การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ที่เป็นสตรี พ.ศ. 2563
Main Article Content
บทคัดย่อ
แนวคิดสตรีนิยมได้รับการนิยมและแพร่หลายมากขึ้น ส่งผลให้สตรีได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในปี พ.ศ. 2563 มากที่สุดตั้งแต่มีการเลือกตั้ง งานวิจัยจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพทั่วไป การจัดการกลยุทธ์ และนำเสนอแนวทางการพัฒนาการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเลือกแบบเจาะจง จำนวน 20 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากแบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการศึกษา พบว่า 1) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีความตื่นตัวทางการเมืองสูง มีการแข่งขันระหว่างกลุ่มการเมืองเดิมและกลุ่มการเมืองใหม่ และมีการใช้สื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่ 2) มีการนำหลักการบริหารองค์กร แนวคิดการตลาดทางการเมืองมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ การปฏิบัติตามกฎหมายเลือกตั้งอย่างเคร่งครัด การวางแผนและกำหนดกลยุทธ์ชัดเจน แกนนำหาเสียงทั้งบุรุษและสตรีมีความเข้าใจการเมืองท้องถิ่น ผลิตสื่อรูปแบบที่หลากหลาย ข้อมูลข่าวสารกระชับ เข้าใจง่าย ได้ใจความ และ มีการประเมินความนิยมทั้งก่อนและระหว่างการเลือกตั้ง 3) ผู้สมัครสตรีต้องมีคุณลักษณะที่เด่นชัดเหนือบุรุษ แสดงออกถึงสัญชาตญาณความเป็นแม่ มีทักษะการสื่อสารที่ดีและหลากหลาย สโลแกนบ่งบอกความเป็นสตรี มีอุดมการณ์ทางการเมืองชัดเจน นโยบายหาเสียง ทำได้จริง สามารถแก้ปัญหาหรือเปลี่ยนแปลงจังหวัดได้จริง ชื่อทีมต้องสั้น กระชับ จำง่าย และ ข้อมูลใดเป็นเท็จต้องจัดการด้วยการชี้แจงอย่างรวดเร็วและป้อนข้อมูลใหม่ และ 4) ควรนำศาสตร์ด้านกลยุทธ์การตลาดทางการเมืองมาประยุกต์ใช้ มีการวิเคราะห์พื้นที่และกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และผู้สมัครที่เป็นสตรีต้องสร้างคุณลักษณะให้เหนือกว่าบุรุษให้ชัดเจน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- ผู้เขียนต้องยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กองบรรณาธิการวารสารกำหนด และผู้เขียนต้องยินยอมให้บรรณาธิการ แก้ไขความสมบูรณ์ของบทความได้ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนเผยแพร่
- ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียน แต่วารสารเทคโนโลยีภาคใต้คงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรก โดยเหตุที่บทความนี้ปรากฏในวารสารที่เข้าถึงได้จึงอนุญาตให้นำบทความไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา แต่มิใช่เพื่อการพาณิชย์
References
Almond, G. A., & Powell, G. B. (1966). Comparative Politics: A Developmental Approach. Boston, MA: Little, Brown and Company.
Bunbangna, S., & Phongpaew, P. (1982). Voting Behavior of Thai People. Bangkok: Research Dissemination Project Chulalongkorn University. [in Thai]
Chanbunruang, P. (2010). Communication Strategies for Elections in Provinces with the Most Voters in Thailand (Doctoral Dissertation). Thammasat University, Bangkok. [in Thai]
Chanritisen, P., Sridee, S., Panvarvuttrakul, H., & Sudhivoraseth, J. (2023). Political marketing strategies for campaigning for House of representatives candidates new female face of the Palang Pracharat Party in Bangkok. Social Science Journal and Culture, 7(1), 305-324. [in Thai]
Choeypratab, S. (2008). Communication, Politics and Democracy in Developed Societies. Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]
Chumphon, P. (1992). The Monarchy in a Democratic System. Bangkok: Thai Wattana Panich. [in Thai]
Kamjornmenukul, N. (1997). Communication Strategy in the Women’s Election Campaign, which is Member of the Subdistrict Administrative Organization (Subdistrict Administrative Organization) Council (Master’s Thesis). Chulalongkorn University, Bangkok. [in Thai]
Kwanpracha, S., Sridee, S., & Tokaew, W. (2023). Political communication for How to campaign for elections, get hearts, get votes. Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi. Journal of Liberal Arts, 5(1), 172-181. [in Thai]
Nanthawaropas, N. (2005). Political Communication: Case Study of Election Campaigns, General Information of the Thai Party (Master’s Thesis). Thammasat University, Bangkok. [in Thai]
Nanthawaropas, N., & Saengphong, C. (2019). Election campaigns of political parties. under the 2017 constitution: study of the general election on 24 March 2019. MCU Journal of Social Science Review, 8(2), 274-288. [in Thai]
Pechrat, N., Chumanee, A., Maharachsena, A., & Sarovat, S. (2021). Campaign strategies of candidates for chief executive of the provincial administration organization. Journal of MCU Social Development, 6(1), 153-160. [in Thai]
Phatarametravorakul, S., Tokaew, W., Kantaboon, K., & Suthivoraset, J. (2022). Communication for the presidential election campaign, Samut Prakan Provincial administrative organization of the Samut Prakan Progress Group. Journal of Social Sciences and Culture, 7(6), 124-137. [in Thai]
Sothanasathien,S. (2002). Principles and Theories of Social Science Research (6th Printing). Bangkok: Prasitphan & Printing. [in Thai]
Thokaew, W. (2019). Policy Design and Innovation in Communication of Development Policy Local. Bangkok: Political Communication Research and Development Center. [in Thai]
Useng, H. P. (2021). Women and politics. Parliamentary Bulletin, 69(5), 58-78. [in Thai]