ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้บริการแอปพลิเคชันทรูไอดี ของผู้ใช้บริการในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

รัชชพล อุชุสถาพร
สมชาย เล็กเจริญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความตั้งใจใช้บริการแอปพลิเคชันทรูไอดีของผู้ใช้บริการในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้บริการแอปพลิเคชันทรูไอดีของผู้ใช้บริการในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เคยใช้บริการแอปพลิเคชัน ทรูไอดีและพักอาศัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 400 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่าง  แบบสะดวก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และโมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการมีส่วนร่วมของลูกค้า 2) ด้านภาพลักษณ์ตราสินค้า 3) ด้านการตลาดดิจิทัล และ 4) ด้านความตั้งใจใช้บริการ สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยพิจารณาจากค่า CMIN/df = 2.57 ค่า GFI = 0.95 ค่า AGFI = 0.92 ค่า SRMR = 0.04, ค่า RMSEA = 0.06 และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ = 0.93 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความตั้งใจใช้บริการแอปพลิเคชันทรูไอดี ได้ร้อยละ 93 พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมของลูกค้า ด้านภาพลักษณ์ตราสินค้า และด้านการตลาดดิจิทัล มีอิทธิพลทางตรงต่อความตั้งใจใช้บริการแอปพลิเคชันทรูไอดี ตามลำดับ ดังนั้นผู้ประกอบการที่ให้บริการแอปพลิเคชันทรูไอดีควรคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของลูกค้าเป็นสำคัญ โดยควรทำให้ผู้ใช้บริการรู้สึกมีส่วนร่วมผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การมีส่วนร่วมในกิจกรรม การติดตามข่าวสาร การแสดงความคิดเห็นและการส่งต่อ เนื่องจากเมื่อผู้ใช้บริการได้รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับกิจกรรมนั้นจะช่วยกระตุ้นให้ผู้ใช้บริการรู้สึกตื่นเต้น สนุกสนานไปกับกิจกรรมที่เกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลเชิงบวกต่อความตั้งใจใช้บริการแอปพลิเคชันทรูไอดีต่อไป

Article Details

How to Cite
อุชุสถาพร ร., & เล็กเจริญ ส. (2024). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้บริการแอปพลิเคชันทรูไอดี ของผู้ใช้บริการในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(4), 2043–2060. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/271065
บท
บทความวิจัย

References

กฤตพร วงศ์ถาวร, กอบกูล จันทรโคลิกา และ ศุภวัฒน์ สุขะปรเมษฐ. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางไลฟ์สตรีมมิ่ง. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 13(3), 155-168. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/265311

ฐิติรัตน์ ทานะมัย และ วรินรำไพ รุ่งเรืองจิตต์. (2566). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการซื้อต้นไม้ผ่านการถ่ายทอดสดบนเฟซบุ๊ก. วารสารบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 13(1), 49-60. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/fam/article/view/260184

ณัฐรินีย์ โชติวัฒณฤดี. (2562).โมเดลสมการโครงสร้างของความสัมพันธ์ระหว่างประโยชน์เชิงใช้สอยของเทคโนโลยี ความไว้วางใจต่อชุมชนออนไลน์ และการยอมรับเทคโนโลยีต่อความตั้งใจในการซื้อสินค้าของผู้บริโภคผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลคอมเมิร์ซ. วารสารวิชาการ Veridian E –Journal,Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 12(6), 1311-1341. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/ 174249

ทัศนียา กันนุฬา และ สุมาลี รามนัฏ. (2565). อิทธิพลความพึงพอใจในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงส่วนประสมทางการตลาดและภาพลักษณ์ตราสินค้าสู่การตัดสินใจใช้บริการฟิล์มกรองแสงรถยนต์แบรนด์ 3M ของผู้ใช้บริการในเขตฝั่งธนบุรีกรุงเทพมหานคร. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(6), 139-152. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsa-journal/article/view/254073

ธาดาธิเบศร์ ภูทอง. (2561). ผลกระทบของการตลาดผ่านสื่อสังคมและดิจิทัลต่อความตั้งใจในการซื้อของผู้สูงอายุ. Veridian-E-Journal สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 11(2), 3294-3216. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/147261

นฤมล กิมภากรณ์. (2562). ความรู้ในตราสินค้าที่มีผลต่อความผูกพันของลูกค้าในตราสินค้าไวน์ผลไม้ไทยระดับพรีเมี่ยม. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(1), 9312. https://doi.org/10.14456/sujthai.2019.6

พีรวิชญ์ ธีระกาญจน์ และ สุรสิทธิ์ อุดมธนวงศ์. (2564). อิทธิพลของการรับรู้คุณค่าและการตระหนักรู้ตราสินค้าที่ส่งผลต่อการซื้อซ้ำของผลิตภัณฑ์ซีเรียลผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยแม่โจ้, 1(2), 60-71. https://doi.org/10.14456/mjba.2019.12

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2565). รายงานผลการสํารวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยปี 2565. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2024, จาก https://www.etda.or.th/getattachment/78750426-4a58-4c36-85d3-d1c11c3db1f3/IUB-65-Final.pdf.aspx

สุชาดา น้ำใจดี. (2563). ภาพลักษณ์ผ้าไหมทอมืออำเภอปักธงชัยจังหวัดนครราชสีมา.วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 15(1), 1-14. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/article/view/248718

สุรสิทธิ์ อุดมธนวงศ์, ณัฐปภัสร์ เทียนจันทร์ และ ปัณฑิรา แก้วช่วย. (2563). อิทธิพลของกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดและภาพลักษณ์องค์กรที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มจากตู้อัตโนมัติ กรณีศึกษาเต่าบิน. วารสารการบริหารจัดการและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(7), 108-119. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jmli/article/view/259258

อนุสรา จันทรารังสี และ สมชาย เล็กเจริญ. (2564). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมความตั้งใจซื้อสินค้าลดราคาบนเพจเฟซบุ๊ก H&M ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(3), 826-841. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/249677

TrueID. (2024). ทรูไอดี (TrueID) คืออะไร. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2567, จาก https://help.trueid.net/th-th/detail/GQ56Lv9Z9r0y

Habib, S., Hamadneh, N. N., & Hassan, A. (2022). The relationship between digital marketing, customer engagement, and purchase intention via OTT platforms. Journal of Mathematics. https://doi.org/10.1155/2022/5327626

Hair, J., Hult, T., Ringle, C., & Sarstedt, M. (2014). A Primer on Partial Least Squares Structural Equation Modeling (PLS-SEM). Thousand Oaks, CA: Sage Publications.

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., & Anderson, R.E. (2010). Multivariate data analysis. (7th ed.). New York: Pearson.

Hoelter, J. W. (1983). The effects of role evaluation and commitment on identity salience. Social Psychology Quarterly, 46(2), 140-147. https://doi.org/10.2307/3033850

Hu, L.T., & Bentler, P. M. (1999). Cutoff criteria for fit indexes in covariance structure analysis: Conventional criteria versus new alternatives. Structural Equation Modeling: A Multidisciplinary Journal, 6, 1-55. https://doi.org/10.1080/10705519909540118

Joreskog, K. G., & Sorbom, D. (1984). Advances in factor analysis and structural equation models. Lanham: Rowman & Littlefield Publishers.

Kline, R. B. (2011). Principles and practices of structural equation modeling. (3rd ed.). New York: The Guilford Press.

Schreiber, J. B., Stage, F. K., King, J., Nora, A., & Barlow, E. A. (2006). Reporting structural equation modeling and confirmatory factor analysis results: A review. The Journal of Educational Research, 99(6), 323-337. https://doi.org/10.3200/JOER.99.6.323-338

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2004). A beginner's guide to structural equation modeling. (2nd ed.). Mahwah: Lawrence Erlbaum Associates.

Thompson, B. (2004). Exploratory and confirmatory factor analysis: Understanding concepts and applications. American Psychological Association. https://doi.org/10.1037/10694-000

Ullman, M. T. (2001). The declarative/procedural model of lexicon and grammar. Journal of Psycholinguistic Research, 30(1), 37-69. https://doi.org/10.1023/A:1005204207369