การซื้อเสียงในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในประเทศไทย

Authors

  • วิชัย โถสุวรรณจินดา

Keywords:

Election, Senator, Vote buying, การเลือกตั้ง สมาชิกวุฒิสภา การซื้อเสียง

Abstract

Abstract

            

This research was intended to study vote buying in senator election to find out the factors of vote buying and the ways to prevent the problem.

The study was a qualitative research. The result showed that there was vote buying. Factors influencing vote buying were unawareness of the significance of election in democracy of Thai people, the constituencies were so large that the candidates needed help from influencial political agents in the constituencies, and the investigation for misconducts in election not only very time consuming but also insufficient evidence. The election officers still lack of skill to investigate, lack of cooperation from witness and lack of efficient way to punish vote buyers. Solutions to these problems lies heavily with by the election committee to create awareness of democracy among Thai people,  give training for election officers on investigation,  review rules and regulations on investigation, organize volunteers to observe and report vote buying  and give reward for witnesses and seriously punish people involved vote buying. 

             Moreover, it is important to change senator election system from direct election to indirect election or use election of the whole country instead of province or using a central and just committee to select appropriate senators instead of the general election.  

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มุ่งที่จะศึกษาว่า มีการซื้อเสียงในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาหรือไม่  มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เกิดการซื้อเสียงในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา การซื้อเสียงได้ดำเนินการโดยวิธีการใด และ หากจะมีการป้องกันมิให้มีการซื้อเสียงจะดำเนินได้อย่างไร

          การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ได้ข้อสรุปว่าการซื้อเสียงในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภามีอยู่จริง ปัจจัยที่ทำให้เกิดการซื้อเสียง คือ ประชาชนยังขาดจิตสำนึกในการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย เขตเลือกตั้งใหญ่ ทำให้ผู้สมัครต้องอาศัยหัวคะแนนที่เป็นผู้มีอิทธิพลในท้องที่มาช่วยในการหาเสียง นอกจากนี้กระบวนการสอบสวนผู้กระทำผิดล่าช้า และมักขาดหลักฐานที่จะเอาผิดต่อผู้ซื้อเสียงได้ ทำให้ผู้ซื้อเสียงไม่เกรงกลัว ส่วนปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ ได้แก่เจ้าหน้าที่เองยังขาดทักษะในการสืบสวนข้อเท็จจริงเพื่อเอาผิดผู้ซื้อเสียง  และขาดความร่วมมือจากประชาชนที่รู้เห็นกับการซื้อเสียง  แนวทางการแก้ไขปัญหาถือเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่จะสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนที่จะไม่ยอมรับการซื้อเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง จัดให้มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการสืบสวนข้อเท็จจริงเพื่อเอาผิดผู้ซื้อเสียง ปรับปรุงระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการสอบสวนให้มีความรวดเร็วมากขึ้น จัดให้มีอาสาสมัครเพื่อช่วยสอดส่องการซื้อเสียงโดยมีการให้รางวัลแก่ผู้ชี้ช่อง และมีการลงโทษผู้ซื้อเสียงในการเลือกตั้งอย่างจริงจัง

          ข้อเสนอแนะอื่นในการป้องกันการซื้อเสียงได้แก่  ใช้การเลือกตั้งทางอ้อมแทนที่จะเป็นการเลือกตั้งโดยตรง หรือใช้การเลือกตั้งโดยใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง และให้มีองค์กรสรรหาที่เป็นที่ยอมรับ และมีกระบวนการสรรหาที่เป็นธรรม เป็นกลาง ทำหน้าที่สรรหาสมาชิกวุฒิสภาเพื่อให้ได้ผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมอย่างแท้จริง

Downloads

How to Cite

โถสุวรรณจินดา ว. (2015). การซื้อเสียงในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในประเทศไทย. KASEM BUNDIT JOURNAL, 16(1), 78–87. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/34669

Issue

Section

Research articles