ทักษะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อสมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1

Main Article Content

สิรินภา อุปละวงศ์
สุมาลี ศรีพุทธรินทร์
จารุวรรณ เขียวน้ำชุม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะของผู้บริหารของโรงเรียน 2) ศึกษาสมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของทักษะของผู้บริหารกับสมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 และ 4) ศึกษาอำนาจพยากรณ์ทักษะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อสมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ พื้นที่วิจัย คือโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 79 คน และครู จำนวน 253 คน รวมทั้งสิ้น 332 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบใช้เกณฑ์ร้อยละ ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม จำนวน 2 ฉบับ คือ (1) แบบสอบถามทักษะของผู้บริหารโรงเรียน (2) แบบสอบถามสมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะของผู้บริหารโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) สมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ทักษะของผู้บริหารโรงเรียนกับสมรรถนะของครู มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 4) ตัวแปรทักษะของผู้บริหารโรงเรียนที่ร่วมส่งผลต่อสมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 มี 3 ทักษะ โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 44 งานวิจัยนี้ผู้บริหารโรงเรียนสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปเป็นแนวทางทำงานเพื่อพัฒนาทักษะผู้บริหาร และสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปเป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21

Article Details

How to Cite
อุปละวงศ์ ส., ศรีพุทธรินทร์ ส., & เขียวน้ำชุม จ. (2024). ทักษะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อสมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(3), 1487–1503. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/269868
บท
บทความวิจัย

References

กขวัญชนก บุญนาค. (2563). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม ระดับประถมศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 13(1), 62-77. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssrugraduate/article/view/244106

คณะกรรมการคุรุสภาคุรุสภา. (2556). ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง สาระความรู้ สมรรถนะ และประสบการณ์วิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและศึกษานิเทศก์ ตามข้อบังคับครุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ. เล่ม 130 ตอนพิเศษ 156 ง หน้า 43 (12 พฤศจิกายน 2556).

ฉัตรชัย หวังมีจงมี. (2560). สมรรถนะของครูไทยในศตวรรษที่ 21 : ปรับการเรียน เปลี่ยนสมรรถนะ. วารสารทรัพยากรบุคคลข่าวกรอง, 12(2), 47-63. สืบค้นจาก

http://www.journalhri.com/artical/article_1202_3.html

ณัฐกานต์ เรือนคำ. (2565). การเสริมสร้างสมรรถนะครูไทย กับการศึกษาไทย 4.0. วารสารศิลปศาสตร์ ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 4(1), 128-142. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/art/article/view/254881/173138

บรรจง ลาวะลี. (2560). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคไร้พรมแดน.วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 6(2), 206-215. สืบค้นจาก https://journalrec.mbu.ac.th/images/pdf/journal6-2/23p206-215.pdf

บุญฤดี อุดมผล. (2563). รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะความเป็นครูเชิงพุทธบูรณาการของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 10(2), 158-170. สืบค้นจาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/244079

ปรัชญา สังชาตรี, ทัศนา ประสานตรี และ สุมาลี ศรีพุทธรินทร์. (2566). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วารสารพุทธศาสตร์ มจร.อุบลราชธานี, 5(1), 19-30.

ปวริศา มีศรี และ โอฬาร กาญจนากาศ. (2563). สมรรถนะในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 8(1), 138-144.

พิณสุดา สิริธรังศรี. (2557). ข้อเสนอการยกระดับคุณภาพครูไทย ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 1(2), 2-14. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/211125

พิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2561). ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารในสถาบันอุดมศึกษา. วารสาร มจร. การพัฒนาสังคม, 3(2), 32-43. สืบค้นจาก http://ojs.mcu.ac.th/index.php/socdev/article/view/4279

มลฤดี ศรีสานต์. (2563). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 8(30), 229-238. สืบค้นจาก https://jeal.snru.ac.th/Files/Article/747-ArticleTextFile-20200328233727.pdf

วนิดา ภูชำนิ. (2564). การพัฒนาสมรรถนะของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21: กรณีโรงเรียนบ้านนาตาลคำข่า. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(3), 155-169. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/251129

วัชรินทร์ จันทโร. (2563). ทักษะการบริหารกับผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 6(2), 86-94. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/237613

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). สรุปผลการประชุมหารือเพื่อยกร่างการจัดทำหลักสูตรการพัฒนาครูของโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

สุชญา โกมลวานิช และ สิทธิชัย สอนสุภี. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23. วารสารวิจัย มข. สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 9(2), 159-167. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/gskkuhs/article/view/241608

อภิภา ปรัชญพฤทธิ์. (2560). การพัฒนารูปแบบการผลิตครู เพื่อรองรับการศึกษายุค 4.0. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 35(3), 101-136. สืบค้นจาก

https://dric.nrct.go.th/index.php?/Search/SearchDetail/297456

อรสา มาสิงห์. (2562). การพัฒนาทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครราชสีมา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 13(2), 105-118. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru/article/view/253375

Boyatzis, R. E. (1982). The competent manager: A model of effective performance. New York: John Wiley and Sons.

Goh, P.S.C., & Wong, K.T. (2014). Beginning teachers’ conceptions of competency: Implications to educational policy and teacher education in Malaysia. Education Research Policy Practice, 11(2),65-79.

Helen, H. (2008). Teachers’ work: Beginning teachers’ conceptions of competence. The Australian Educational Researcher, 35(1), 125-145.

Hoyle, J.R., English, F.W., & Steffy, B.E. (2009). Skills for successful 21st century school leaders: Standards for peak performers. America: Printed in the United States of America. Retrieved April 22, 2023, from https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED420911.pdf

Katz. R. L. (2009, May 7). Skills of an effective administrator. Retrieved April 22, 2023, from https://hbr.org/1974/09/skills-of-an-effective-administrator.

Mondy, R. W., & Premeaux, S. R. (1995). Management: Concepts practices and skills. New Jersey: Prentice Hall.

Kaume-Mwinzi, R.K. (2016). Administrative and leadership innovation in the 21st century: A secondary school sub-sector perspective in Kenya. Research in Pedagogy, 6(2), 85-94. DOI:10.17810/2015.37

Robinson, J. (2012, December 13). Crawling out-of-box: 5 new skills for 21st century school leaders. Retrieved April 22, 2023, from http://the21stcenturyprincipal.blogspot.

Voinea, M., & Palasan, T. (2014). Teachers’ professional identity in the 21st century Romania. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 128, 361-365. https://doi.org/10.1016/j.sbspro.2014.03.172