง ที่มีอยู่ตามทะเบียนของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้แบบสอบถามคืนมาจำนวน 186 ชุด หรือ ร้อยละ 52.00 ส่วนในเชิงคุณภาพ ได้มีการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เกี่ยวข้อง 5 กลุ่ม คือ สมาคมนายจ้าง สหพันธ์นายจ้าง และสภาองค์การนายจ้าง เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง และนักวิชาการ ด้านแรงงานสัมพันธ์
ผลการศึกษาพบว่า บทบาทขององค์การนายจ้างเกี่ยวกับปัญหาสังคมผู้สูงอายุที่ผ่านมายังมีอยู่น้อยมาก โดยส่วนใหญ่จะเป็นบทบาทในการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในสถานประกอบการ บางแห่งมีการจัดสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลสำหรับผู้สูงอายุ เหตุผลที่องค์การนายจ้างยังมีบทบาทในเรื่องนี้น้อย เนื่องจากการขาดแคลนเงินทุนและในการดำเนินการ ประกอบกับพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ยังกำหนดให้องค์การนายจ้างมีหน้าที่ปกป้องคุ้มครองสิทธิเฉพาะผู้ที่เป็นสมาชิกเท่านั้น และนายจ้างที่เป็นผู้ว่าจ้างลูกจ้างก็ดูแลเฉพาะผู้ที่ยังเป็นลูกจ้าง ดังนั้นผู้ที่พ้นจากการเป็นสมาชิกองค์การหรือพ้นจากการเป็นลูกจ้าง เพราะเหตุเกษียณอายุจึงไม่ได้รับการคุ้มครองดูแลอีกต่อไป
คณะผู้วิจัยได้ให้ข้อเสนอแนะว่า ควรได้มีการส่งเสริมให้องค์การนายจ้างได้มีบทบาทในการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น โดยการส่งเสริมให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น ทั้งด้านเงินทุนและบุคลากร เพื่อจะได้มีทรัพยากรเข้ามาดูแลผู้สูงอายุ องค์การนายจ้างควรร่วมมือกับองค์การลูกจ้างในการดูแลผู้สูงอายุ เช่น การร่วมกันจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือสหกรณ์ออมทรัพย์ขึ้นในทุกสถานประกอบการ การจัดตั้งการฌาปนกิจสงเคราะห์สำหรับลูกจ้าง การให้ความรู้แก่ผู้ที่กำลังจะเข้าวัยผู้สูงอายุเพื่อการเตรียมตัว การจัดให้มีการฝึกอาชีพเพื่อการมีงานทำในวัยเกษียณ นายจ้างก็ควรจัดให้มีการจ้างงานผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น และส่งเสริมให้สหภาพแรงงานจัดให้มีกิจกรรมสำหรับสมาชิกที่เข้าสู่วัยผู้สูงอายุด้วย
ในด้านของรัฐนั้น ควรมีบทบาทในการส่งเสริมกิจกรรมขององค์การนายจ้าง โดยกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ควรได้เพิ่มกองทุนสำหรับผู้สูงอายุให้เพียงพอ เพื่อให้องค์การนายจ้างสามารถนำไปใช้ในกิจกรรมผู้สูงอายุ กระทรวงแรงงานควรปรับปรุงกฎหมายประกันสังคมเพื่อเพิ่มเงินสมทบกรณีประกันชราภาพ และควรมีแนวทางการส่งเสริมการจ้างงานสำหรับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่ยังสามารถทำงานได้ กระทรวงสาธารณสุขควรจัดบริการรักษาพยาบาลสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ และกระทรวงมหาดไทยควรส่งเสริมให้องค์การส่วนท้องถิ่นจัดให้มีกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องและให้ผู้สูงอายุในท้องถิ่นได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์แก่คนรุ่นหลังด้วย.
The National Statistical Office of Thailand pointed out that about 10.7 percent of Thai population in 2007 were in old age and there would be more in the future. The increase in the number of old people created both economic and social problems. Besides their families, it is the duty of the state to take care of disable and old people. However, it is considered that employers’ organizations should have their roles in helping their old members who are retired. This study tried to find out the activities of employers’ organizations as well as obstacles and problems concerning the activities to protect and solve problems of old members with a purpose to suggest solutions to those problems.
This research used both quantitative and qualitative methods. Questionnaires were sent to all employers’ organizations that registered with Labour Protection and Welfare Department of the Ministry of Labour. 186 out of 358 or 52.00 % of the organizations answered the questionnaires. Regarding the qualitative method, in-dept interviews were done with representatives of associations, federations and congresses of employers, as well as government officials and labour academics.
It was found that the roles of employers’ organizations regarding problems in aging society were still very little. Their roles mainly were in the establishment of provident fund in their enterprises. Some employers provided medicine welfare for old members. The main reason for their little roles was a lack of fund and staff. Moreover, the labour relations law prescribed authority to employers’ organizations to protect only their current members of the organizations. As a result, old people were not protected after their retirement from the workforce and expiration of membership of employers’ organizations.
It was suggested that employers’ organizations should be equipped with fund and staff for old people in the society. They should organize provident fund or saving fund in all enterprises for the benefit of old people. Employees who become old should be educated with knowledge on how to be safe in their old age period. They should also be trained to be equipped with some technical skills that they could find employment after retirement. Employers’ organizations should also organize some activities for their retired members and employees. As far as the government is concerned, particularly the Ministry of Social Development and Human Security, it should allocate enough fund to support various activities of old people. The Ministry of Labour, in addition, should amend the law of Social Security Fund to provide more benefits to old people by increasing contribution of both employers and employees. The appropriate work and employment opportunities should also be provided for old people. Ministry of Health, furthermore, should organize special health care services in hospitals for old people. The Ministry of Interior, moreover, should encourage local organizations to organize activities continuously for old people as well. Finally, old people as senior citizens should be encouraged to transfer their knowledge and experience to the younger generation.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ทัศนคติ ความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเกษมบัณฑิตฉบับนี้เป็นของผู้เขียน โดยเฉพาะ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตและบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องมีความเห็นพ้องด้วย