การพัฒนาสมรรถนะของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : กรณีโรงเรียนบ้านนาตาลคำข่า
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนบ้านนาตาลคำข่า 2) ศึกษาปัญหาและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะของครู 3) ศึกษาแนวทางพัฒนาสมรรถนะของครู 4) ศึกษาผลการพัฒนาสมรรถนะของครู กลุ่มผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย ผู้วิจัย 1 คน ผู้ร่วมวิจัย 21 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 7 คน ดำเนินการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 4 ขั้นตอน 2 วงรอบ ประกอบด้วย วินิจฉัย (Diagnose) ดำเนินการ (Act) วัดผล (Measure) และสะท้อนผล (Reflect) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แบบประเมินการพัฒนาสมรรถนะของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์
ผลการวิจัยพบว่า
- ผลการศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กรณีโรงเรียนบ้านนาตาลคำข่า องค์ประกอบสมรรถนะของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กรณีโรงเรียนบ้านนาตาลคำข่า 10 องค์ประกอบ 44 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย 1) ทักษะการสื่อสาร มี 3 ตัวชี้วัด 2) การจัดการเรียนการสอนโดยผู้เรียนเป็นสำคัญ มี 5 ตัวชี้วัด 3) การวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน มี 3 ตัวชี้วัด 4) ภาวะผู้นำครู มี 5 ตัวชี้วัด 5) คุณธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพ มี 6 ตัวชี้วัด 6) การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการจัดการเรียนรู้ มี 5 ตัวชี้วัด 7) การพัฒนาหลักสูตรแบบบูรณาการ มี 2 ตัวชี้วัด 8) ทักษะการคิด มี 5 ตัวชี้วัด 9) การทำงานเป็นทีมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน มี 7 ตัวชี้วัด และ10) การวัดและการประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียน มี 3 ตัวชี้วัด
- ปัญหาในการพัฒนาสมรรถนะของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนบ้านนาตาลคำข่า มี ดังนี้ 1) ครูขาดทักษะการสื่อสาร 2) ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจัดการเรียนการสอนโดยผู้เรียนเป็นสำคัญน้อย 3) ครูขาดการพัฒนาความรู้ความเข้าใจในการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน 4) ครูขาดการพัฒนาภาวะผู้นำครู 5) ครูขาดการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพ 6) ครูมีทักษะในการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการจัดการเรียนรู้ไม่เพียงพอ 7) ครูต้องการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร แบบบูรณาการ 8) ครูขาดการพัฒนาทักษะการคิด 9) ครูต้องการพัฒนาการทำงานเป็นทีมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันให้มากยิ่งขึ้น 10) ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดและการประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียนไม่เพียงพอ
- แนวทางพัฒนาสมรรถนะของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนบ้านนาตาลคำข่า ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยเลือกแนวทางการพัฒนาโดยร่วมกันกำหนดโครงการ/กิจกรรม จำนวน 10 โครงการ 20 กิจกรรม
4. ผลการศึกษาการพัฒนาสมรรถนะของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กรณีโรงเรียนบ้านนาตาลคำข่า
Article Details
References
จินตนา สุจจานันท์. (2556). การศึกษาและการพัฒนาชุมชนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
ฉัตรชัย หวังมีจงดี. (2560). สมรรถนะของครูไทยในศตวรรษที่ 21: ปรับการเรียน เปลี่ยนสมรรถนะ. วารสารบทความวิจัย Journal of HRintelligence สถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 47.
ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2557). Competency ทำง่ายกว่าได้ผลดีกว่า. กรุงเทพฯ : เอช อาร์ เซ็นเตอร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2557). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. เชียงใหม่ : สำนักบริกาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์, พเยาว์ ยินดีสุข และ ราเชน มีศรี. (2553). การสอนคิดด้วยโครงงาน : การเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โรงเรียนบ้านนาตาลคำข่า. (2563). แผนพัฒนาสถานศึกษา. สกลนคร : โรงพิมพ์โรงเรียนบ้านนาตาลคำข่า.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิธีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสยามกัมมาจล.
สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์. (2556). การพัฒนาการศึกษาของไทยกับการเตรียมความพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21 กรุงเทพฯ : บริษัทสาฮะแอนด์ซันพริ้นติ้ง
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา แนวหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2555). การศึกษาการเตรียมความพร้อมด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี ภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). กรอบทิศทางพัฒนาการศึกษาในช่วงแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) ที่สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2555-2559): ฉบับสรุป (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2557). สมรรถนะหลักของผู้บริหาร. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2563, จาก http://www.put.ac.th/StudentServe/input/thesis.pdf สุดาวรรณ เครือพานิช. (2551). การศึกษาจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิชาการ, 11(1), 81-85.
อดุลย์ วังศรีคูณ. (2557). การศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 : ผลผลิตและแนวทางการพัฒนา. Humanities and Social Sciences Journal of Pibulsongkram Rajabhat University, 8(1), 1-17. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/55519 James, E.A.,
James, E.A., Milenkiewicz, M.T. and Bucknam, A. (2008). Participatory Action Research for Educational Leadership. California : Sage.
Ketevan Kobalia and Elza Garakanidze. (2010). Model,strategies and methods for effective teaching. Boston : Allyn & Bacon.
Spencer, L.M. and Spencer, S.M. (1993) Competence at Work: Models for Superior Performance. John Wiley & Sons, New York.
UNESCO. (2011). A Guide to Education for Sustainable Development Coordination in Wiggins, G.AndMcTighe,J(2005).UnderstandAsia and the Pacific. Retrieved From www.unescobkk.org/resources/e-library/publications/article.