การพัฒนาเกณฑ์การประเมินทักษะชีวิตสำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษา: การวิเคราะห์โมเดลพหุระดับแบบผสานวิธี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาโมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับทักษะชีวิตของนักศึกษาอาชีวศึกษาในระดับนักศึกษาและระดับวิทยาลัย (2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้น และ (3) พัฒนาเกณฑ์การประเมินทักษะชีวิตสำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษาในระดับนักศึกษาและระดับวิทยาลัย โดยใช้วิธีการวิจัยพหุระดับแบบผสานวิธี เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาอาชีวศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ปีการศึกษา 2559 จำนวน 540 คน ได้มาจากวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน และวิเคราะห์โมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ โดยใช้โปรแกรม Mplus 7.31 และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อสรุปเป็นเกณฑ์การประเมินทักษะชีวิตสำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษา
ผลการวิจัยพบว่า (1) โมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับทักษะชีวิตสำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษา ทั้งในระดับนักศึกษาและระดับวิทยาลัย ประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก 2 ด้าน ได้แก่ 1) ทักษะทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณ ประกอบด้วย ทักษะการตัดสินใจ ทักษะการแก้ไขปัญหา ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และ 2) ทักษะทางสังคมและอารมณ์ ประกอบด้วย ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ ทักษะการตระหนักรู้ในตนเอง ทักษะการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ทักษะการจัดการกับอารมณ์ และทักษะการจัดการกับความเครียด (2) โมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี ค่า เท่ากับ 55.336 ค่า df เท่ากับ 46 ค่า p เท่ากับ .163 ดัชนี TLI เท่ากับ .995 ดัชนี CFI เท่ากับ .998 ค่า SRMRW เท่ากับ .011 ค่า SRMRB เท่ากับ .031 ค่า RMSEA เท่ากับ .019 และ
/df เท่ากับ 1.203 และ (3) เกณฑ์การประเมินทักษะชีวิตสำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษา ประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก 2 ด้าน องค์ประกอบย่อย 10 ด้าน 49 ตัวบ่งชี้ และ 60 เกณฑ์การประเมิน สามารถจำแนกระดับการประเมินทักษะชีวิตสำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษาออกเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ระดับที่ 1 (ต้องปรับปรุง) ถึงระดับที่ 5 (ดีเด่น)
Article Details
- ผู้เขียนต้องยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กองบรรณาธิการวารสารกำหนด และผู้เขียนต้องยินยอมให้บรรณาธิการ แก้ไขความสมบูรณ์ของบทความได้ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนเผยแพร่
- ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียน แต่วารสารเทคโนโลยีภาคใต้คงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรก โดยเหตุที่บทความนี้ปรากฏในวารสารที่เข้าถึงได้จึงอนุญาตให้นำบทความไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา แต่มิใช่เพื่อการพาณิชย์
References
Edmonds, W. A., & Kennedy, T. D. (2017). An Applied Reference Guide to Research Designs: Quantitative, Qualitative, and Mixed Methods (2nd ed.). Thousand Oaks: SAGE.
Erawan, P. (2010). Developing life skills scale for high school students through mixed methods research. European Journal of Scientific Research, 47(2), 169-186.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis: A global perspective (7th ed.). New Jersey: Pearson Education Inc.
Hooper, D., Coughlan, J., & Mullen, M. (2008). Structural equation modeling: guidelines for determining model fit. Electronic Journal of Business Research Methods, 6(1), 53-60.
Hox, J. J. (2010). Multilevel Analysis: Techniques and Applications. (2nd ed.). New York: Routledge.
Kongvimon, S., Thepsaeng, S., & Chatkamonthat, S. (2015). Strategies of developing for student’s life skills. SWU Education Administration Journal, 12(22), 13-22. [in Thai]
Saichamchan, S., Skulkhu, J., Potisuk, A., & Yongsorn, C. (2015). A development of training program to enhance life skills for the royal Thai air force nursing students. Journal of the Royal Thai Army Nurse, 16(2), 21-29. [in Thai]
Siriluk, W., Prachanban, P., & Panichparinchai, T. (2014). Indicators development of students skills in the 21st century. Journal of Education Naresuan University, 16(4), 115-165. [in Thai]
Snijders, T. A. B., & Bosker, R. J. (2012). Multilevel Analysis: An Introduction to Basic and Advanced Multilevel Modeling (2nded.). London: Sage Publishers.
Surinsak, W., & Tonguthaisri, P. (2010). First sexual intercourse among female students of fifth-year of secondary schools and second-year of vocational schools, Thailand, 2005-2009. Journal of the Department of Medical Service, 35(5), 278-286. [in Thai]
World Health Organization. (1997). Life Skills Education for Children and Adolescences in School. Geneva: Programmer on Mental Health.