การปฏิรูประบบกำลังสำรองของกองทัพบกไทย

Authors

  • ดรัณ ยุทธวงษ์สุข ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และนักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ และการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

Keywords:

การปฏิรูประบบกำลังสำรอง, กองทัพบก, นักศึกษาวิชาทหาร, The Reform of the Reserve System, The Royal Thai Army, The Royal Thai Army Student Trainees

Abstract

งานวิจัยเรื่องการปฏิรูประบบกำลังสำรองของกองทัพบกไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของระบบกำลังสำรอง ศึกษารูปแบบของระบบกำลังสำรอง และเสนอแนะการปฏิรูประบบกำลังสำรองของกองทัพบกไทย โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่าการบริหารจัดการระบบกำลังสำรองยังไม่มีประสิทธิภาพ โครงสร้างของหน่วยงานในระบบกำลังสำรองยังไม่เหมาะสม ขาดความชัดเจนและไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน หลักสูตรการฝึกนักศึกษาวิชาทหาร (นศท. /รด.) และหลักสูตรการฝึกกำลังพลสำรองยังไม่เหมาะสม และไม่เป็นมาตรฐานที่ใกล้เคียงหรือเหมือนกับกำลังประจำการ ทำให้กำลังพลสำรองไม่สามารถปฏิบัติงานร่วมกับกำลังประจำการได้อย่างมีประสิทธิภาพ กำลังพลสำรองยังขาดแนวคิดและอุดมการณ์ในเรื่องความเสียสละเพื่อส่วนรวมและประเทศชาติ ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนและภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม ขาดความชัดเจนในเรื่องสิทธิประโยชน์ของกำลังพลสำรอง กฎหมาย กฎ ระเบียบมีความล้าสมัยไม่ทันต่อสภาวการณ์ในปัจจุบันและไม่สามารถรองรับการปฏิบัติในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาบุคลากรในระบบกำลังสำรองขาดความต่อเนื่องทำให้การปฏิบัติงานไม่มีประสิทธิภาพ

เพื่อปฏิรูประบบกำลังสำรองของกองทัพบกไทยจึงมีข้อเสนอ ดังนี้ แยกระบบการผลิตกำลังสำรองออกจากระบบการฝึกนักศึกษาวิชาทหาร ปรับปรุงหลักสูตรการฝึกนักศึกษาวิชาทหาร จัดแบ่งกำลังสำรองออกเป็นกำลังสำรองเป็นบุคคลและกำลังสำรองเป็นหน่วยเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนกำลังรบ เปิดโอกาสให้กำลังพลสำรองสมัครเข้ารับการฝึกในหลักสูตรตามแนวทางรับราชการ และหลักสูตรพิเศษ ให้เกียรติ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับกำลังพลสำรอง ประสานประโยชน์กับตัวกำลังพลสำรองและภาคส่วนอื่นๆ และจัดสถานที่ฝึกกำลังสำรองให้กระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆ พร้อมทั้งกำหนดช่วงเวลาการฝึกไว้หลายๆ ช่วงเวลาในแต่ละปี

 

The objectives of the research were to study the components and the structure of the organization of the reserve system and to bring forward the reformation of the reserve system of the Royal Thai Army. The study was done by gathering data and information from documentary sources, in-depth interviews and focus groups. It was revealed that the management of the reserve system was still inefficient in that the structure of agencies was still inappropriate, lack of the clarity, and not in the same standard. In addition, the Army ROTC curriculum and the reserve training course were still inappropriate and the standards of those courses were not similar to the training course of active components which caused reserves being unable to work with the active components efficiently. Moreover, the reserves still lacked understanding of the concept and ideology in sacrificing personal gains for the public and the nation. Other issues were that, furthermore, people and other sectors did not have the opportunity to participate, a lack of clarity in the laws about benefits for the reserves, obsolete rules and regulations that did not support the future actions efficiently. Finally, the development of personnel in the reserve system lacked the continuity which caused inefficient performance.

The policy suggestions for the reform of the Royal Thai Army Reserve System are the separation of the reserve production system from the Royal Thai Army Students Training System; improvement in the Royal Thai Army Students Training Curriculum; the establishment of a clear division between personal reserves and reserve units supporting the operation units of the Royal Thai Army; provision of opportunity for the reserves to apply for training to be officers of the Royal Thai Army and for training in other special courses; recognition of, and establish good relationship with, the reserves; integration of benefits of the reserves with other sectors; and allocation of training sites for reserved forces in various regions of Thailand with varying annual training sessions.

Downloads

How to Cite

ยุทธวงษ์สุข ด. (2014). การปฏิรูประบบกำลังสำรองของกองทัพบกไทย. KASEM BUNDIT JOURNAL, 14(2), 59–75. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/25269

Issue

Section

Research articles