การพัฒนาโปรแกรมการสร้างข้อสอบแบบหลายตัวเลือกโดยใช้วิธีการสร้างข้อสอบอัตโนมัติ

Main Article Content

ปิยะทิพย์ ประดุจพรม
กนก พานทอง

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณภาพของข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์แบบหลายตัวเลือก สร้างโมเดลของข้อสอบการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณภาพของข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์แบบหลายตัวเลือก สร้างโมเดลของข้อสอบต้นแบบวิชาคณิตศาสตร์แบบหลายตัวเลือก พัฒนาโปรแกรมการสร้างข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์แบบหลายตัวเลือก โดยใช้วิธีการสร้างข้อสอบอัตโนมัติ และประเมินประสิทธิภาพในการใช้งานของโปรแกรมการสร้างข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์แบบหลายตัวเลือก วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้ 1) การวิเคราะห์คุณภาพของข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์แบบหลายตัวเลือก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) การสร้างโมเดลของข้อสอบต้นแบบวิชาคณิตศาสตร์แบบหลายตัวเลือก 3) การพัฒนาโปรแกรมการสร้างข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์แบบหลายตัวเลือก โดยใช้วิธีการสร้างข้อสอบอัตโนมัติ และ 4) การประเมินประสิทธิภาพในการใช้งานของโปรแกรมการสร้างข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์แบบหลายตัวเลือก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 30 คน  ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์แบบหลายตัวเลือก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีค่าความยากของข้อสอบ (b) อยู่ในระดับค่อนข้างยากถึงยาก 2) สร้างโมเดลของข้อสอบต้นแบบวิชาคณิตศาสตร์แบบหลายตัวเลือก ได้จำนวน 22 ข้อ ที่ผ่านการวิเคราะห์คุณภาพของข้อสอบตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (IRT) แบบ 3 พารามิเตอร์ 3) โปรแกรมการสร้างข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์แบบหลายตัวเลือก โดยใช้วิธีการสร้างข้อสอบอัตโนมัติ ที่พัฒนาขึ้นอยู่ในรูปแบบของ เว็บแอปพลิเคชัน สามารถเข้าใช้งานผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ โดยเข้าใช้งานได้ที่ https://www.aigg-test.com โปรแกรมมีความเหมาะสมในการใช้งานในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เป็นที่ยอมรับของผู้เชี่ยวชาญ และ 4) การประเมินประสิทธิภาพในการใช้งานของโปรแกรมการสร้างข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้วิธีการสร้างข้อสอบอัตโนมัติอยู่ในระดับดี เป็นที่พึงพอใจของผู้ทดลองใช้โปรแกรม 

Article Details

How to Cite
ประดุจพรม ป., & พานทอง ก. (2019). การพัฒนาโปรแกรมการสร้างข้อสอบแบบหลายตัวเลือกโดยใช้วิธีการสร้างข้อสอบอัตโนมัติ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 12(2), 74–87. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/131484
บท
บทความวิจัย

References

Breithaupt, K., Ariel, A. A., & Hare, D. R. (2010). Assembling an Inventory of Multistage Adaptive Testing Systems. In: van der Linden WJ, Glas CAW (eds) Elements of Adaptive Testing. Springer: New York. pp 247-266.
Gierl, M.J., Zhou, J., & Alves, C. (2008). Developing a taxonomy of item model types to promote assessment engineering. Journal of Technology, Learning, and Assessment, 7 (2), 1-51.
Gierl, M. J., Lai, H., & Turner, S. (2012). Using automatic item generation to create multiple-choice items for assessments in medical education. Medical Education, 46, 757-765.
Gierl, M. J., & Haladyna, T. (Eds.) (2013). Automatic Item Generation: Theory and Practice. New York: Routledge.
Lincharoen, U., Artwichai, S., & Chan-in, P. (2009). Research report: Causal Factors of O-NET Low Scores of Grade 6 and 12 Students. Bangkok: National Institute of Educational Testing (Public Organization). [in Thai]
Ministry of Education. (2008). Basic Education Core Curriculum B. E. 2551. Bangkok: Khurusapha Ladphrao Publisher. [in Thai]
National Institute of Educational Testing Service (Public Organization) NIETS. (2014). The Development of Testing and Learning Assessment Capacities. n.p. [in Thai]
Preechapanich, O. (2014). System Analysis and Design. Nonthaburi: IDC Premier. [in Thai]
Urry, V. W. (1977). Tailored testing: a successful application of latent trait theory. Journal of Education Measurement, 14, 181-196.