การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมการเปิดรับกับการรู้เท่าทันสื่อ: กรณีศึกษารายการการ์ตูนโทรทัศน์ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สุภา พนัสบดี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมการเปิดรับกับการรู้เท่าทันการ์ตูนโทรทัศน์ในมิติด้านความรู้ความเข้าใจ มิติด้านอารมณ์ มิติด้านจริยธรรม และมิติด้านสุนทรียศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชายและหญิงระดับประถมศึกษาตอนปลายที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน การวิเคราะห์ทางสถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (T-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัยพบว่าการรู้เท่าทันการ์ตูนโทรทัศน์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานครอยู่ในระดับปานกลางทุกมิติ โดยพบว่าอายุมีความสัมพันธ์กับการรู้เท่าทันการ์ตูนโทรทัศน์ในมิติด้านสุนทรียศาสตร์ การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองมีความสัมพันธ์กับการรู้เท่าทันการ์ตูนโทรทัศน์ในมิติด้านจริยธรรมและมิติด้านสุนทรียศาสตร์ และรูปแบบของการ์ตูนโทรทัศน์ที่เปิดรับมีความสัมพันธ์กับการรู้เท่าทันการ์ตูนโทรทัศน์ในมิติด้านความรู้ความเข้าใจ มิติด้านอารมณ์ และมิติด้านจริยธรรม ทั้งนี้ภาครัฐและผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ควรมีส่วนร่วมในการส่งเสริมทักษะการรู้เท่าทันสื่อเพื่อให้เด็กเติบโตขึ้นเป็นผู้บริโภคสื่อที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงผู้ปกครองควรใช้เวลาส่วนหนึ่งชมโทรทัศน์ร่วมกับบุตรหลานเพื่อเป็นโอกาสเสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อแก่เด็กให้ครอบคลุมทั้ง 4 มิติ

Article Details

How to Cite
พนัสบดี ส. . . (2018). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมการเปิดรับกับการรู้เท่าทันสื่อ: กรณีศึกษารายการการ์ตูนโทรทัศน์ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 6(1), 1–12. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/251747
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). ข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ. ค้นเมื่อ 22 เมษายน 2555, จาก http: //www. moe.go.th/data_stat/#ข้อมูล-สถิติด้านการศึกษา

กฤชณัท แสนทวี. (2554). พฤติกรรมการเปิดรับและระดับการรู้เท่าทันสื่อของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร. คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

เก็จมณี วรรธนะสิน. (2550). ความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก: กรณีศึกษากลุ่มบูรพา เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลป

ศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

โครงการเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม. (2551). รายงานผลการศึกษารอบที่ 23 เรื่องการ์ตูนเด็กในฟรีทีวี. ค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2555, จาก http://www.mediamonitor. in.th /main/research/docman.html?start=10

จุฑารัตน์ ก๋าเครื่อง. (2554). โฆษณาขนมขบเคี้ยวทางสื่อโทรทัศน์ที่มีผลต่อการรับรู้และการตัดสินใจเลือกบริโภคของเด็กในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสื่อสารการศึกษา,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทิพวรรณ ถาวรังกูร. (2553). ความรู้เท่าทันโฆษณาแฝงของผู้ชมรายการชิดหมอในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วารสาร ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารองค์กร คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธีรดา หอมคำวะ. (2551). รายการวิทยุโทรทัศน์สำหรับเด็กที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักเรียน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหา บัณฑิต สาขาสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นภัทร เผยฉวี. (2548). พฤติกรรมการเปิดรับชมและความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องปังปอนด์. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารสื่อสารมวลชน, มหา วิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุบผา เมฆศรีทองคำ. (2554).การรู้เท่าทันสื่อ: การก้าวทันบนโลกข่าวสาร. วารสารนักบริหาร, 31(1), 117-123.

พสุ ชัยเวฬุ. (2540). การวิเคราะห์เนื้อหารายการ "ช่อง 9 การ์ตูน". วิทยานิพนธ์วารสาร ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภัสวลี นิติเกษตรสุนทร. (2547). การรู้เท่าทันสื่อมวลชน. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อมวลชน หน่วยที่ 9-15. หน้า 299-347. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มัทนียา สุวรรณวงศ์. (2542). การวิเคราะห์แนวเรื่องและประเภทเนื้อหาของภาพยนตร์การ์ตูนที่ออกอากาศทางโทรทัศน์. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

เมสิริณ ขวัญใจ. (2551). เด็กกับการรู้เท่าทันสื่อโทรทัศน์. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรรณภา วิเชียรโชติ. (2551). การโฆษณาขนมขบเคี้ยวทางโทรทัศน์กับการตั้งใจซื้อของเด็กไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สาขาสื่อสารมวลชน,มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วัฒนชวินท์ กิตติเลิศรัฐ. (2551). ความพึงพอใจของเด็กไทยต่อการชมการ์ตูนต่างประเทศ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สาขาสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2552). บทความเรื่องนักวิจัยเผย "การ์ตูนช่อง 9” นำเสนอความรุนแรงมากที่สุด.

ค้นเมื่อ 21 เมษายน 2555, จากhttp:// www. matichon.co.th/news_ detail .php?newsid=1236926110&grpid=01&catid=04

สำนักบริการข้อมูลและสารสนเทศ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2551). แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม.

ค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2555, จาก http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=5998.0

สุปราณี ปัญจานนท์. (2539). การศึกษาเพื่อวิเคราะห์ความเหมาะสมของรายการการ์ตูนโทรทัศน์สำหรับเด็ก.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาเทคโนโลยีการศึกษา, มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2548). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อดุลย์ เพียรรุ่งโรจน์. (2543). การศึกษาแนวคิด

เพื่อกำหนดตัวแปรการรู้เท่าทันสื่อสำหรับการวิจัยสื่อสารมวลชน. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เอกสุวัชร์ สิริธัญญ์ภรณ์. (2553). ความพึงพอใจ

ของเด็กต่อการชมการ์ตูนไทย 3 มิติ.

วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Blumler, J.G., & Katz, E. (1974). The Uses of Mass Communications: Current Perspectives on Gratifications Research. Beverly Hills, CA: Sage.

Hobbs, R.. & Kubey, R. (2001). Media literacy in the information age: Current perspectives. (6th ed.). USA: Transaction Publishers.

Hobbs, R. & Kubey, R. (2003). Measuring the acquisition of media-literacy skills. Reading Research Quarterly, 38(3), 330.

Jaglom, L. & Gardner, H. (1981). The preschool television viewer as anthropologist, in Kelly, H. and Gardner, H. (eds.) Viewing Children Through Television. San

Francisco: Jossey-Bass.

Lim, L. H., & Theng, Y.-L. (2011). Are youths today media literate? A Singapore study on youth's awareness and perceived confidence in media literacy skills. Proceedings of the American Society for Information Science and Technology, 48, 1–4.

Linder, J. & Gentile, D. (2009). Is the television rating system valid? Indirect, verbal, and physical aggression in programs viewed by fifth grade girls and associations with behavior. Journal of Applied Developmental Psychology,30, 286 - 297.

Messaris, P. (1994). Visual 'Literacy': Image, Mind and Reality. Boulder, Colorado: West view.

Potter, W. J. (2005). Media Literacy.

(3rd ed.). Sage Publications, Inc. United State of America.

Salomon, G. (1979). Interaction of Media, Cognition and Learning. San Francisco: Jossey-Bass.

Smith, R., Anderson, D., & Fisher, C. (1985). Young children’s comprehension of montage, Child Development, 56, 962-71.

Van, E. J. (2004). Television and Child Development. Mahwah, NJ: Erlbaum.