ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพ บรรยากาศขององค์การ ความผูกพัน ต่อองค์การกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของครูโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน ในจังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

อรัญญา ไชยศร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพ บรรยากาศขององค์การ ความผูกพันต่อองค์การกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของครูโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างเป็นครูโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดนครศรีธรรมราชปีการศึกษา 2554 จำนวน 250 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าคะแนนเชื่อมั่นระหว่าง 0.798 ถึง 0.946 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสหสัมพันธ์พหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูมีบุคลิกภาพโดยรวมและทุกด้านอยู่ในระดับมาก ยกเว้นบุคลิกภาพแบบหวั่นไหวอยู่ในระดับปานกลาง มีความคิดเห็นด้านบรรยากาศขององค์การ ความผูกพันต่อองค์การและด้านพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ อยู่ในระดับมาก 2) บุคลิกภาพแบบแสดงตัว เปิดรับประสบการณ์ ประนีประนอมและมีจิตสำนึก มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนบุคลิกภาพแบบหวั่นไหวมีความสัมพันธ์ทางลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 บรรยากาศขององค์การ ความผูกพันต่อองค์การกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) บุคลิกภาพแบบหวั่นไหว แสดงตัว เปิดรับประสบการณ์ ประนีประนอม มีจิตสำนึก บรรยากาศขององค์การและความผูกพันต่อองค์การร่วมกันมีความความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = 0.629)

Article Details

How to Cite
ไชยศร อ. . . (2018). ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพ บรรยากาศขององค์การ ความผูกพัน ต่อองค์การกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของครูโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน ในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 6(1), 59–66. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/251765
บท
บทความวิจัย
Author Biography

อรัญญา ไชยศร, สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพ บรรยากาศขององค์การ ความผูกพันต่อองค์การกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของครูโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างเป็นครูโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดนครศรีธรรมราชปีการศึกษา 2554 จำนวน 250 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าคะแนนเชื่อมั่นระหว่าง 0.798 ถึง 0.946 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสหสัมพันธ์พหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูมีบุคลิกภาพโดยรวมและทุกด้านอยู่ในระดับมาก ยกเว้นบุคลิกภาพแบบหวั่นไหวอยู่ในระดับปานกลาง มีความคิดเห็นด้านบรรยากาศขององค์การ ความผูกพันต่อองค์การและด้านพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ อยู่ในระดับมาก 2) บุคลิกภาพแบบแสดงตัว เปิดรับประสบการณ์ ประนีประนอมและมีจิตสำนึก มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนบุคลิกภาพแบบหวั่นไหวมีความสัมพันธ์ทางลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 บรรยากาศขององค์การ ความผูกพันต่อองค์การกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) บุคลิกภาพแบบหวั่นไหว แสดงตัว เปิดรับประสบการณ์ ประนีประนอม มีจิตสำนึก บรรยากาศขององค์การและความผูกพันต่อองค์การร่วมกันมีความความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = 0.629)

References

ชฎิลรัตน์ เอี่ยมเกษมสิน. (2547). การรับรู้บรรยากาศองค์การและเจตคติต่องานของพนักงานที่มีต่ออัตราการขาดงานกรณีศึกษาบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง กรุงเทพฯ: สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พนิดา ศรีโพธิ์ทอง. (2550). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การ คุณภาพชีวิตในการทำงานกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พรตบุตรี จุฑะกนก. (2552). ศึกษาความภาคภูมิใจแห่งตนในบริบทองค์การ การรับรู้บรรยากาศองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของข้าราชการศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชน เขต 7. การค้นคว้าอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการอุตสาหกรรมและองค์การ,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พรนภาพรรณ สีหะวงษ์. (2552). ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 . วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2549). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรวรรณ บุญล้อม. (2551). ศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงาน ความ ผูกพันต่อองค์การและพฤติกรรมการเป็น สมาชิกที่ดีขององค์การของข้าราชการครู วิทยาลัยเทคนิคในพื้นที่สามจังหวัดชายแดน ภาคใต้. การค้นคว้าอิสระ วิทยาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการ อุตสาหกรรมและองค์การ, มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.
สฎายุ ธีระวณิชตระกูล. (2547). การส่งเสริม พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การสู่ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ อย่างยั่งยืน. วารสารศึกษาศาสตร์, 16(1), 15-26.
สุจิตดา โพธิครูประเสริฐ. (2547 ). ศึกษาบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ และขวัญในการปฏิบัติงานที่มีผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ. การค้นคว้าอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการอุตสาหกรรมและองค์การ, มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.
สุจิตรา เกษสุวรรณ. (2550). ความพึงพอใจในงานและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานบริษัทแอดวานซ์อินโฟร์เซอร์วิสจำกัด (มหาชน). การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการจัดการอุตสาหกรรมและองค์การ, มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.
Organ, D. W. (1991). Organizational behavior. (4th ed.). Homewood, IL : Irwin.
Podsakoff, P.M., Ahearne, M., & MacKenzie, S.B. (1997). Organizational citizenship behavior and quantity of work group performance. Applied Psychology, 82, 262-270.
Steers, R. M., & Porter, L.W. (1979). Motivation and Work Behavior. New York : McGraw-Hill Book Company.