กลยุทธ์การตลาดเพื่อส่งเสริมขนมไทยท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการบริโภค ทัศนคติเกี่ยวกับขนมไทย ความคิดเห็นเกี่ยวกับกลยุทธ์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการบริโภค ทัศนคติเกี่ยวกับขนมไทย ความคิดเห็นเกี่ยวกับกลยุทธ์การตลาด ความตั้งใจบริโภคและความตั้งใจซื้อฝากของผู้บริโภค (2) ปัจจัยการดำเนินงาน ทัศนคติเกี่ยวกับขนมไทย ความคิดเห็นเกี่ยวกับกลยุทธ์การตลาด ความตั้งใจบริโภคและความตั้งใจซื้อฝากของผู้ประกอบการ (3) อิทธิพลกลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อความตั้งใจบริโภคและความตั้งใจซื้อฝาก และ (4) เพื่อจัดทำกลยุทธ์การตลาดเพื่อส่งเสริมขนมไทยท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้บริโภค จำนวน 1,175 คน และกลุ่มผู้ประกอบการขนมไทยท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 100 คน โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า (1) ผู้บริโภคมีพฤติกรรมการบริโภคอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.03, S.D. = 1.03) แต่มีทัศนคติเกี่ยวกับขนมไทยอยู่ในระดับมาก (
= 3.99, S.D. =.58) ความคิดเห็นด้านกลยุทธ์การตลาดอยู่ในระดับมาก (
= 3.61, S.D. =.70) ความตั้งใจบริโภคและตั้งใจซื้อฝากอยู่ในระดับมาก (
= 3.92, S.D. =.68) (2) ผู้ประกอบการมีปัจจัยดำเนินงานระดับมาก (
= 3.96, S.D. =.56) ทัศนคติเกี่ยวกับขนมไทยระดับมาก (
= 4.24, S.D. =.64) ความคิดเห็นด้านกลยุทธ์การตลาดระดับมาก (
= 4.00, S.D. =.54) และความตั้งใจบริโภคและความตั้งใจซื้อฝากระดับมาก (
= 4.25, S.D. =.55) (3) กลยุทธ์การตลาดที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อเพื่อบริโภค มีค่าอำนาจจำแนก (R2=.125) ได้แก่ กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ขนมไทย มีอิทธิพลสูงที่สุดร้อยละ 32.35 รองลงมา คือ กลยุทธ์การสร้างและการนำเสนอทางกายภาพของร้าน มีอิทธิพลร้อยละ14.88 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลยุทธ์การตลาดเพื่อส่งเสริมขนมไทยท้องถิ่นที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อฝาก มีค่าอำนาจจำแนก (R2=.259) ได้แก่ กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ขนมไทย มีอิทธิพลสูงสุดร้อยละ 39.82 รองลงมากลยุทธ์ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย มีอิทธิพลร้อยละ 19.88 และกลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการตลาด มีอิทธิพลร้อยละ 16.33 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (4) กลยุทธ์การตลาดเพื่อส่งเสริมขนมไทยท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ คือ (1) การสร้างเอกลักษณ์ของขนมหวานประจำจังหวัดนนทบุรี (2) การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่าย (3) การส่งเสริมการขาย และ (4) การออกแบบและตกแต่งสถานที่จำหน่ายขนมหวานเพื่อแสดงถึงวัฒนธรรมของจังหวัดนนทบุรี
Article Details
- ผู้เขียนต้องยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กองบรรณาธิการวารสารกำหนด และผู้เขียนต้องยินยอมให้บรรณาธิการ แก้ไขความสมบูรณ์ของบทความได้ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนเผยแพร่
- ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียน แต่วารสารเทคโนโลยีภาคใต้คงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรก โดยเหตุที่บทความนี้ปรากฏในวารสารที่เข้าถึงได้จึงอนุญาตให้นำบทความไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา แต่มิใช่เพื่อการพาณิชย์
References
Asshidin, N. H., Abidina, N., & Borhanb, B.H. (2016). Perceived quality and emotional value the influence consumer’s purchase intention toward American and local products. Procedias Economics and Finance, 35, 639–643.
Boontongmai, K. (2009). Business Strategy and Marketing Strategy Related to Buying Decision Behavior in Premium Product in Bangkok: Case study Polymath Co., Ltd. M.B.A. Thesis, University of the Thai Chamber of Commerce, Bangkok. [in Thai]
Chankingthong, W. (2017). Marketing strategy of the crispy treats, Songkhla Province. Journal of Social Sciences Humanities and Arts Silpakorn University, 37(2), 51-70. [in Thai]
Cronbach, L.J. (1984). Essential of Psychology and Education. New York: Mc–Graw Hill.
Das, G. (2014). Linkages of retailer awareness, retailer association, and retailer perceived quality and retailer loyalty with purchase intention: A study of Indian food retail brands. Journal of Retailing and Consumer Service, 21, 284 - 292.
Department of Provincial Administration. (2015).Retrieved April 2, 2018. from https://th. wikipedia.org/wiki/Nonthaburi Province. [in Thai]
Kotler, P., & Keller, K.L. (2016). Marketing Management. (15th ed.). Pearson Education Limited.
Kupp, A., & Manowaluilau, N. (2016). Alternative Thai dessert business for health conscious consumers in Bangkok. Dusit Thani College Journal, 10(2), 274 -288. [in Thai]
Lin, L., & Mao, P. C. (2015). Food for memories and culture a content analysis study of food specialties and souvenirs. Journalof Hospitality and Tourism Management, 22, 19–29.
Mongkolvanit, C., & Chatwong, R. (2014). Youth opinions of the image of Thai dessert in Thailand. Journal of Cultural Approach, 15 (27), 39 -50. [in Thai]
Office of the National Economic and Social Development Board. (2013). Creative Economy at Community Level, Case Study Thai Dessert. Central Region Economic and Social Development Office (CESO). [in Thai]
Phonsaen, S., & Rittirod, T. (2014). Guideline for increasing sale by Baan Kanom Thai in Khon Kaen. KKU Research Journal, 2(3), 61-69. [in Thai]
Singkongsin, J. (2007). Thai Desserts Selling Ideas: Merge the Art of Creating Value Marketing. Manager Daily. Retrieved April 2, 2018. https://www.manager.co.th/daily/ [in Thai].
Salgado-Beltran, L. (2012). Marketing Mix Influencing Organic Foods Purchase of Mexican Consumers. In Managing Transformation with Creativity Proceedings of the 13th Management International Conference Budapest, Hungary, PP 22-24 November 2012.
Sangsuwan, T., et al., (2005). Marketing Management. (3th ed.). Bangkok: Pearson Education Indochina Ltd. [in Thai]