การเตรียมความพร้อมด้านการเงินและที่อยู่อาศัยของประชากรก่อนวัยสูงอายุ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจการเตรียมความพร้อมด้านการเงินและที่อยู่อาศัย และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยระดับบุคคลและการเตรียมความพร้อมด้านการเงินและที่อยู่อาศัยของกลุ่มก่อนวัยสูงอายุ ในเขตอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวนรวม 215 ราย สุ่มแบบแบ่งชั้นจากประชากรเป้าหมายกลุ่มก่อนวัยสูงอายุช่วงอายุ 50-59 ปี เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย แบบสอบถาม 1 ชุด มี 3 ตอน ประกอบด้วย 1) ข้อมูลทั่วไป จำนวน 5 ข้อ 2) การเตรียมความพร้อมด้านการเงินและที่อยู่อาศัยกลุ่มก่อนวัยสูงอายุ จำนวน 18 ข้อ และ 3) ข้อเสนอแนะในการเตรียมความพร้อมด้านการเงินและที่อยู่อาศัยกลุ่มก่อนวัยสูงอายุ จำนวน 1 ข้อ แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบคุณภาพทั้งความตรงเชิงโครงสร้างและความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ได้ค่า IOC เท่ากับ 0.882 และค่าความเชื่อมั่นมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.948 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติไคสแควร์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 65.1 สถานภาพสมรสร้อยละ 87.0 วุฒิการศึกษาสูงสุดประถมศึกษาตอนปลายร้อยละ 71.6 อาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 48.4 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 8,800 บาท ร้อยละ 60.9 มีภาพรวมการเตรียมความพร้อมด้านการเงินระดับปานกลาง ( = 2.68) และด้านที่อยู่อาศัยระดับปานกลาง (
= 2.73) ปัจจัยระดับการศึกษาและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของกลุ่มก่อนวัยสูงอายุสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมด้านที่อยู่อาศัยอย่างมีนัยสำคัญ โดยเพศ และ สถานภาพสมรส ไม่มีความสัมพันธ์ แต่ปัจจัยระดับบุคคลทั้ง 4 ดังกล่าวไม่มีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมด้านการเงิน โดยสรุปหน่วยงานภาครัฐที่ดูแลรับผิดชอบควรเพิ่มระดับการเตรียมความพร้อมให้ประชากรก่อนวัยสูงอายุโดยให้ความรู้เพื่อเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ สวัสดิการเงินกู้ด้านที่อยู่อาศัยจากภาครัฐ กฎหมายที่ดินและที่อยู่อาศัย การวางแผนใช้จ่ายเงิน กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สิน และการลงทุนในธุรกิจต่าง ๆ เพื่อเพิ่มรายได้
Article Details
- ผู้เขียนต้องยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กองบรรณาธิการวารสารกำหนด และผู้เขียนต้องยินยอมให้บรรณาธิการ แก้ไขความสมบูรณ์ของบทความได้ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนเผยแพร่
- ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียน แต่วารสารเทคโนโลยีภาคใต้คงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรก โดยเหตุที่บทความนี้ปรากฏในวารสารที่เข้าถึงได้จึงอนุญาตให้นำบทความไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา แต่มิใช่เพื่อการพาณิชย์
References
Benjawan, P. (2015). Preparation before retirement. Journal of Narathiwat Rajanagarindra University Human Science and Social Sciences, 2, 82-92. [in Thai]
Chuanchaisit, T., Thani, W., & Yuthapornpinij, P. (2014). Preparatory for retirement: a case study of teachers in educational service areas Nonthaburi. STOU Journal, 27, 78-98. [in Thai]
Chuenwattana, W. (2014). Preparation for the elderly. Academic Journal of Pathum Thani University, 6, 197-202. [in Thai]
Dechphae, P. (2015). Attitudes toward Pre-retirement Preparations for Retailers (Master's Thesis). Faculty of Social Administration, Thammasat University. [In Thai]
Kitcharoenkasem, P. (2016). Preparation for Retirement of pre-aging employees at Krung Thai Bank. Journal of Integrated Social Sciences, 3(2), 3-31. [in Thai]
Maranet, T. (2012). Decision Making of Retired Civil Servants (Master's Thesis). Faculty of Economics, Chiang Mai University. [in Thai]
Meechanana, P., Phattharakasakorn, N., Silawan, T., Rawiwarakun, T., & Phichaisanit, P. (2017). Preparation of pre-elderly population to enter the quality elderly society, Nong Ya Sai Sub-district Nong Ya Sai District Suphanburi Province. Academic Journal of Eastern Asia University, 11, 259-271. [in Thai]
Nakhon Si Thammarat Provincial Statistical Office. (2017). Statistics of Elderly People in Nakhon Si Thammarat Province. Retrieved Aug 13, 2018, from http://nksitham.nso.go.th [in Thai]
Ngamanyan, A., & Phaophu, N. (2012). Thai senior citizens: financial preparation for retirement and required retirement housing features. Thammasat Business Journal, 35, 62-87. [in Thai]
Nodthaisong, P. (2018). Statistical Office Revealing the Thai Age has Climbed to 11.3 Million People to Support the Policy to have Children for the Nation. Retrieved April 10, 2018, from URL; https://www.prachachat.net [in Thai]
Pansathin, A. (2013). Factors Related To Retirement Preparedness of Government Teachers in Roi-Et Province (Master's Thesis). Graduate School, Mahidol University. [In Thai]
Pattrapakdikul, U., Arphornthip, A., & Thamsuwan, A. (2011). Factor related with self preparation for aging of personnel in faculty of medicine, Prince of Songkla University. Journal of Gerontology and Geriatric Medicine, 12, 21-31. [in Thai]
Phromphak, C. (2013). Aging society in Thailand. Sanpakornsarn, 3, 1-19. [in Thai]
Sanit, K., Phromjaisa, N., & Wangsombat, S. (2017).Preparation guidelines for entering the elderhood of people in Chiang Rai municipality jurisdiction. Graduate School Journal, 10, 31-48. [in Thai]
Sanwong, K., Yongsorn, C., & Boontima, R. (2018). Exploratory factor analysis on the competency of knowledge managers towards industry 4.0 of higher education institutes. The Journal of Industrial Technology, 14(3), 62-63.
Sitangkum, S., & Nilawarangkun, K. (2017). The situation of preparing for being an elderly person of labor age. Journal of Nursing and Health Care, 35, 204-13. [in Thai]
Sripirom, K., & Wongrit, P. (2018). The policy of improving the quality of life among the elderly in ASEAN countries. Outcome of elderly care in urban areas. Asia Journal, 5, 107-143. [in Thai]
United Nations. (2017). Access to the elderly society of Thailand. Retrieved August 20, 2018, from URL; library.senate.go.th [in Thai]
Warabanakphirom, C. (2015). Staff Retirement Preparation of Usen Logistics (Thailand) Co., Ltd. (Master's Thesis). Faculty of Social Administration, Thammasat University. [In Thai]
Yamane, T. (1967). Statistics: an Introductory Analysis (2nd ed.). New York: Harper and Row.
Yangyuen, S., & Jitraphan, P. (2018). Decision Making on Re-Employment of Civil Servants after Reaching the Retirement Age (Master's Thesis). Faculty of Economics, Ramkhamhaeng University. [in Thai]