การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยการปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการป้องกันและควบคุมโรคกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

Authors

  • อัญชลี เอมวัฒนะ อาจารย์ประจำ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี

Keywords:

รูปแบบการเรียนรู้โดยการปฏิบัติ, สมรรถนะการป้องกันและควบคุม, โรคกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, Action learning model, Disease prevention competencies, Disease control competencies, Health volunteers

Abstract

การวิจัย เรื่องการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยการปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการป้องกันและควบคุมโรคกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะการป้องกัน และควบคุมโรคกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยการปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการป้องกัน และควบคุมโรคกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และ 3) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยการปฏิบัติ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการป้องกันและควบคุมโรคกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 92 คน ใช้ในการศึกษาสมรรถนะการป้องกันและการควบคุมโรคกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ กลุ่มที่ 2 เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจำนวน 16 คนที่ได้มาจากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากกลุ่มตัวอย่างในกลุ่มที่ 1 โดยการนับคะแนนสมรรถนะน้อยที่สุดจนถึงคะแนนของคนที่ 16 แล้วสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 8 คน กลุ่มทดลองได้รับการใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยการปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการป้องกันโรคกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ และรูปแบบการเรียนรู้โดยการปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการควบคุมโรคกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับรูปแบบการเรียนรู้โดยการปฏิบัติ

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบวัดสมรรถนะการป้องกันโรคกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ และแบบวัดสมรรถนะการควบคุมโรคกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.91 และ 0.88 ตามลำดับ 2) รูปแบบการเรียนรู้โดยการปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการป้องกันโรคกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ และรูปแบบการเรียนรู้โดยการปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการควบคุมโรคกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.67–1.00 3)  แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรม มีค่าสัมประสิทธิ์ เท่ากับ 0.87 และ การสนทนากลุ่มเฉพาะ

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. สมรรถนะการป้องกันโรคกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่โดยรวม และสมรรถนะการป้องกันและควบคุมโรคกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่โดยรวม ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่าง 92 คน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง โดยมีสมรรถนะรายด้าน ได้แก่ ด้านความรู้การป้องกันโรคกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ด้านการปฏิบัติงาน และด้านผลการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ด้านความรู้การควบคุมโรคกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ และด้านผลการปฏิบัติงานมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ด้านการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง

2. รูปแบบการเรียนรู้โดยการปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะป้องกันโรคกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ และรูปแบบการเรียนรู้โดยการปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะควบคุมโรคกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน แต่ละรูปแบบมี 6 ขั้นตอน คือ 1) การประเมินสถานการณ์โรค 2) การเตรียมการความพร้อมของอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน 3) การกำหนดกรอบในการเสริมสร้างสมรรถนะ 4) การวางแผนปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม 5) การปฏิบัติงานตามแผน และ 6) การประเมินผลการปฏิบัติงาน

3. สมรรถนะการป้องกันและควบคุมโรคกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ของอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน กลุ่มทดลอง

หลังได้รับการพัฒนาด้วยรูปแบบการเรียนรู้โดยการปฏิบัติ และหลังการติดตามผล สูงกว่าก่อนได้รับรูปแบบการเรียนรู้โดยการปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

4. สมรรถนะการป้องกันและควบคุมโรคกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ของกลุ่มทดลอง หลังได้รับการพัฒนาด้วยรูปแบบการเรียนรู้โดยการปฏิบัติ และหลังการติดตามผล สูงกว่า สมรรถนะการป้องกันและควบคุมโรคกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ของกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

5. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การสนทนากลุ่มเฉพาะ เกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู้โดยการปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการป้องกันและควบคุมโรค กลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านกลุ่มทดลอง พบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีความพึงพอใจ เห็นประโยชน์และคุณค่าของรูปแบบดังกล่าวในการเสริมสร้างสมรรถนะการป้องกันและควบคุมโรคกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่

 

The purposes of this research were as follows : 1) To study the disease prevention and control competencies of health volunteers, 2) To develop the action learning model for enhancing disease prevention and control competencies of health volunteers and 3) To study the effects of the action learning model on disease prevention and control competencies of health volunteers.

The sample was divided into 2 groups. The first group for studying the disease prevention and control competencies of health volunteers consisted of 92 health volunteers. The second group for studying the effect of the action learning model on the disease prevention and control competencies of health volunteers consisted of 16 health volunteers, purposively selected from the health volunteers in the first group and randomly assigned into an experimental group and a control group. Each group consisted of 8 health volunteers. The experimental group participated in the action learning model while the control group did not receive any treatment.

The research instruments were 1) a scale measuring the disease prevention competencies with total reliability of 0.91, and a scale measuring the of disease control competencies with total reliability of 0.88, 2)an action learning model with the item objective congruence (IOC) ranged from 0.67-1.00, and 3) a behavior observation form with  reliability coefficient of 0.87, and Focus Group interview.

The research results were as follows:

1. The total mean score of the disease prevention and the disease control competencies of 92 health volunteers were high, i.e. knowledge in disease prevention was high, practice and outcome in disease prevention were moderate, knowledge and outcome in disease control were high, and practice in disease prevention and control was moderate.

2. The action learning model for enhancing disease prevention and the disease control competencies of the health volunteers consisted of 6 stages : 1) assessing disease prevention competencies and disease control competencies, 2) preparing for collaboration and  partnerships  of the health volunteers,3) framing issues, 4) making collaborative decisions,5) implementing decisions, and 6) evaluation.

3. The disease prevention competencies and the disease control competencies of health volunteers of the experimental group after participation in the action learning model and after the follow-up were significantly higher than before participation in the action learning model at 0.05 level.

4. The disease prevention competencies and the disease control competencies of health volunteers of the experimental group after participation in the action learning model and after the follow-up were significantly higher than that of the control group at 0.01 level.

5. The satisification and appreciation of health volunteers of the experimental group after participating in the disease prevention and disease control action learning model as analysed through focus group was high.

Downloads

How to Cite

เอมวัฒนะ อ. (2014). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยการปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการป้องกันและควบคุมโรคกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. KASEM BUNDIT JOURNAL, 14(2), 76–98. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/25272

Issue

Section

Research articles