การพัฒนาโมเดลเครื่องคำนวณหาค่ามวลน้ำหนักของไก่เนื้อ

Main Article Content

ปุญฑรษา อุ่นเลิศ
ไพโรจน์ ขาวผ่อง

บทคัดย่อ

          ไก่เนื้อเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย เป็นสินค้าส่งออกอันดับต้น ๆ โดยเฉพาะไก่เนื้อแปรรูป ไก่สดแช่เย็น  ไก่เนื้อเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย เป็นสินค้าส่งออกอันดับต้น ๆ โดยเฉพาะไก่เนื้อแปรรูป ไก่สดแช่เย็น และไก่สดแช่แข็ง การเลี้ยงไก่เนื้อในกลุ่มของเกษตรกรไทยในปัจจุบันเป็นการเลี้ยงระบบปิดแบบครบวงจร ผู้เลี้ยงโดยทั่วไปนิยมใช้แรงงานคนสุ่มจับไก่เนื้อตามระยะเวลาที่กำหนดเพื่อหาน้ำหนักโดยเฉลี่ยของไก่เนื้อ ซึ่งอาจทำให้ไก่เนื้อบาดเจ็บ และมีความเครียดจากการถูกจับ และผิดหลักสวัสดิภาพสัตว์ การพัฒนาโมเดลเครื่องคำนวณหาค่ามวลน้ำหนักของไก่เนื้อ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบ และพัฒนาโมเดลเครื่องคำนวณหาค่ามวลน้ำหนักของไก่เนื้อ และ 2) เปรียบเทียบอัตราการตายของไก่เนื้อเมื่อใช้เครื่องคำนวณ การออกแบบและพัฒนาโมเดลอาศัยหลักการเปลี่ยนแปลงความเครียดของโหลดเซลล์ที่เกิดจากน้ำหนักชั่ง และเปลี่ยนแปลงความเครียดเป็นค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า ซึ่งจะส่งการประมวลผลสัญญาณมายังเครื่องควบคุมเพื่อคำนวณหาค่ามวลน้ำหนัก ระบบจะวิเคราะห์และเปรียบเทียบน้ำหนักกับค่าน้ำหนักมาตรฐาน แล้วแสดงผลทางจอภาพ ผลการทดลองในห้องปฏิบัติการ พบว่า จากการทดลองนำวัตถุที่มีน้ำหนักต่าง ๆ กันวางบนโมเดลเครื่องคำนวณ พบว่า เครื่องคำนวณสามารถรับค่าน้ำหนัก และส่งผลลัพธ์มาแสดงบนจอภาพได้ถูกต้องตรงตามตารางค่าน้ำหนักมาตรฐาน ส่วนการทดลองในโรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อ พบว่า เครื่องคำนวณสามารถรับน้ำหนัก เปรียบเทียบกับค่าน้ำหนักมาตรฐาน และแสดงค่าน้ำหนักของไก่เนื้อได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นเกษตรกรสามารถใช้เครื่องมือนี้ช่วยในการตัดสินใจจับไก่เนื้อเข้าสู่กระบวนการผลิตต่อไป การประเมินน้ำหนักของไก่เนื้อด้วยวิธีใหม่นี้ช่วยลดอัตราการตายของไก่เนื้อลง โดยในการทดลอง พบว่า อัตราการตายของไก่ลดลงประมาณ 81% เมื่อเทียบกับการเลี้ยงแบบใช้แรงงานคนสุ่มจับไก่เพื่อชั่งน้ำหนัก ในอนาคตควรมีการออกแบบให้มีการแสดงผลบนสมาร์ตโฟนและแท็ปเลต เพื่อให้มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน

Article Details

How to Cite
อุ่นเลิศ ป., & ขาวผ่อง ไ. (2019). การพัฒนาโมเดลเครื่องคำนวณหาค่ามวลน้ำหนักของไก่เนื้อ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 12(2), 131–140. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/154438
บท
บทความวิจัย

References

Chaichanyut, M. (2013). Semi-Automatic Seed Packing System. In The 14th TSAE National Conference and The 6th TSAE International Conference (pp. 321-327). Prachuabkhirikhan: Hua Hin Grand Hotel & Plaza. [in Thai]
Cheevitsopon, E., & Puttipipatkajorn, A. (2006). Weight Estimation of Mangosteen on Dynamic Weighing System Using Fuzzy C-Means. In The 7th TSAE National Conference (pp. 81-90). Mahasarakham University: Mahasarakham. [in Thai]
Na Ayudhaya, T.N., & Rakluea, P. (2015). Semi-Automatic Packing Machine. In Proceedings of the 7th Conference on Application Research and Development (pp. 495-498). Trang, Thailand. [in Thai]
Office of the Permanent Secretary Ministry of Commerce. (2018). Broiler Export Statistics.Nonthaburi: Ministry of Commerce. [in Thai]
Parnpiansil, J. (2015). Weighing Scales for Chicken and Broiler. Retrieved Mar 7, 2017 from https://eureka.bangkokbiznews.com/detail/633567. [in Thai]
Phongcharoensuk, C. (2009). Bed Scale Monitor. M.S. Thesis, Bangkok: King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. [in Thai]
Pichaiya, T., & Mongkolkerd, K. (2008). Development of Digital Weighting Suit for Patient in Intensive Care Unit (Research Report). Chiang Mai: Faculty of Associated Medical Sciences, Chiang Mai University. [in Thai]
Sanghan, T. (2011). A Novel Feedback Insole for Walking Training in Hemiplegic Patients: A Preliminary Study. M.S. Thesis, Songkhla: Prince of Songkla University. [in Thai]
Thawornwong, N., Akarasatthung, A., & Makasorn, P. (2011). Designing of falls detection for elderly by using tilt sensor. Naresuan University Journal: Science and Technology (NUJST), (Special Issue), 43-46. [in Thai]
Thongkittidilok, T., Manupibul, U., Owatchaiyapong, P., Onprasert, W., Wilasrusmee, C., & Suthakorn, J., (2012). Multi Sensor Array and Graphical User Interface Integrated with Comfortable Socks (Magic Socks). In Proceedings of the 2012 TRS Conference on Robotics and Industrial Technology (CRIT 2012) (pp. 140-143). Nakhon Phatom, Mahidol University. [in Thai]
Witayangkool, K., & Puttapitukporn, T. (2013). The study of design of beam type load cell using finite element method. Kasetsart Engineering Journal, 26(84), 69-78. [in Thai]