ยุทธวิธีในการเรียนรู้ของนิสิตคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ในเขตกรุงเทพมหานคร
Keywords:
ยุทธวิธีในการเรียนรู้, การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน, ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์, learning strategies, confirmatory factor analysis, educationAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายดังนี้ 1) ศึกษายุทธวิธีในการเรียนรู้ของนิสิตคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ในเขตกรุงเทพมหานคร 2) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันยุทธวิธีในการเรียนรู้ของนิสิตคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นิสิตปริญญาตรีที่กำลังศึกษาในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 ในสถาบันอุดมศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2556 ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 3,775 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 360 คน ได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) จากประชากรในการวิจัย ผู้วิจัยเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างโดยแจกแบบวัดยุทธวิธีในการเรียนรู้ จำนวน 360 ชุด ได้แบบวัดฉบับสมบูรณ์ จำนวน 353 คน คิดเป็นร้อยละ 98
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดยุทธวิธีในการเรียนรู้มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ นิสิตคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์มียุทธวิธีในการเรียนรู้ด้านแรงจูงใจในการเรียนรู้โดยรวมและรายด้านย่อย ได้แก่ ด้านการวางเป้าหมาย ด้านความพยายามที่จะทำให้สำเร็จ อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.21, 3.22, และ 3.21 ตามลำดับ ส่วนยุทธวิธีในการเรียนรู้ด้านพฤติกรรมในการเรียนรู้โดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านความรับผิดชอบ และด้านจัดการกับสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.54, 3.69 และ 3.87 ส่วนด้านการจัดการอารมณ์ และด้านการบริหารเวลา อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.19 และ 3.37 ตามลำดับ สำหรับยุทธวิธีในการเรียนรู้โดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.42 อยู่ในระดับปานกลาง
ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันยุทธวิธีในการเรียนรู้ พบว่า ค่าดัชนีความกลมกลืนของโมเดลองค์ประกอบ ได้แก่ ค่าไคสแควร์สัมพัทธ์ (/df) มีค่าเท่ากับ 1.80 ค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณค่า (RMSEA) เท่ากับ 0.048 ค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนในรูปคะแนนมาตรฐาน (SRMR) เท่ากับ 0.058 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ 0.92 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.90 และดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนเชิงสัมพัทธ์ (CFI) เท่ากับ 0.96 แสดงว่า โมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันระดับสองของยุทธวิธีในการเรียนรู้ มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านการวางเป้าหมายในการเรียนรู้ ด้านความพยายามที่จะกระทำให้สำเร็จ ด้านการจัดการอารมณ์ ด้านการบริหารเวลา ด้านความรับผิดชอบในการเรียนรู้ และด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม
The purposes of this research were: 1) To study learning strategies of students in the Faculty of Education in Bangkok, and 2) To perform confirmatory factors analysis of learning strategy of students in the faculty of education. The research population included 3,775 bachelor degree students studying in the Faculty of Education in the first -year of the B.E. 2556 academic year. The research sample consisted of 360 students in selected by purposive sampling method. While 360 learning strategy measurement copies of the questionnaire were distributed to the sample, 353 complete copies or 98 percent were obtained.
The research instruments applied in this study were the learning strategy measurement with reliability of .86 and the construct validity was tested by means of confirmatory factor analysis. The statistics used for analyzing data were mean, standard deviation, and confirmatory factor analysis.
The results were as follow: Learning strategies in terms of motivation, goal defining, attempt to be succeed was in a moderate level with mean of 3.21, 3.22, and 3.21 respectively. As for learning behavior as a whole and for each issues such as responsibility and environmental management was in a high level with mean of 3.54, 3.69 and 3.87. As for emotional management and time management was in a middle level of performing and a mean for 3.19 and 3.37 as respectively.
The result of confirmatory factor analysis of strategies for learning of students in the Faculty of Education in Bangkok found the Goodness of Fit Index of the model as followings : Relative Chi-square (/df) = 1.80 , Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) = 0.048, Standard Root Mean Square Residual (SRMR) = 0.058, Goodness of Fit Index (GFI) = 0.92, Adjusted Goodness of Fit index (AGFI) = 0.90 and CFI = 0.96 these showed that the model of confirmatory factor analysis of strategies for learning was fitted to the empirical data in 6 components: goal defining in learning, attempt to be succeed, emotional management, time management, responsibility for learning, and environmental management.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ทัศนคติ ความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเกษมบัณฑิตฉบับนี้เป็นของผู้เขียน โดยเฉพาะ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตและบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องมีความเห็นพ้องด้วย